Search
Close this search box.
‘สุขภาวะทางปัญญา’ ในระบบการศึกษา

โครงการ We Oneness โดยมูลนิธิสหธรรมิกชน ขอขอบคุณที่ได้รับโอกาสเป็นส่วนร่วมหนึ่งในการขับเคลื่อนโครงการสุขภาวะทางปัญญาในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

“เด็ก ๆ ไม่ใช่เพียงในฐานะสินค้าในตลาดแรงงาน แต่เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่รู้ว่าจะสามารถพาตัวเอง ไปเติบโตต่อในที่ใด หรือจะไปทำให้ที่ใดเติบโตขึ้น”

ในระยะสั้น ๆ หนึ่งของชีวิต ซึ่งหากจะเปรียบเปรยกันอย่างตรงไปตรงมา เราต่างก็เป็นดักแด้ที่กำลังเติบโต เป็นเมล็ดพันธุ์ที่กำลังฟูมฟัก หรือเป็นสิ่งพิเศษในกล่องของขวัญที่ค่อย ๆ ถูกเปิดออกมา หรือจะพูดกันด้วยหลักการ สิ่งเหล่านี้คือการเรียนรู้ คือช่วงระยะเวลา 1 ใน 4 ของชีวิตที่เราอยู่ในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย หรือในทุกระบบการศึกษาที่กำลังเตรียมพร้อมให้เราเติบโตไปเพื่อที่จะได้ใช้ชีวิต
.
คำถามก็คือ ทุกวันนี้ เราได้เป็น หรือได้เห็น ผีเสื้อที่โบยบินด้วยปีกที่งดงามของตัวเอง หรือดอกไม้ที่ผลิออกมาเป็นอย่างภาคภูมิใจในแบบที่เป็นตัวของตัวเอง หรือเราได้เติบโตมา โดยหยิบสิ่งพิเศษในกล่องของขวัญนั้นติดมือมาด้วย โดยที่ไม่ทิ้งมันไปเสียก่อนหรือเปล่า และคำถามอีกข้อ ก็คือระบบการศึกษาของเราในทุกวันนี้ ทำให้เราสามารถเติมเต็มศักยภาพที่แท้จริงของเราหรือเปล่า หรือเพียงแค่การเตรียมความพร้อมให้เราเติบโตไปเป็นบางสิ่งบางอย่างในตลาดแรงงาน
.
ทั้งงานวิจัย โรงเรียนตัวอย่าง หรือระบบการศึกษาต้นแบบในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าศักยภาพแท้จริงของนักเรียน ไม่ใช่เพียงแค่องค์ความรู้ในตำรา แต่ยังต้องมีศักยภาพที่จะรู้และเข้าใจตัวเอง เพราะเรารู้จักตัวเองอย่างแท้จริง เราจะรู้ว่าเราคือผีเสื้อแบบไหน และจะบินอย่างไร นั่นหมายความว่าองค์ความรู้ในชั้นเรียนนั้น เป็นเพียงข้อมูลที่เราจำเป็นต้องมี แต่ความรู้เหล่านั้น จะถูกใช้เติมเต็มศักยภาพที่แท้จริงของเราได้อย่างไร จึงเป็นโจทย์ข้อใหญ่สำหรับระบบการศึกษา ณ ปัจจุบัน
 
เรื่องราวที่ค่อนข้างซับซ้อนข้างต้น จึงกลายเป็นที่มาของ ‘นโยบายเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในการสร้างหลักประกันว่าบุคลากรและนักศึกษาทุกคนจะต้องมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพทุกคนในทุกวัย’ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธา หริมเทพาธิป ประธานศูนย์พอเพียงศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผู้เป็นสะพานเชื่อมให้เกิดกิจกรรม Soul Connect Fest on Campus ในรั้วมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กล่าวว่า “ศาสตร์พระราชาเป็นศาสตร์และศิลป์ของการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ที่เกิดขึ้นจากการระเบิดจากข้างใน สิ่งสำคัญก็คือ เรามีพื้นที่ปลอดภัยเพียงพอที่จะให้เด็กและเยาวชนเกิดสุขภาวะทางปัญญาแล้วหรือยัง
.
โดยเฉพาะในพื้นที่มหาวิทยาลัย เราไม่อาจผลักความรับผิดชอบในเรื่องการดูแลสุขภาพจิตให้กับบุคลากรทางการแพทย์เพียงฝ่ายเดียว แม้แต่แพทย์เองก็ต้องการภาคีเครือข่ายภาคประชาชนในการร่วมขับเคลื่อนสุขภาวะทางปัญญาร่วมกัน ศูนย์พอเพียงศึกษาจึงรับหน้าที่นี้เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานสุขภาวะทางปัญญาในระดับสถาบันการศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติที่ได้รับใช้เพื่อนมนุษย์ และมีความสุขเมื่อได้เห็นนักศึกษามีพื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ปลอดภัยและอบอุ่น สามารถฮีลใจ ลดทุกข์ เพิ่มสุข ให้เกิดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้”
 
.
ล่าสุด ศูนย์พอเพียงศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาได้ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมภาคีเครือข่ายให้มาจัดกิจกรรมสุขภาวะทางปัญญาให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสวนสุนันทา ภาคีเครือข่ายที่สำคัญ ได้แก่ we oneness มูลนิธิสหธรรมิกชน Happy growth สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และประสานเพื่อให้เกิดการจัดกิจกรรม Soul Connect Fest on Campus โดยมีวิทยากรจากทุกภาคีเครือข่ายเข้ามาสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้เกิดความสุขร่วมกันในครั้งนี้
.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธุวธิดา สุวรรณรัตน์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กล่าวใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า “เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่อย่างจริงจัง เราจึงต้องการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสาธารณสุข การดูแลและรักษาสุขภาพกายและใจ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อความเจ็บป่วย โดยมหาวิทยาลัยจัดให้มีบริการสิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพทางเพศ เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากร และประชาชนโดยรอบมหาวิทยาลัยสามารถเข้าถึงการรับบริการด้านสุขภาพ มีการดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือกับสถาบันสุขภาพ ในการส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ของนักเรียน นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป”
.
ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี สำหรับการสร้างพื่นที่ใหม่ สำหรับให้นักศึกษา ได้มีโอกาสเรียนรู้ และเริ่มทำความรู้จักกับรูปร่างหน้าตาของสิ่ง ๆ นั้น ที่อยู่ในกล่องของขวัญของตัวเอง หรือเรียกในอีกชื่อหนึ่ง ว่า ‘การรู้จัก และรักตัวเอง’ เพื่อที่สิ่ง ๆ นี้ จะกลายเป็นการเติมเต็มศักยภาพที่แท้จริงของนักศึกษาแต่ละคน
วันที่ 2 ตุลาคม 2567 เวลา 08.30 – 17.00 น. ณ อาคารศูนย์สุขภาพและกีฬาสวนสุนันทา ชั้น 4 และ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดย กองพัฒนานักศึกษา ฝ่ายวินัยและพัฒนานักศึกษา และฝ่ายกิจกรรมนักศึกษาและกิจการศิษย์เก่า ร่วมกับ สํานักระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สํานัก 11) สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นางสาวรัณนภันต์ ยั่งยืนพูนชัย (แพท วงเคลีย) ศิลปินนักร้อง และภาคีเครือข่ายด้านสุขภาวะทางปัญญา ได้จัดกิจกรรม Soul Connect Fest on Campus at SSRU ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาวะมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผ่านกิจกรรมจำนวน 5 กิจกรรม ได้แก่
1) พบเพื่อนใจ
2) Board game of Happiness
3) The Dream Scheme
4) Empathy Space – วงแห่งมิตรภาพและความเข้าใจ
5)กลับสู่บ้านของหัวใจ “Come Back Home to Your Heart”
โดยในแต่ละกิจกรรม จะเป็นกิจกรรมที่ฝึกทักษะการเชื่อมตัวกับใจเข้าด้วยกัน และรับฟังเสียงจากภายใน ที่เป็นเพื่อนแท้ของตัวเราเอง อย่างเช่น “การ์ดใจ” ซึ่งการ์ดแต่ละใบที่เราเปิดขึ้นมา จะเป็นทั้งข้อความและคำถาม ที่ชวนย้อนกลับไปถามจิตใจลึก ๆ ของตัวเราเอง โดยไม่การตัดสินว่าคำตอบนั้นจะผิด หรือถูก ทุกคำตอบที่ออกมา จะถูกล้อมรอบด้วยพื้นปลอดภัย ของทั้งเพื่อน วิทยากร และคณะอาจารย์ในกิจกรรมนั้น
.
ทั้งยังเป็นการค้นพบความสุขอย่างยั่งยืน ผ่านการสำรวจความทุกข์อย่างเข้าใจ ผ่านการเปิดใจให้ได้กลับมาใคร่ครวญถึงความสุข และความทุกข์ ที่พร้อมจะเป็นทรัพยากรให้ผู้เข้าร่วมได้เปิดใจเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อเชื่อมโยงกับตนเองและผู้อื่นโดยไม่มีเงื่อนไข รับรู้สภาวะอารมณ์ เสริมสร้างความเห็นอกเห็นใจ ต่อตนเองและผู้อื่น ปลดปล่อยอารมณ์หรือความรู้สึกเชิงลบ และสร้างแรงบันดาลใจ ระบุความฝัน และเป้าหมายของตนเอง
.
การฝึกทักษะแห่งความเข้าใจบนพื้นฐานของ Nonviolent Communication (NVC) เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนและคนรอบข้าง สร้างความเข้าอกเข้าใจกัน สำรวจความรู้สึก รับรู้ความต้องการของกันและกัน เรียนรู้วิธีรับมือและแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง ให้กลายเป็นความเข้าใจ
.
และสุดท้าย จะนำพาทุกคนกลับเข้าสู่บ้านแห่งหัวใจของตัวเอง พาไปสำรวจจิตใจพบความแข็งแกร่งภายใน เพื่อโอบกอดตัวเองอย่างเข้าใจและไม่ตัดสิน เติมพลังจิตใจ เสริมพลังชีวิต และเคลียร์พลังงานลบออกจากร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ในระดับลึก ผ่านสภาวะการเข้าสมาธิแบบนอน (Total Relaxation) ด้วย Alchemy Crystal Singing Bowls : Sound Healing Session เพื่อจะได้ค้นพบว่า ร่างกายของเราทุกคนคือ สิ่งมหัศจรรย์ที่ สามารถรักษาเยียวยาตัวเองได้ในทุกรูปแบบ และจิตใจ จิตวิญญาณของเราคือพลังงานอันยิ่งใหญ่ โดยเราสามารถเข้าถึงสภาวะนี้ได้เสมอ
เหล่านี้ เพื่อให้นักศึกษาสร้างความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการดูแลจิตใจ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันใจ โดยเฉพาะการกลับมาสํารวจสภาวะภายในของตนเอง ดูแลชีวิตจิตใจของตนเอง และรักตัวเองให้มากขึ้นโดยนำเครื่องมือพัฒนาสุขภาวะทางปัญญานำไปปรับใช้ในชีวิตประจําวัน เป็นการส่งเสริมมหาวิทยาลัยแห่งความสุข (Happy University) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
.
กิจกรรมและเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้น คงไม่อาจเรียกได้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในสถาบันการศึกษา แต่เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ สำหรับพื้นและช่วงเวลาสั้น ๆ ของเรา ในการเติบโตขึ้น ไม่เฉพาะองค์ความรู้ แต่รวมถึง ‘สุขภาวะทางปัญญา’ ที่จะทำให้เรารู้จักตัวเอง สนิทใจกับตัวเอง และนั่นคือหนทางหนึ่งที่เราจะเติบโตออกไป ไม่ใช่เพียงในฐานะสินค้าในตลาดแรงงาน แต่ในฐานะของมนุษย์คนหนึ่งที่รู้ว่าจะสามารถพาตัวเองไปเติบโตต่อในที่ใด หรือจะไปทำให้ที่ใดเติบโต

สุดท้ายนี้ “มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ขอขอบคุณสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาวะทางปัญญา Happy growth, We oneness สมาคมสื่อสารอย่างสันติ ธนาคารจิตอาสา มูลนิธิร่มเย็น รัณนภันต์ ยั่งยืนพูนชัย (แพท วงเคลียร์) กลุ่ม Sol Shanti (โซล ชานติ) ทีมงาน Crystal Bowl ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย ปวะบุตร และนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ ที่ร่วมให้ความรู้และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม Soul Connect Fest on Campus ในครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของกิจกรรม” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธุวธิดา กล่าวท้ายที่สุด

ขอขอบคุณ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.matichon.co.th/publicize/news_4826215
.
โครงการ We Oneness โดยมูลนิธิสหธรรมิกชน ขอขอบคุณที่ได้รับโอกาสเป็นส่วนร่วมหนึ่งในการขับเคลื่อนโครงการสุขภาวะทางปัญญาในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
.
ขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่ให้โอกาสให้คณะทีมงานได้สามารถจัดกิจกรรมดี ๆ และให้ความสำคัญกับสุขภาวะของนักศึกษาเป็นอย่างมาก
.
ขอขอบคุณ ศูนย์พอเพียงศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนสุขภาวะทางปัญญาในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาร่วมกันกับ We Oneness มาอย่างต่อเนื่อง
.
ขอขอบคุณโครงการ Happy growth ที่ให้โอกาสในการเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมนี้
.
ขอขอบคุณ ธนาคารจิตอาสา ที่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทรงคุณค่าเสมอมา
.
ขอขอบคุณ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่สนับสนุนส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญา ให้ผลิบาน ในสังคมไทย
.
::: ขอขอบคุณ :::
– คุณแพท วงเคลียร์ และผองเพื่อน ที่มาจัดกิจกรรม กลับสู่บ้านของหัวใจ “Come Back Home to Your Heart” : ผ่อนคลายจิตใจ ด้วยการนอนฟัง Crystal Singing Bowl คลื่นเสียงบำบัด ที่ Powerful Awareness มาก
– คุณออย รชต แซ่ตั้น และคุณปลาเข็ม ปรีดี วิทยานนท์ ที่มาจัด Boardgame Of Happiness : ค้นพบความสุขอย่างยั่งยืน ผ่านการหยิบการ์ด ระบายสี ล้อมวงสนทนา
– คุณเฌอลินญ์ ธัญสุนทรีเวทย์ และผองเพื่อน ที่ช่วยจัด The Dream Scheme : เชื่อมโยงกับตนเองและผู้อื่นโดยไม่มีเงื่อนไข เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนและคนรอบข้าง
– ครูตุ้ง สุภาภรณ์ พัฒนาศิริ ธนาคารจิตอาสา สำหรับการจัดกิจกรรมพบเพื่อนใจ : รับฟังเสียงจากภายในที่เป็นเพื่อนเเท้ของตัวเราเอง โดยใช้ “การ์ดเพื่อนใจ”
– คุณรุจิรัตน์ เลิศอุดมโชค และคุณวรรณา บุญช่วยเรืองชัย สมาคมสื่อสารอย่างสันติ ที่มามอบ Empathy Space : เรียนรู้วิธีรับมือและแปรเปลี่ยนความขัดแย้งให้กลายเป็นความเข้าใจ ด้วยไพ่เม่นน้อย ให้น้อง ๆ
มหาวิทยาลัยไหนอยากสัมผัสกิจกรรมฮีลใจ ดูแลตัวตนและหัวใจตัวเองแแบบนี้สอบถามและติดตามกิจกรรมได้ที่ https://www.facebook.com/SoulConnectFest
Facebook
Email
Twitter
Telegram
Pinterest
Print