“สุขภาวะทางปัญญา คือ ภาวะที่บุคคลมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในชีวิต รู้สึกผูกพันกับเพื่อนมนุษย์ด้วยความรัก ความกรุณา และการเห็นอกเห็นใจ มีความเชื่อมโยงกับธรรมชาติและสรรพสิ่ง ตลอดจนมีสติ ปัญญา และจิตสำนึกที่เข้าถึงความจริงและคุณค่าอันประเสริฐ สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข และสันติสุข”
ในการศึกษาเรื่องสุขภาวะทางปัญญา มีนักวิชาการมากมายทั้งไทยและต่างประเทศได้ให้ความหมายของสุขภาวะปัญญาไว้จํานวนมาก จากรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ สำหรับผู้นำในองค์การโดย รศ.ดร. รัตติกรณ์ จงวิศาล และคณะ ได้สรุปความหมายของสุขภาวะทางปัญญา 9 นิยาม ได้แก่
นิยามที่ 1
สุขภาวะทางจิตวิญญาณ หมายถึง แง่มุมของการเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งประกอบด้วย สัมพันธภาพ สิ่งที่มีความหมายและเป็นเป้าหมายของชีวิต เป็นความปรารถนาที่จะพบเป้าหมายสูงสุดในชีวิต และดํารงชีวิตตามเป้าหมายนั้น เป็นอิสระเหมือนพลังงาน ความหมายและความรู้ – Seidl (1993)
นิยามที่ 2
จิตวิญญาณ (Spirituality) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับปัจเจกบุคคล โดยเป็นการ เชื่อมโยงกับตัวตนที่สมบูรณ์แบบของตัวเรา ผู้อื่น และจักรวาล คําที่ครอบคลุมความหมายและความสําคัญของจิตวิญญาณได้ดีที่สุด คือ การเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน (Interconnectedness) – Mitroff and Denton (1999)
นิยามที่ 3
ความผาสุกทางจิตวิญญาณ (Spiritual well-being) หมายถึง สภาวะของ การดํารงอยู่ที่สะท้อนถึงอารมณ์ความรู้สึก พฤติกรรม และการรับรู้เกี่ยวกับ ความสัมพันธ์หรือการเชื่อมโยงกับตนเอง ผู้อื่น และธรรมชาติ รวมถึงสิ่งที่ ข้ามพ้นตัวตน ซึ่งจะนําไปสู่การมีอัตลักษณ์ ความเป็นทั้งหมด ความพึงพอใจ ความเบิกบาน ความงาม ความรัก ความเคารพ ทัศนคติเชิงบวก สันติสุข ความกลมกลืนภายใน และเป้าหมายและทิศทางของชีวิต – Fisher (2003; 2010)
นิยามที่ 4
สุขภาวะทางจิตวิญญาณ หมายถึง การที่บุคคลสามารถจัดการกับ ชีวิตประจําวันได้ในลักษณะที่จะนําไปสู่การตระหนักรู้ถึงศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ รวมถึงการตระหนักรู้ถึงความหมาย และจุดมุ่งหมายของชีวิต และมีความสุขจากภายใน – Dhar et al. (2011)
นิยามที่ 5
สุขภาวะทางจิตวิญญาณ หมายถึง สุขภาวะที่จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลไม่เห็นแก่ตัว มีจิตใจเป็นอิสระ มีความสุขในการทําความดี เช่น การช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน หรือการให้ – ประเวศ วะสี (2547)
นิยามที่ 6
สุขภาวะทางปัญญา หมายถึง ความรู้ทั่วรู้เท่าทัน และความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดีความชั่ว ความมีประโยชน์และ ความมีโทษ ซึ่ง นําไปสู่ความมีจิตใจอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ – พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ (2550 อ้างใน รัตติกรณ์ จงวิศาล และคณะ, 2564ก)
นิยามที่ 7
การที่คนเราสามารถมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับแก่นแท้แห่งตนเอง รวมถึงผู้อื่น สรรพสิ่ง และพลังแห่งสากลจักรวาลที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเราขึ้นไป นํามาซึ่งความรู้สึกเต็มเปี่ยม สมบูรณ์และมั่นคง – อดิศร จันทรสุข และคณะ (2556 อ้างใน รัตติกรณ์ จงวิศาล และคณะ, 2564ก)
นิยามที่ 8
จิตวิญญาณ หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลที่เห็นคุณค่าความหมายของ ตนเองและผู้อื่น เห็นคุณค่าในงาน รวมถึงมีความรู้สึกสัมพันธ์เชื่อมโยงอย่าง กว้างขวาง ตลอดจนมีความสัมพันธ์อันดีกับทั้งตนเอง ผู้อื่น สังคม โลก และ ธรรมชาติทั้งปวง – รัตติกรณ์ จงวิศาล และคณะ (2564ค)
นิยามที่ 9
สุขภาวะทางปัญญา หมายถึง การหยั่งรู้ความเป็นจริง (Insight) เป็นการเห็น และเข้าใจความเป็นจริงภายในตนเองทั้งในระดับทั่วไป และในระดับสัจธรรม และเป็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้อื่น และธรรมชาติ – รัตติกรณ์ จงวิศาล และคณะ (2564ก)
จากการนิยามของสุขภาวะทางปัญญาทั้ง 9 นี้
ได้ครอบคลุม 7 ประเด็นสำคัญ
ได้แก่
ดังนั้น จึงได้นำมาเรียบเรียงเป็นคำนิยามสุขภาวะที่ครอบคลุมสาระสำคัญทั้งหมด ดังนี้
–
คำนิยามสุขภาวะทางปัญญานี้ได้แสดงให้เห็นถึง องค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาภายใน นั่นคือการ
เข้าถึงและเชื่อมโยง 4 มิติสำคัญของชีวิต ด้วยกัน ได้แก่
1/
การเชื่อมโยงกับตนเอง (Connect to Self)
ความตระหนักรู้ในตนเอง สำนึกรู้แก่นแท้ คุณค่าในตนเอง การยอมรับความจริงในตนเอง
2/
การเชื่อมโยงกับผู้อื่น (Connect to Others)
เปิดใจกว้าง สัมผัสและเห็นถึงความหมายและคุณค่าผู้อื่น ตระหนักรู้ถึงการชื่อมโยงสัมพันธ์กับผู้อื่น
3/
การเชื่อมโยงกับธรรมชาติ (Connect to Nature)
ตระหนักรู้ถึงสายสัมพันธ์ที่มีต่อธรรมชาติรอบตัว จนเกิดความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างตัวเราและสรรพสิ่งทั้งหลาย
4/
การเชื่อมโยงกับสัจธรรมสากล (Connect to Universal Truth)
เกิดประสบการณ์ทางจิต
วิญญาณ เข้าถึงความจริงอันเป็นสัจธรรมสากล ดังที่ปรากฏในเป้าหมายของคำสอนของศาสนาต่างๆ รวมถีงผู้รู้และเข้าถึงความจริงในทุกๆ เส้นทางของการพัฒนาภายในและจิตวิญญาณของมนุษย์
1/
บรมสุข
ความสุขยิ่งเหนือความสุขทางวัตถุใดๆ เป็นความสุขเหนือคําบรรยาย ต้องชิมเองจึงรู้รส เสมือนการบรรยายรสอร่อยของอาหารบางอย่าง อธิบายอย่างไรๆ ก็เข้าไม่ถึง นอกจากชิมดู การรู้ด้วยตัวเองนี้ที่เรียกว่า สันทิฏฐิโก แปลว่า พึงรู้ได้ด้วยตนเอง
2/
สุนทรียธรรม
ประสบความงามอันล้นเหลือในสิ่งทั้งปวง ความจริง ความดี ความงาม อยู่ที่เดียวกัน ฉะนั้น เมื่อเข้าถึงความจริงแล้ว ทุกสิ่ง ทุกอย่างก็กลายเป็นความงามไปหมด เรียกว่าตะลึงในสัมผัสใหม่ที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน สุนทรียธรรมเป็นเครื่องประเทืองจิตใจยิ่งนัก
3/
เกิดไมตรีจิต
เกิดความรักอันไพศาลต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่ง ไมตรีคือ มิตตะ และ เมตตา หรือความรักอัน บริสุทธิ์ที่ไม่หวังผลตอบแทน เป็น “Universal Love” หรือความรักอันไพศาล ไม่มีที่สิ้นสุด คือรัก ทั้งจักรวาล