ปรัชญาปารมิตาหฤมัยสูตร :
หัวใจของการภาวนาเพื่อการรู้แจ้ง
โดย อ.ประมวล เพ็งจันทร์
หนังสือ ‘ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร หัวใจของการภาวนาเพื่อความรู้แจ้ง’ เป็นงานเขียนของอาจารย์ ประมวล เพ็งจันทร์
(นักเขียนรางวัลศรีบูรพา, ผู้เขียนหนังสือ เดินสู่อิสรภาพ) เป็นหนังสือเล่มสำคัญในชีวิตของอาจารย์ประมวลที่เล่าถึงประสบการณ์การเดินทางด้านในตั้งแต่วัยเด็กจนเข้าสู่วัยชรา ที่มีปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรเป็นแสงสว่างนำทางไปสู่ความรู้แจ้ง โดยเป็นหนังสือที่อาจารย์กล่าวว่า ‘จะเป็นหนังสือเล่มสุดท้ายของชีวิต’
บอกเล่าชีวิตของอาจารย์ประมวลที่ผูกพันกับปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร และเล่าไปถึงประวัติศาสตร์ รวมทั้งอธิบายความหมายของพระสูตรบทนี้จากประสบการณ์ตรง เมื่ออาจารย์ประมวลเขียนต้นฉบับเสร็จแล้ว ได้ปรารภกับทาง We Oneness ให้รับทราบ จึงได้มีการชักชวนให้ happening ซึ่งเป็นสื่อด้านศิลปะให้รวบรวมศิลปินและนักออกแบบฝีมือดีหลายท่านในบ้านเรา อาทิ สันติ ลอรัชวี, กนกนุช ศิลปวิศวกุล, วีร์ วีรพร, ยอดฉัตร บุพศิริ, พิม สุทธิคำ, ณัฐพงศ์ ดาววิจิตร (Nat Dao), ปีติชา คงฤทธิ์ (faan.peeti) ฯลฯ มาร่วมสนทนากับอาจารย์ประมวลในเรื่องปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร และผลิตผลงานศิลปะที่ได้แรงบันดาลใจจากการเรียนรู้ครั้งนี้ออกมา
กนกนุช ศิลปวิศวกุล
จากความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างการเข้าร่วมเวิร์กช็อปแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับศิลปินคนอื่นๆ นำมาสู่ความต้องการถ่ายทอดความรู้สึกและความอบอุ่นที่เกิดขึ้นนั้นผ่านชุด ‘ฮัก’ ที่สะท้อนอยู่ในรายละเอียดตั้งแต่การเลือกใช้ผ้าคอตตอน 100% ที่ให้ความรู้สึกยับหรือคลี่คลายก็ได้ ผสมกับการออกแบบให้มีเงื่อนปมที่เมื่อคลายออกก็จะพบกับจุดสีสัน เปรียบเสมือนความสบายใจ โดยปมเหล่านั้นสื่อถึงปัญหาต่างๆ ที่บางครั้งเราก็ต้องการคนอื่น
มาช่วยแก้ไขให้ และปมเหล่านี้จะถูกเย็บซ่อนไว้เพื่อสื่อสารว่า สิ่งที่มองไม่เห็น แต่ไม่ได้แปลว่าไม่มี เช่นเดียวกับปรัชญาปารมิตา
ณัฐพงศ์ ดาววิจิตร
จากการได้มีโอกาสสนทนากับอาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ ทำให้เกิดเป็นความประทับใจในคำกล่าวของอาจารย์ประมวลที่อยู่ในบทหนึ่งในหนังสือ เขียนว่า “ผมมีชีวิตอยู่ในธรรมชาตินี้และธรรมชาตินี้ก็มีอยู่ในชีวิตผม” จากคำกล่าวนี้ทำให้ผมนึกถึงสภาวะสองสภาวะที่ถ่ายเทแลกเปลี่ยนพลังงานกันไปมา ไม่ว่าจะขาวหรือดำ มืดหรือสว่าง ก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน มาช่วยแก้ไขให้ และปมเหล่านี้จะถูกเย็บซ่อนไว้เพื่อสื่อสารว่า สิ่งที่มองไม่เห็น แต่ไม่ได้แปลว่าไม่มี เช่นเดียวกับ
ปรัชญาปารมิตา
จุฬวิศว์ ศานติพงศ์
จากแรงบันดาลใจที่ว่า บทภาวนาเป็นเหมือนประภาคารที่ส่องสว่างอยู่เบื้องหน้า เป็นหมุดหมายที่ทำให้ชีวิตไม่หลงทิศผิดทาง นำมาสู่ผลงาน ‘แสงสว่างในเช้าอันมืดหม่น’ ซึ่งเป็นภาพถ่ายแสงแรกของวัน เมื่อเช้าวันที่ 26 ตุลาคม 2560 ณ วังไกลกังวล ซึ่งเป็นวันถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พิม สุทธิคำ
ด้วยแรงบันดาลใจจาก ความว่างเปล่า จึงเกิดเป็นผลงานดินเผาที่ในขั้นตอนของการทำงานดินจะแปรสภาพไปตามแรงกระทำและธรรมชาติของดินเอง ทุกครั้งที่นำดินใส่ในเตาไฟ คือการเผชิญหน้าเพื่อการเปลี่ยนแปลงนำไปสู่การเกิดใหม่ในเวลาที่เหมาะสมเสมอดินเผาที่มีช่องว่างสองด้านเป็นการเชื่อมถึงกันระหว่างภายนอกและภายใน การตัดออกทำให้เห็นถึงพื้นที่ข้างในที่เป็นความว่างเปล่าตามหลักของศูนยตา
ปีติชา คงฤทธิ์
จากความรู้สึกในใจที่ว่า ทุกวันนี้เราใช้เหตุผลในการใช้ชีวิตจนหลงลืมอารมณ์ความรู้สึกของตนเองไป นำมาสู่ความต้องการถ่ายทอดอารมณ์ลงบนกระดาษในผลงาน ‘จุดบันทึก’ คือ จุดที่บันทึกอารมณ์ขณะนั่งสมาธิ ละทิ้ง
เหตุผล เพื่อเข้าใจจิตใจของตนเอง โดยการหลับตาแล้วจุดปากกาลงบนกระดาษ สีแต่ละสีแทนอารมณ์ในวัน
แต่ละวันที่เกิดขึ้น
วีร์ วีรพร
จากแรงบันดาลใจที่ได้จากการสนทนากับอาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ นำมาสู่ผลงาน ‘คุกคาม-คุ้มครอง’ ที่นำเทปสีดำติดบนกำแพงจนเกิดเป็นเส้นตั้งแทนลูกกรง จากนั้นใช้เทปติดเป็นเส้นนอนตัดให้เกิดเป็นคำว่า คุกคามและ คุ้มครอง สองคำที่ความหมายตรงข้ามกัน แต่ใช้ตัวอักษรร่วมกัน
ยอดฉัตร บุพศิริ
ผลงานภาพสีน้ำมัน การทับซ้อนของภาพจุดหมึกจีน บันทึกสภาพจิตใจทั้งหมด 22 ภาพ ซึ่งให้ความหมายใหม่โดยนักออกแบบที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยแต่ละคนได้ให้ความหมายกับภาพแต่ละภาพแตกต่างกันออกไป ภาพนามธรรมสีน้ำมันนี้จึงเปรียบเหมือนการเดินทางกลับสู่ภายในใจของแต่ละคน
วิศรุต บินกาซัน
ภาพนี้ผมได้เห็นระหว่างการเดินทางบนรถแท็กซี่หลายปีก่อน มันเป็นภาพที่งดงามที่เราไม่เคยรู้สึกมาก่อนเพราะมันไม่ใช่ความงามภายนอกที่เห็นว่าสวยแต่ภาพความงามก็รางเลือนตามกาลเวลา แต่ภาพของหญิงชราแต่งตัวมอซอคนนึงที่กำลังให้อาหารสัตว์ข้างทาง ใจกลางเมืองท่ามกลางบรรยากาศสีฝุ่น เป็นความงามที่ประทับใจผม ณ ครั้งแรกที่เห็นและตราตรึงอยู่ในใจจนมาถึงทุกวันนี้
วิภว์ บูรพาเดชะ
จากความประทับใจระหว่างการเข้าร่วมเวิร์กช็อปในกิจกรรม ตำนานธรรม ที่ได้รับฟังเรื่องเล่าของผู้อื่น นำมาสู่
ผลงานเรื่องสั้นชื่อ ‘นักเขียน’ เรื่องราวของวิภว์ ตัวละครที่ถูกสร้างผ่านมุมมองความคิดและเรื่องราว ตำนาน
ธรรมของผู้เขียน
จิรายุ ตันตระกูล
ไม่ว่าจะความสุขหรือความทุกข์ ทั้งหมดล้วนแต่เกิดขึ้น มีอยู่ และดับไปทั้งสิ้น การเข้าใจความจริงในตัวเองจะ
ทำให้เราเข้าใจความจริงในโลกมากขึ้น จึงเกิดเป็นผลงานที่สื่อสารถึงความไม่เที่ยง สีน้ำเงินหมายถึงความสุข
สีแดงหมายถึงความทุกข์ โดยสีแดงในพื้นที่ใหญ่คือเวทนา สีเหลืองคือปัญญาหรือความเข้าใจ เปรียบปัญญา
เป็นเทียนที่ถูกจุดขึ้นให้ความสว่างไสว ให้เราจดบันทึกความเข้าใจ เมื่อปัญญาดับไปแต่ความเข้าใจจะยังคงอยู่
ต่อสวัสดิ์ สวัสดิ์-ชูโต
ผลงานชุดภาพถ่าย 3 ภาพ แทนเรื่องราวภายในใจมนุษย์ที่แสดงถึงลำดับสภาพจิตใจจากที่ทุกข์มืดมัวไปสู่สุขสว่างสงบ ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากอาจารย์ประมวล กล่าวถึงเรื่องห้องมืดและภาพถ่ายชุดนี้ต้องการให้เห็น (หรืออ่าน) โดยไม่คิด และมองเข้าไปในใจตนเองว่ารู้สึกอย่างไร ณ ขณะที่มอง (หรืออ่าน) โดยไม่ต้องตีความหมายใดๆ เพียงแค่รู้สึก…
อัคร์ภพ ขรรค์สร
จากความประทับใจที่ว่า ทุกคนล้วนมีนิทานธรรมเป็นของตัวเอง นำมาสู่ผลงาน ‘An Endless Fiction’ เรื่องสั้นที่ไม่มีจุดเริ่มต้น และจุดจบ ให้ผู้อ่านได้เลือกจุดเริ่มต้นและจุดจบด้วยตนเอง เป็นนิทานธรรมที่มีเรื่องราวแตกต่างกันไปในแต่ละคน
ณัฐจรัส เองมหัสสกุล
หนังสือเล่มนี้ผ่านกระบวนการคิดและการทดลองในงานออกแบบเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิด ‘ศูนยตาวิหารธรรม’ เพื่อให้พื้นที่นี้ปลอดพ้นจากการคิดปรุงแต่ง ไม่ให้เป็นบวกหรือเป็นลบตามพระสูตรปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
หนังสือ
ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
หัวใจของการภาวนาเพื่อความรู้แจ้ง
การฝึกสติมักถูกเข้าใจผิดว่าอะไร และแท้จริงแล้วสติมันช่วยเรายังไง
“การฝึกสติพัฒนาจิตนั้นไม่ใช่การฝึกหนีโลก หรือหลบไปหาความสงบ หมกมุ่นอยู่กับตัวเอง จนไม่สนใจสิ่งรอบข้าง ปิดการรับรู้..
.
แต่เราฝึกจิตให้จิตใจตั้งมั่น มั่นคง อยู่กับกระแสโลกได้อย่างสง่าผ่าเผย
.
หลายคนเข้าใจผิด คิดว่าฝึกจิตให้นิ่งได้แล้ว ถือว่าจบแล้ว พอแล้ว วัน ๆ มัวแต่ดูลมหายใจ จนกระทั่งเหมือนกับไม่ได้ดูโลก เรียกว่ามันแต่ดูกาย ดูใจ จนลืมดูโลก
.
เราไม่ไดฝึกจิตใจให้มัวดูแต่ตัวเองนะครับ ขณะเดียวกันเราก็ไม่ได้ฝึกให้เห็นแต่โลกข้างนอกอย่างเดียว แต่เราฝึกให้ดูโลกที่มีตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของโลกด้วย เราจึงจะเห็นโลกครบถ้วน เห็นโลกทั้งหมดรวมเห็นตัวเองด้วย”
เปรียบเทียบ IDG’s กับองค์ประกอบสุขภาวะทางปัญญาของคนไทยวัยทำงาน
นักจิตวิทยาที่ได้กล่าวถึงเรื่องจิตวิญญาณคือ Abraham Maslow เขาเชื่อว่าบุคคลทุกคนเกิดมากับความต้องการทางจิตวิญญาณ และมีชีวิตอยู่เพื่อประสบกับภาวะเหนือการยึดติดตัวตน (Transcendent) นอกจากนี้ เขายังเชื่อว่าบุคคลที่มีความสมบูรณ์ทางจิตมากที่สุด (the psychologically healthiest individuals) จะเป็นผู้ที่มีการบูรณาการในชีวิตที่ดี
9 มิติของผู้ที่มีการพัฒนาภายในสูง Highly Spiritual Being
นักจิตวิทยาที่ได้กล่าวถึงเรื่องจิตวิญญาณคือ Abraham Maslow เขาเชื่อว่าบุคคลทุกคนเกิดมากับความต้องการทางจิตวิญญาณ และมีชีวิตอยู่เพื่อประสบกับภาวะเหนือการยึดติดตัวตน (Transcendent) นอกจากนี้ เขายังเชื่อว่าบุคคลที่มีความสมบูรณ์ทางจิตมากที่สุด (the psychologically healthiest individuals) จะเป็นผู้ที่มีการบูรณาการในชีวิตที่ดี
ความหมายของ “สุขภาวะทางปัญญา” โดย IDG Oneness Thailand
“สุขภาวะทางปัญญา คือ ภาวะที่บุคคลมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในชีวิต รู้สึกผูกพันกับเพื่อนมนุษย์ด้วยความรัก ความกรุณา และการเห็นอกเห็นใจ มีความเชื่อมโยงกับธรรมชาติและสรรพสิ่ง ตลอดจนมีสติ ปัญญา และจิตสำนึกที่เข้าถึงความจริงและคุณค่าอันประเสริฐ สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข และสันติสุข”
สามการแบ่งแยกที่ทำให้มนุษย์ไปไม่ถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน
Otto Scharmer นักวิชาการลือชื่อแห่ง MIT ผู้คิดค้น Theory U ได้เขียนไว้ในหนังสือ Leading from the Emerging Future ของเขา แสดงให้เห็นถึงการแบ่งแยก 3 ประการ ในภาพภูเขาน้ำแข็งอันเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การล่มสลายในระบบสังคมและห่างไกลจากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ (1) การแบ่งแยกทางนิเวศวิทยา (2) การแบ่งแยกทางสังคม (3) และการแบ่งแยกฝ่ายวิญญาณ
7 วิกฤตอารยธรรมยุคใหม่ที่ทำให้โลกเสียสมดุล
ท่ามกลางความเจริญอย่างมหัศจรรย์นานาชนิดบนโลกสมัยใหม่ โลกกลับวิกฤตอย่างรุนแรง มีผู้เรียกว่าเป็นวิกฤตอารยธรรมตะวันตก (Western Civilization Crisis) เรามาทําความเข้าใจอาการของวิกฤตการณ์ของอารยธรรมนี้ และสาเหตุเพื่อเข้าใจการเกิดขึ้นของยุคใหม่ 7 ประการ
การฝึกสติมักถูกเข้าใจผิดว่าอะไร และแท้จริงแล้วสติมันช่วยเรายังไง
“การฝึกสติพัฒนาจิตนั้นไม่ใช่การฝึกหนีโลก หรือหลบไปหาความสงบ หมกมุ่นอยู่กับตัวเอง จนไม่สนใจสิ่งรอบข้าง ปิดการรับรู้..
.
แต่เราฝึกจิตให้จิตใจตั้งมั่น มั่นคง อยู่กับกระแสโลกได้อย่างสง่าผ่าเผย
.
หลายคนเข้าใจผิด คิดว่าฝึกจิตให้นิ่งได้แล้ว ถือว่าจบแล้ว พอแล้ว วัน ๆ มัวแต่ดูลมหายใจ จนกระทั่งเหมือนกับไม่ได้ดูโลก เรียกว่ามันแต่ดูกาย ดูใจ จนลืมดูโลก
.
เราไม่ไดฝึกจิตใจให้มัวดูแต่ตัวเองนะครับ ขณะเดียวกันเราก็ไม่ได้ฝึกให้เห็นแต่โลกข้างนอกอย่างเดียว แต่เราฝึกให้ดูโลกที่มีตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของโลกด้วย เราจึงจะเห็นโลกครบถ้วน เห็นโลกทั้งหมดรวมเห็นตัวเองด้วย”
เปรียบเทียบ IDG’s กับองค์ประกอบสุขภาวะทางปัญญาของคนไทยวัยทำงาน
นักจิตวิทยาที่ได้กล่าวถึงเรื่องจิตวิญญาณคือ Abraham Maslow เขาเชื่อว่าบุคคลทุกคนเกิดมากับความต้องการทางจิตวิญญาณ และมีชีวิตอยู่เพื่อประสบกับภาวะเหนือการยึดติดตัวตน (Transcendent) นอกจากนี้ เขายังเชื่อว่าบุคคลที่มีความสมบูรณ์ทางจิตมากที่สุด (the psychologically healthiest individuals) จะเป็นผู้ที่มีการบูรณาการในชีวิตที่ดี
9 มิติของผู้ที่มีการพัฒนาภายในสูง Highly Spiritual Being
นักจิตวิทยาที่ได้กล่าวถึงเรื่องจิตวิญญาณคือ Abraham Maslow เขาเชื่อว่าบุคคลทุกคนเกิดมากับความต้องการทางจิตวิญญาณ และมีชีวิตอยู่เพื่อประสบกับภาวะเหนือการยึดติดตัวตน (Transcendent) นอกจากนี้ เขายังเชื่อว่าบุคคลที่มีความสมบูรณ์ทางจิตมากที่สุด (the psychologically healthiest individuals) จะเป็นผู้ที่มีการบูรณาการในชีวิตที่ดี
ความหมายของ “สุขภาวะทางปัญญา” โดย IDG Oneness Thailand
“สุขภาวะทางปัญญา คือ ภาวะที่บุคคลมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในชีวิต รู้สึกผูกพันกับเพื่อนมนุษย์ด้วยความรัก ความกรุณา และการเห็นอกเห็นใจ มีความเชื่อมโยงกับธรรมชาติและสรรพสิ่ง ตลอดจนมีสติ ปัญญา และจิตสำนึกที่เข้าถึงความจริงและคุณค่าอันประเสริฐ สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข และสันติสุข”
สามการแบ่งแยกที่ทำให้มนุษย์ไปไม่ถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน
Otto Scharmer นักวิชาการลือชื่อแห่ง MIT ผู้คิดค้น Theory U ได้เขียนไว้ในหนังสือ Leading from the Emerging Future ของเขา แสดงให้เห็นถึงการแบ่งแยก 3 ประการ ในภาพภูเขาน้ำแข็งอันเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การล่มสลายในระบบสังคมและห่างไกลจากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ (1) การแบ่งแยกทางนิเวศวิทยา (2) การแบ่งแยกทางสังคม (3) และการแบ่งแยกฝ่ายวิญญาณ
7 วิกฤตอารยธรรมยุคใหม่ที่ทำให้โลกเสียสมดุล
ท่ามกลางความเจริญอย่างมหัศจรรย์นานาชนิดบนโลกสมัยใหม่ โลกกลับวิกฤตอย่างรุนแรง มีผู้เรียกว่าเป็นวิกฤตอารยธรรมตะวันตก (Western Civilization Crisis) เรามาทําความเข้าใจอาการของวิกฤตการณ์ของอารยธรรมนี้ และสาเหตุเพื่อเข้าใจการเกิดขึ้นของยุคใหม่ 7 ประการ