FRAMEWORK

“เรามุ่งที่จะนำเอาพลังแห่งการพัฒนามิติภายใน
เข้ามาแก้ไขปัญหาระดับโลกทุก ๆ ปัญหา
ที่มนุษยชาติกำลังเผชิญอยู่”

เรามุ่งศึกษาว่าทักษะและความสามารถไหนบ้างของมนุษย์ที่สมควรถูกพัฒนา เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของยุคสมัย และเพื่อทำให้ SDGs ประสบความสำเร็จได้ดีขึ้น ผลการศึกษาพบว่ามีทักษะจำเป็นอยู่ 23 ทักษะ ซึ่งถูกนำมาจัดหมวดหมู่ได้ใน 5 มิติ  

มิติที่ 1 Being
- Relationship to Self -

การเป็น การอยู่ – การเชื่อมโยงกับตนเอง

เป็นเรื่องของการบ่มเพาะและพัฒนาชีวิตภายในรวมไปถึงการลงลึกสู่การเชื่อมโยงกับสภาวะภายในของตัวเราเอง เช่น ความคิด อารมณ์ และความรู้สึกของร่างกาย สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราเกิดสติ การรู้เนื้อรู้ตัว การตระหนักรู้ในตนเอง  สามารถอยู่กับปัจจุบันขณะ แจ่มชัดในเจตจำนง และดำรงความเป็นกลาง ไม่หวั่นไหวไปกับสถานการณ์รอบตัว โดยเฉพาะเมื่อต้องเผชิญหน้ากับความยุ่งยากซับซ้อนต่าง ๆ ทักษะที่สำคัญในมิตินี้ ได้แก่


คือการรับรู้ได้อย่างแจ่มชัดในตนเอง ถึงการมีเจตจำนงของชีวิต การมีความมุ่งมั่นตั้งใจ และความรับผิดชอบที่จะขับเคลื่อนสิ่งที่มีคุณค่าความหมายในตนเอง ซึ่งสัมพันธ์ไปกับการยังประโยชน์ที่ดีงามเพื่อผู้อื่นและส่วนรวม

ความสามารถและความตั้งใจที่จะแสดงออกทางการกระทำ อย่างสอดคล้องกับสภาวะภายในของตนเอง ด้วยความจริงใจ ซื่อสัตย์ และซื่อตรง

 
คือการมีวิธีคิดและสภาวะพื้นฐานในใจที่พร้อมเปิดกว้าง เปี่ยมด้วยความสนใจใคร่รู้ อีกทั้งเต็มใจที่จะเอาตัวเองเข้าไปเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ อย่างเต็มที่ แม้จะต้องเปราะบางหรือเจ็บปวด ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงและเติบโตได้
คือความสามารถที่จะมองเห็นและบ่งบอกสภาวะต่าง ๆ ของตนเองได้ สามารถเป็นดั่งกระจกที่สะท้อนได้ว่า ตนเองกำลังคิดอะไร รู้สึกอะไร ต้องการอะไร ฯลฯ สามารถมองเห็นตัวเองได้อย่างเป็นจริงและถูกต้อง รวมถึงสามารถจัดการตัวเองได้อย่างเหมาะสม
Screenshot
คือความสามารถที่จะให้ตนเองดำรงอยู่ที่นี่และเดี๋ยวนี้ โดยปราศจากอิทธิพลของความคิดและความรู้สึกที่คอยตัดสินหรือปรุงแต่ง เป็นความสามารถของการอยู่กับสภาวะที่เป็นปัจจุบันอันผ่อนคลาย เปิดกว้าง และไร้เงื่อนไข
Screenshot

จะเห็นได้ว่า ทักษะในมิตินี้ได้เน้นถึงศักยภาพต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วภายในตนเอง เน้นการกลับมายอมรับและเห็นการดำรงอยู่ของตนเองอย่างตรงไปตรงมา  และเข้าใจได้ว่า การดำรงอยู่ของตนเองนี้มีผลต่อวิธีการปฏิสัมพันธ์ การดำเนินชีวิต และการมองเห็นความเป็นจริงของโลกภายนอก ดังนั้น เพื่อจะทำให้ศักยภาพส่วนนี้เบ่งบานและยังประโยชน์ได้โดยแท้ จึงจำเป็นต้องพัฒนาทักษะเหล่านี้ให้เต็มที่ ด้วยการบ่มเพาะความสามารถในการกลับมามองเห็นตัวเอง มีสติ รู้ตัวได้ตามจริง และสามารถสะท้อนสภาวะภายในต่าง ๆ ออกมาได้อย่างซื่อตรงและถูกต้อง และทักษะต่าง ๆ ในมิตินี้จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งสำหรับการบ่มเพาะและพัฒนาทักษะในมิติอื่น ๆให้งอกงามและสมบูรณ์ได้ต่อไป

มิติที่ 2 Thinking
- Cognitive Skills -

การคิด – ทักษะของการรู้คิด

เป็นเรื่องของการพัฒนาทักษะของการรู้คิดในตนเอง ด้วยการเปิดรับและฝึกมีมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย  ฝึกวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาสู่การรับรู้ของเรา รวมถึงการเห็นและทำความเข้าใจโลกรอบตัวในลักษณะของความเป็นองค์รวมหรือความเป็นทั้งหมดที่ทุกสิ่งทุกอย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์ต่อกัน การรู้คิดเช่นนี้จะนำเราไปสู่การคิดและการตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด มีเหตุมีผล และมีวิจารณญาณที่รอบด้าน ทักษะที่สำคัญในมิตินี้ ได้แก่


ทักษะในการพิจารณาความถูกต้องสมเหตุสมผลของมุมมอง ข้อมูลหลักฐาน และแนวคิดต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วนและมีวิจารณญาณ

ความรู้ความเข้าใจและทักษะในการทำงานเกี่ยวกับเงื่อนไขและเหตุผลที่มีความซับซ้อนและเป็นระบบ

ทักษะในการค้นหา ทำความเข้าใจ และเข้าถึงประโยชน์ของปัญญาญาณที่มาจากหลากหลายมุมมองที่ดูขัดแย้งกัน

ทักษะในการมองเห็นรูปแบบ การประกอบสร้างสิ่งที่ไม่รู้ไม่เข้าใจ และการมีความสามารถที่จะสร้างมันให้เป็นเรื่องราวที่มีความหมายขึ้นมาได้ด้วยความรู้ตัว

การเห็นทิศทางระยะยาว และความสามารถในการสร้างและรักษาความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะนำพาวิสัยทัศน์ที่เกี่ยวโยงกับบริบททางสังคม

จะเห็นได้ว่า ทักษะทางการรู้คิดเหล่านี้เป็นประตูบานแรกที่ใช้เปิดเพื่อการกลับเข้ามาคืนศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ให้ตนเอง เป็นการก่อกำเนิดขึ้นของหลักการและระบบคิดที่เป็นของตัวเอง เป็นศักยภาพที่ผุดขึ้นจากภายในของตนเองโดยแท้ โดยไม่ต้องเชื่อตามสิ่งอื่นที่อยู่ภายนอกอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม ความคิดนี้มีข้อจำกัดตรงที่ประสิทธิภาพของมันขึ้นอยู่กับความสามารถของระบบปฏิบัติการ (ระบบการให้เหตุผล) และปริมาณข้อมูลเท่าที่ตนเองมีอยู่  หลายครั้งจึงยังไม่อาจพาให้เจ้าตัวไปถึงที่สุดแห่งความจริงได้  แต่อย่างน้อย ทักษะทางการรู้คิดเหล่านี้ก็ช่วยให้เราไปต่อกับศักยภาพภายในด้านอื่น ๆ ได้อย่างแน่วแน่มั่นคง  อีกทั้งช่วยให้เราสามารถสื่อสารสิ่งต่าง ๆ กับโลกได้อย่างแตกฉานและมีประสิทธิภาพ

มิติที่ 3 Relating
- Caring for Others and The World -

การสัมพันธ์ – การใส่ใจผู้อื่นและโลก

เป็นเรื่องของการบ่มเพาะการชื่นชมขอบคุณ การใส่ใจดูแล และการรู้สึกเชื่อมโยงกับผู้อื่น  ไม่ว่าจะเป็นกับเพื่อนบ้าน คนรุ่นหลัง หรือกับธรรมชาติและโลกที่มีชีวิต   ความรู้สึกสัมพันธ์เชื่อมโยงเช่นนี้จะช่วยให้เราสามารถสร้างสรรค์ระบบและสังคมที่มีความยุติธรรมและความยั่งยืนมากขึ้นให้แก่คนทุกคนได้  ทักษะที่สำคัญในมิตินี้ ได้แก่


คือการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นและกับโลก โดยอาศัยการชื่นชม การสำนึกรู้คุณ และความเบิกบานเป็นวิถีทางพื้นฐาน


คือการทำหน้าที่ไปตามความจำเป็นของสถานการณ์ โดยไม่ต้องกังวลอยู่กับการให้ความสำคัญกับตัวเอง


คือความสามารถในการสัมพันธ์กับผู้อื่น ตนเอง และธรรมชาติ ด้วยความรักความเมตตา ความเข้าอกเข้าใจ ความกรุณา  รวมถึงการรับรู้ได้ถึงความทุกข์ที่เกี่ยวข้อง

จะเห็นได้ว่า ทักษะของการใส่ใจดูแลผู้อื่นเหล่านี้คือศักยภาพที่มาจากภายในของคนเรา   ทำให้คน ๆ นั้นมีอิสระเหนือข้อเท็จจริงหรือเหตุผลที่เอาสถานการณ์ภายนอกเป็นตัวตั้งเพียงอย่างเดียว  แต่กลับมาเคารพการมีชีวิตและความเป็นมนุษย์ที่หยั่งอยู่บนคุณค่าความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น อีกทั้งช่วยให้เราสามารถมองเห็นและเชื่อมโยงไปสู่สรรพสิ่งอื่นๆ ได้โดยไม่ตัดขาดจากกัน ซึ่งนี่คือพื้นฐานสำคัญของการเข้าใจความจริงในมุมมองที่กว้างขวางและถูกต้องได้ยิ่งกว่า นำไปสู่ศักยภาพในการละวางอัตตาและประโยชน์ส่วนตนอันคับแคบ ไปสู่การยังประโยชน์เพื่อผู้อื่นและเพื่อโลกที่ยิ่งใหญ่ได้

มิติที่ 4 Collaborating
- Social Skills -

การร่วมมือ - ทักษะทางสังคม

เป็นเรื่องของการพัฒนาความสามารถในการเปิดพื้นที่ สร้างความสัมพันธ์ สานความร่วมมือ และสื่อสารกันและกัน กับผู้มีส่วนร่วมกลุ่มต่าง ๆ  ที่มีความแตกต่างหลากหลายในเรื่องคุณค่า ทักษะ และความสามารถ   ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าในเรื่องที่ใส่ใจร่วมกัน  ทักษะที่สำคัญในมิตินี้ ได้แก่


คือความสามารถในการรับฟังผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้งและจริงแท้  นำพาการสนทนาที่จริงใจ  นำเสนอความเห็นของตนเองได้อย่างเชี่ยวชาญ  จัดการความขัดแย้งได้อย่างสร้างสรรค์  และปรับประยุกต์วิธีการสื่อสารได้กับคนกลุ่มต่าง ๆ

คือความสามารถและแรงจูงใจในการสร้าง พัฒนา และเอื้ออำนวยให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันแบบร่วมไม้ร่วมมือ ท่ามกลางผู้มีส่วนร่วมกลุ่มต่าง ๆ   ทั้งนี้ เป็นปฏิสัมพันธ์ที่เปี่ยมด้วยความรู้สึกไว้วางใจและปลอดภัยในเชิงจิตวิทยา อีกทั้งมีการร่วมสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างจริงแท้


คือทักษะความสามารถและความเต็มใจที่จะโอบรับความแตกต่างหลากหลาย และรวมผู้คนและกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความคิดเห็นและภูมิหลังอันแตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกัน


คือความสามารถในการสร้างและแสดงออกถึงความไว้เนื้อเชื่อใจกัน  อีกทั้งสร้างและดำรงรักษาสัมพันธภาพที่เปี่ยมด้วยความไว้วางใจนั้นให้คงอยู่

คือความสามารถในการสร้างแรงบันดาลใจ ระดม และขับเคลื่อนผู้คน สู่การทำเพื่อเป้าหมายที่มีร่วมกัน

จะเห็นได้ว่า ทักษะทางสังคมเหล่านี้วางอยู่บนความเชื่อพื้นฐานที่ว่า คนเราทุกคนมีคุณค่าเสมอเหมือนกันและสามารถเรียนรู้และเติบโตได้ไม่ต่างกัน ดังนั้น ทักษะเหล่านี้จึงนำมาสู่การเปิดพื้นที่ร่วมให้คนทุกคนสามารถสกัดเอาศักยภาพฝังลึกที่มีอยู่ภายในตนเองออกมา เพื่อใช้สร้างสรรค์คุณประโยชน์ต่างๆ ได้อย่างครอบคลุมและรอบด้านยิ่งกว่า เป็นการออกจากวิถีปฏิบัติของสังคมที่พึ่งพิงการใช้อำนาจควบคุมบังคับ มาสู่วิถีของการเสริมพลังกันและกันและปลดปล่อยศักยภาพสูงสุดในความเป็นมนุษย์ที่แต่ละคนมีอยู่ อีกนัยหนึ่ง เป็นการยกระดับจิตสำนึกร่วมของสังคมให้สูงขึ้นให้สามารถสร้างสรรค์ประโยชน์อันไพศาลได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง

มิติที่ 5 Acting
- Driving Change -

การลงมือทำ – สร้างการเปลี่ยนแปลง

เป็นเรื่องของการนำพาต่อคุณสมบัติที่สำคัญบางประการ เช่น การมีความกล้าหาญ และการมองเชิงบวก   โดยคุณสมบัติเหล่านี้จะช่วยให้เราเกิดอำนาจภายในที่แท้  ละทิ้งนิสัยเดิม ๆ  มีความคิดที่เป็นของตัวเอง  และสามารถลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความมั่นคงต่อเนื่อง ท่ามกลางช่วงเวลาที่มีแต่ความผันแปรไม่แน่นอน   ทักษะที่สำคัญในมิตินี้ ได้แก่

คือความสามารถที่จะยืนหยัดเพื่อคุณค่าที่มีในตน ตัดสินใจ และลงมือทำตามที่ได้ตัดสินใจนั้น  อีกทั้งหากจำเป็น สามารถท้าทายและขัดขืนต่อโครงสร้างและทรรศนะที่มีอยู่

คือความสามารถที่จะสร้างและพัฒนาความคิดที่เป็นของตัวเองขึ้นมา  สร้างสรรค์สิ่งใหม่ และมุ่งที่จะออกจากรูปแบบเดิมที่ทำตาม ๆ กันมา

คือความสามารถที่จะดำรงรักษาและสื่อสารการมีความหวัง ทัศนคติเชิงบวก และความเชื่อมั่นออกไป โดยเห็นความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย


คือความสามารถที่จะยังคงเกาะติด ไม่ล้มเลิก มีความแน่วแน่ และอดทน  แม้จะต้องอาศัยความพยายามอยู่เป็นเวลานานกว่าจะเห็นผลก็ตาม

จะเห็นได้ว่า ทักษะของการสร้างการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวข้องกับการลองลงมือทำบางสิ่งบางอย่างที่สามารถสร้างผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมทันที  โดยสิ่งนั้นๆ ได้มาจากการใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง อาศัยภูมิปัญญาภายใน  แล้วตัดสินใจด้วยความรอบคอบ รู้เนื้อรู้ตัว และมีความรับผิดชอบ จากนั้นเปิดใจเรียนรู้กับผลของการกระทำนั้นอย่างกล้าหาญ  พร้อมจะรับฟังเสียงสะท้อน ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงการทำงานไปเรื่อยๆ  จนกว่าจะประสบผลสำเร็จและสามารถยังประโยชน์ให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงโลกและธรรมชาติได้อย่างแท้จริง

แปลถอดความ จากเนื้อหาต้นฉบับใน IDG Toolkit ของ innerdevelopmentgoals.org
โดย ผศ.ดร. สมสิทธิ์ อัสดรนิธี