การเชื่อมโยงสัมพันธ์กับผู้อื่น Connect to Others

การเชื่อมโยงสัมพันธ์กับผู้อื่น Connect to Others

ชุดกิจกรรมที่ 2

การเชื่อมโยงสัมพันธ์กับผู้อื่น Connect to Others

กิจกรรมในชุดนี้ ประกอบไปด้วยกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เริ่มต้นจากการฝึกทักษะที่สําคัญยิ่ง คือการฟังอย่างลึกซึ้ง ไปจนถึงการทํางานร่วมกัน การสร้างความร่วมมือ การเข้าใจความแตกต่างของคน การสร้างสรรค์ทางแก้ปัญหาร่วมกัน การสื่อสาร และการสร้างพลังบวกให้กลุ่ม

กิจกรรม ฟังอย่างลึกซึ้ง

จุดประสงค์ :
  1. ฝึกทักษะการรับฟังอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเชื่อมสัมพันธ์กับผู้อื่น
  2. ฝึกทักษะการทวนใจความสําคัญเพื่อให้ความเข้าใจ
  3. ทําความรู้จักกันและกันด้วยการฟังเรื่องราวลึก ๆ ของกันและกัน
ระยะเวลาการฝึกอบรม : 1 ชั่วโมง
รายละเอียดสําหรับกระบวนกร :
  1. กลับเข้าวงใหญ่ สรุปการเรียนรู้ของการฟังอย่างลึกซึ้งรวมทั้งการทวนใจความสําคัญ กระบวนกร เน้นว่า ในกระบวนการฝึกอบรมการฟังอย่างลึกซึ้งเป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่ง ทั้งฟังตัวเอง ฟังเพื่อนร่วมการฝึกอบรม รวมถึงฟังธรรมชาติ กระบวนกรจะพยายามฟังอย่างลึกซึ้งเสมอ ซึ่งหากผู้เข้ารับการฝึกอบรมเห็นว่าเมื่อใดที่ กระบวนกรไม่ฟัง ขอให้ส่งสัญญาณเตือนกระบวนกรด้วย และขอเชื้อเชิญให้ทุกคนได้ใช้การฟังอย่างลึกซึ้ง
  2. กระบวนกรกล่าวถึงความสําคัญของการฟังอย่างลึกซึ้ง และตั้งคําถามให้แต่ละคนคิดถึงครั้งหนึ่งใน ชีวิตที่มีคนตั้งใจฟังเราอย่างจริงๆ และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับชีวิตของเรา
  3. ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจับกลุ่ม 3 คน คนหนึ่งเป็นคนเล่าเรื่องครั้งหนึ่งในชีวิตที่มีคนตั้งใจฟังเรา ให้อีกสองคนฟัง ขอให้คนฟังฟังอย่างใส่ใจ โดยไม่ต้องถามคําถามแต่อย่างใด กระบวนกรให้เวลา 4 นาทีในการเล่า 3. เมื่อครบ 4 นาที กระบวนกรให้สัญญาณหมดเวลา แล้วให้คนฟังช่วยทวนใจความสําคัญที่ได้ยินมา กลับไปให้คนเล่าฟัง อีก 2 นาที แล้วสลับให้คนอื่นเล่า และทวนใจความสําคัญ จนครบทุกคนเช่นเดียวกัน

กิจกรรม Dialogue (สุนทรียสนทนา)

จุดประสงค์ :
  1. เพื่อแนะนํากระบวนการทํา Dialogue หรือ สุนทรียสนทนา
  2. เพื่อไตร่ตรองถึงรูปแบบการสนทนาในองค์การ
ระยะเวลาการฝึกอบรม : 30 นาที
รายละเอียดสําหรับกระบวนกร :

กระบวนกรกล่าวแนะนําเครื่องมือ Dialogue หรือ สุนทรียสนทนา ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถ นํามาใช้เพื่อสร้างความสัมพันธ์ของคนในองค์การได้ วิธีการนี้มีรูปแบบดังนี้คือ

  1. การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep listening) : ตั้งใจฟังไม่พูดแทรกตั้งแต่ต้นจนจบ และไม่ตั้งคําถาม
  2. เคารพ (Respect) : เคารพเรื่องราวของผู้พูด
  3. ห้อย แขวน (Suspend) : ต่อให้เรารับฟังผู้พูดแล้วเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ขอให้ห้อยแขวนความคิด นั้นไว้ แม้ว่าเสียงในหัวเราจะคอยตัดสินเสมอ ขอให้วางคําตัดสินนั้นลง โดยไม่รีบพูดออกไป
  4. เปล่งเสียง (Voicing) : การเปล่งเสียงจะต้องซื่อตรงกับความรู้สึกที่แท้จริงของเรา ไม่อ้อมค้อม

ตัวชี้วัดว่าการทําสุทรียสนทนาเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ความผ่อนคลาย การคุยแบบสบายๆเป็นธรรมชาติของตนเอง

กระบวนกรแนะนํารูปแบบการสื่อสาร 4 แบบดังนี้

รูปแบบการสื่อสาร

1) Download สุภาพเกรงใจ

2) Debate ถกเถียงอภิปราย

3) Empathic Communication เราจะเข้าถึงความหมาย คุณค่า และเกิดความ เข้าอกเข้าใจในบทสนทนา

4) Generative Communication (Flow) การสื่อสารแบบเป็นทีม มีจิตวิญญาณ ร่วมกัน

3. กระบวนกรขอให้ทุกคนได้ไตร่ตรองดูว่าการสื่อสารในองค์การของเรานั้นใช้รูปแบบใดบ้าง และมี ประโยชน์อย่างไร หรือมีจุดอ่อนอย่างไรบ้าง และรูปแบบใดที่เรามุ่งหวังจะให้เกิดขึ้นในองค์การของเรา

 

กิจกรรม แรงบันดาลใจในการช่วยเหลือผู้อื่น

จุดประสงค์ :
  1. เสริมสร้างพลังบวกและกําลังใจให้กับการทํางาน
  2. ฝึกฝนการมองเห็นแง่ดีของตัวเอง และของกันและกัน และสื่อสารออกมาให้เพื่อนร่วมงานได้รับรู้
  3. ฝึกการรับฟังกันและกันอย่างลึกซึ้ง
ระยะเวลาการฝึกอบรม : 1 ชั่วโมง
รายละเอียดสําหรับกระบวนกร :
  1. กระบวนกรเปิดคลิปวีดีโอ Empathy ในโรงพยาบาล จากนั้นกระบวนกรถามความรู้สึกและข้อคิดที่ ได้จากการดูคลิป
  2. ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจับกลุ่ม 3 คน โดยจับกับผู้ที่ทํางานต่างสายงาน หรือผู้ที่ยังไม่ค่อยรู้จักกัน
  3. กระบวนกรกล่าวถึงความสําคัญของการสร้างพลังบวกในที่ทํางาน ว่าเป็นสิ่งที่จําเป็นมาก การสร้าง พลังบวกที่ทําได้ง่ายๆ คือ การคิดถึงสิ่งดีๆ ที่เราได้ช่วยเหลือผู้อื่น
  4. กระบวนกรให้เวลาทุกคนได้คิดถึง ประสบการณ์ที่เราได้ช่วยเหลือผู้อื่นที่ไม่ใช่คนในครอบครัว โดย ไม่หวังผลตอบแทน
  5. ให้เวลาแต่ละคนได้แบ่งปันในกลุ่มย่อยของตัวเอง ทุกคนผลัดกันเล่าและฟังอย่างตั้งใจ
  6. กระบวนกรถามความรู้สึกจากการที่ได้เล่าและฟังเรื่องราวการช่วยเหลือคนอื่น และเราจะสร้างการช่วยเหลือผู้คนให้กลายเป็นวัฒนธรรมขององค์การได้อย่างไรบ้าง

กิจกรรม ฉันคือแสงสว่าง

จุดประสงค์ :
  1. เสริมสร้างพลังบวกและกําลังใจให้กับการทํางาน
  2. ฝึกฝนการมองเห็นแง่ดีของกันและกัน และสื่อสารออกมาให้เพื่อนร่วมงานได้รับรู้
  3. ฝึกการรับฟังกันและกันอย่างลึกซึ้ง
ระยะเวลาการฝึกอบรม : 1 ชั่วโมง
รายละเอียดสําหรับกระบวนกร :
  1. ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจับกลุ่ม 5 คน โดยจับกับผู้ที่ทํางานใกล้ชิดกัน แจกไพ่แสงสว่างให้กลุ่มละชุด
  2. กระบวนกรกล่าวถึงความสําคัญของการสร้างพลังบวกในที่ทํางาน ว่าเป็นสิ่งที่จําเป็นมาก เพราะ งานของพวกท่านเป็นงานช่วยเหลือผู้คนที่ต้องใช้กําลังการกําลังใจอย่างสูง เปรียบเทียบเหมือนกับการดําน้ําลง ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยใต้น้ํา อย่างเช่น นักประดาน้ําที่เข้าไปช่วยทีมหมูป่าอะคาเดมี ต้องมีถังออกซิเจนเต็ม ถังจึงจะเข้าไปช่วยเด็กๆ ให้รอดออกมาอย่างปลอดภัยได้ เช่นเดียวกับงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกคน หากทุกคนในทีมงานมีกําลังใจ สามารถเสริมสร้างพลังบวกให้แก่กันได้แล้ว ก็จะเป็นเหมือนการช่วยกันเติมออกซิเจนในถังของเราให้เต็ม เพื่อพร้อมสําหรับการไปช่วยเหลือผู้ป่วยต่อไป ในกิจกรรมนี้จะเป็นดั่งการเติมออกซิเจนให้กับตัวเอง และให้กับทีมงาน
  3. กระบวนกรให้แต่ละกลุ่มเปิดไพ่ออกมาวางบนโต๊ะ ให้แต่ละคนค่อยๆ อ่านไพ่ ซึ่งแต่ละใบจะมีคําที่ เป็นคุณสมบัติด้านบวก ให้ทุกคนเลือกไพ่หนึ่งใบที่คิดว่าเรามีคุณสมบัติเช่นนั้นมากที่สุด เก็บไว้ในใจยังไม่ต้องบอกใคร
  4. เมื่อเลือกไพ่ให้กับตัวเองได้แล้ว ขอให้มองเพื่อนที่อยู่ทางขวามือ ให้เลือกไพ่หนึ่งใบให้กับเพื่อนที่อยู่ ทางขวามือที่เราคิดว่าเขามีคุณสมบัติเช่นนี้โดดเด่นที่สุด เก็บไว้ในใจยังไม่ต้องบอกเพื่อน
  5. ให้คนหนึ่งเริ่มบอกว่าเลือกไพ่อะไรให้เพื่อนทางขวามือ เพราะอะไรจึงเลือกใบนั้น มีเหตุการณ์อะไร ที่เกิดขึ้นที่ทําให้เราเห็นคุณสมบัตินี้ในตัวเพื่อน เมื่อเพื่อนฟังเสร็จ ให้บอกว่าตัวเองเลือกไพ่อะไรให้ตัวเองและ เพราะอะไร ทําเช่นนี้เวียนไปจนครบทุกคนในวง
  6. เมื่อได้พูดและฟังกันครบทุกคนในวงแล้ว กระบวนกรแจกกระดาษA4 และสีชอล์คให้กลุ่มละกล่อง ขอให้ทุกคนเลือกไพ่หนึ่งใบ ที่เป็นคุณสมบัติที่เราอยากพัฒนาขึ้นมาในตัวเรา อาจจะเป็นคุณสมบัติที่เรามีอยู่ แล้ว ที่เพื่อนเห็นในตัวเรา แล้วเราอยากพัฒนาให้มีพลังมากขึ้นอีก หรือเป็นคุณสมบัติที่เรายังไม่ค่อยมี แล้ว อยากสร้างให้มีขึ้นในตัวเรา
  7. แบ่งปันคุณสมบัติในภาพของเราให้เพื่อนในกลุ่มได้รับฟัง และอยากขอร้องเพื่อนให้ช่วยเหลือตัว เราในการพัฒนาคุณสมบัติเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง โดยทุกคนคว่ําภาพของตัวเองไว้ก่อน ใครที่เป็นคนพูดก็ค่อยเปิดภาพของเราขึ้นมา
  8. กระบวนกรชวนคุยเพื่อสรุปการเรียนรู้ในกลุ่มใหญ่ ด้วยการถามคําถาม เช่น เมื่อได้ฟังกันและกัน แล้ว รู้สึกอย่างไรบ้าง ยากหรือไม่ที่จะเห็นคุณสมบัติด้านบวกเหล่านี้ในตัวเองและเพื่อนร่วมงาน เราจะทำอย่างไรที่จะสร้างเสริมพลังด้านบวกเหล่านี้ในเกิดขึ้นในที่ทํางานของเรา
สื่อการสอน :
  1. ไฟแสงสว่าง กลุ่มละ 1 ชุด ไฟชุดนี้เป็นไพ่ที่มีคําที่เป็นพลังบวก เช่น ฉันคือความรัก, ฉันคือความ มั่นคง, ฉันคือความหวัง, ฉันคือพลัง ฯลฯ กระบวนกรสามารถสร้างชุดคําเหล่านี้ขึ้นมาเอง แล้วพิมพ์ลงบน กระดาษตัดให้เป็นบัตรคําก็ได้
  2. สีชอล์ค กลุ่มละกล่อง
  3. กระดาษ A4 คนละแผ่น

กิจกรรม สี่เหลี่ยมแตก

จุดประสงค์ :
  1. เรียนรู้การสร้างความร่วมมือระหว่างทีมงาน
  2. ตระหนักรู้ถึงความสําคัญของการใส่ใจเพื่อนร่วมงานและการเสียสละเพื่องานของส่วนรวม
  3. ฝึกความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา
ระยะเวลาการฝึกอบรม : : 45 นาที
รายละเอียดสําหรับกระบวนกร :
  1. ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจับกลุ่ม 5 คน แจกชิ้นส่วนของสี่เหลี่ยมที่อยู่ในซองให้คนละ 1 ซอง
  2. กระบวนกรให้โจทย์คือ งานของกลุ่มคือต้องต่อสี่เหลี่ยมจัตุรัสให้ได้ทุกคน โดยมีกติกาคือ
  • ห้ามใช้เสียง
  • ห้ามขอชิ้นส่วนจากคนอื่น
  • ยื่นชิ้นส่วนให้คนอื่นได้เท่านั้น และต้องยื่นให้ในมือ ห้ามต่อให้คนอื่น
  1. ให้เวลาแต่ละกลุ่มต่อสี่เหลี่ยม 15 นาที
  2. เมื่อหมดเวลา หากมีกลุ่มที่ยังต่อไม่เสร็จ ให้กลุ่มนั้นเดินไปดูกลุ่มอื่นที่ต่อเสร็จ แล้วกลับมาปรับปรุง การต่อสี่เหลี่ยมของกลุ่มตัวเอง
  3. สรุปการเรียนรู้ โดยให้ในกลุ่มย่อยคุยกันว่า เพราะอะไรเราจึงทํางานสําเร็จ มีอุปสรรคหรือปัญหา อะไรบ้างหรือไม่ เราจะนําสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมนี้ไปใช้กับทีมงานของเราได้อย่างไรบ้าง
  4. กระบวนกรนําการแลกเปลี่ยนแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกลุ่มใหญ่ และให้ข้อคิดเสริมเพิ่มเติมว่า เราแต่ละคนต่างก็เป็นชิ้นส่วนที่ต้องมาเสริมต่อซึ่งกันและกัน ไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ เราจะเอาความสามารถของแต่ละคนออกมารวมพลังกัน เพื่อทําให้งานของเราสําเร็จและเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้มารับบริการ
สื่อการสอน :

ชิ้นส่วนสี่เหลี่ยมที่ตัดตามต้นแบบ ดังตัวอย่างข้างล่าง แล้วเขียนตัวอักษรกํากับไว้ที่แต่ละชิ้น ดัง ตัวอย่าง เมื่อตัดเสร็จแล้ว นําชิ้นส่วนที่มีตัวอักษรเดียวกันใส่ซองเดียวกัน ดังนั้นจะมีซองละ 3 ชิ้น ใน 1 ชุด จะมี 5 ซอง


กิจกรรม หน่วยกู้ภัย

จุดประสงค์ :
  1. เรียนรู้การสร้างความร่วมมือระหว่างทีมงาน
  2. เรียนรู้การรวมพลังความสามารถที่แตกต่างกันของทีมงานเพื่อทํางานที่เป็นการช่วยเหลือผู้อื่น
  3. ฝึกความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา
ระยะเวลาการฝึกอบรม :1 ชั่วโมง
รายละเอียดสําหรับกระบวนกร :
  1. ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจับกลุ่ม 4 คน เลือกว่าใครจะเป็น

ผู้ประสบภัย

คนตาบอด

คนไม่มีขา

คนใบ้

เป้าหมาย คือ ทีมจะต้องเข้าไปช่วยผู้ประสบภัยให้ออกมาอย่างปลอดภัยให้ได้ โดยมีกติกาคือ

คนตาบอดเป็นคนเดินไปช่วยผู้ประสบภัย

คนไม่มีขาเป็นคนตะโกนบอกทาง แต่นั่งหันหลัง ห้ามหันไปมอง

คนใบ้เป็นคนเห็นทางและชี้ทางให้คนไม่มีขา

คนไม่มีขา และคนใบ้ ห้ามเคลื่อนที่ มีเพียงคนตาบอดเท่านั้นที่เคลื่อนที่ได้

ผู้ประสบภัยนั่งได้เฉยๆ เท่านั้น ห้ามใช้เสียง ห้ามเคลื่อนไหว จนกว่าคนตาบอดของกลุ่มเราจะ เดินไปแตะตัว จึงลุกขึ้นเดินออกมาได้ แต่ยังห้ามใช้เสียงหรือห้ามนําทางคนตาบอดออกมา

ขออาสาหนึ่งทีมทําหน้าที่เป็นตัวป่วน คอยกีดกันไม่ให้คนตาบอดเดินไปช่วยเหลือ แต่ห้ามใช้มือดึงหรือจับคนตาบอด

  1. กระบวนกรให้แต่ละทีมอยู่รอบวง ให้ผ้าปิดตาคนตาบอด แล้วนําผู้ประสบภัยของแต่ละกลุ่มเข้ามา นั่งในตําแหน่งที่ไกลจากทีมของตัวเอง แล้วให้เริ่มต้นกู้ภัยได้ โดยจับเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนทุกกลุ่มกู้ภัยได้สําเร็จ
  2. เมื่อทุกกลุ่มกู้ภัยได้สําเร็จ บอกเวลาที่กลุ่มทําได้ และท้าทายว่าให้ทําใหม่อีกครั้งให้ใช้เวลาให้ น้อยลง โดยให้กลุ่มกําหนดเป้าหมายเองว่าจะทําเวลาให้ลดลงได้เท่าไร แล้วให้กลุ่มปรึกษากันว่าจะทําอย่างไร แล้วลงมือกู้ภัยอีกครั้ง
  3. เมื่อทําสําเร็จแล้ว กระบวนกรนําการพูดคุยสรุปบทเรียนว่า กลุ่มทํางานสําเร็จและเอาชนะอุปสรรค ได้อย่างไร
สื่อการสอน :

ผ้าปิดตา

กิจกรรม เป็ดชิงพื้นที่

จุดประสงค์ :
  1. เรียนรู้การสร้างความร่วมมือระหว่างทีมงาน
  2.  ฝึกความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา
ระยะเวลาการฝึกอบรม : 1 ชั่วโมง
รายละเอียดสําหรับกระบวนกร :
  1. ให้ผู้เข้าร่วมแต่ละคนยืนบนเสื่อน้ํามันของตนเองที่วางกระจายอยู่บนพื้นห้อง โดยให้มีเสื่อน้ํามันที่ว่างเหลืออีก 1 แผ่น
  2. กระบวนกรเป็น” เป็ด” ที่จะเดินไปหาเสื่อน้ํามันที่ว่างนั้น โดยให้ผู้เข้าร่วมที่เหลือทุกคนต้องปกป้อง พื้นที่ร่วมกัน ไม่ให้เป็ดขึ้นไปยืนบนเสื่อที่ว่างนั้นได้ โดยผู้เข้าร่วมจะทําอย่างไรก็ได้ แต่ห้ามถูกต้องตัวเป็ด ห้าม ย้ายที่เสื้อน้ํามัน ห้ามยืนคร่อม และให้ทุกคนได้มีความส่วนร่วม
  3. กระบวนกรจับเวลาตั้งแต่เป็ดเริ่มเดิน จนกระทั่งเป็ดขึ้นไปชิงเสื่อน้ํามันได้สําเร็จ วัตถุประสงค์คือ ต้องให้กลุ่มตั้งเป้าที่จะยืดเวลาการชิงพื้นที่ของเป็ดให้นานที่สุดเท่าที่จะทําได้
  4. ถอดบทเรียนร่วมกัน เพื่อเรียนรู้ในประเด็นการทํางานร่วม และความรู้สึกนึกคิดภายในของแต่ละ คนในการทําภารกิจนี้
สื่อการสอน :

เสื่อน้ํามัน ตัดเป็นชิ้น ขนาด 30 x 30 ซม. จํานวนมากกว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรม 1 ชิ้น

 

กิจกรรม กงล้อ 4 ทิศ

จุดประสงค์ :
  1. เพื่อใฟ้ผู้เข้ารับการอบรมได้รู้จักตนเองและเข้าใจตัวเองมากยิ่งขึ้น
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้ที่จะเข้าใจคนรอบข้างและลดการตัดสินลง จนสามารถอยู่ร่วมและทำงานกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
ระยะเวลาการฝึกอบรม : 3 ชั่วโมง
รายละเอียดสําหรับกระบวนกร :
  1. กระบวนกรทําบทบาทสมมติให้เห็นบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน 4 แบบ ได้แก่ กระทิง หนู หมี และ เหยี่ยว จากนั้นบรรยายสั้นๆให้เห็นถึงคุณลักษณะของบุคลิกภาพแต่ละแบบเหล่านั้น โดยมีรายละเอียด คือ

ทิศเหนือ “กระทิง” (ฐานกาย ธาตุไฟ)

จุดแข็ง ตรงไปตรงมา กล้าหาญ ตัดสินใจเร็ว ลงมือกระทํา รักความ ยุติธรรม ลงมือกระทํา รักความยุติธรรม ปกป้องดูแล ควบคุมจัดการ เต็มที่สุดๆ เข้มแข็ง รักศักดิ์ศรี

จุดอ่อน ใจ ร้อน มุทะลุ เอาตัวเองเป็นใหญ่ ดูก้าวร้าว โกรธง่าย ซื่อๆ ขวานผ่าซาก แก้แค้น ทําก่อนคิด ไม่สนใจรายละเอียด “ฆ่าได้ หยามไม่ได้” “เป้าหมายมีไว้พุ่งชน

ทิศใต้ “หนู” (ฐานใจ ธาตุน้ำ)

จุดแข็ง เป็นห่วงใส่ใจผู้อื่น ชอบช่วยเหลือ รู้ใจเอาใจ ประนีประนอม ประสานไมตรี เกรงใจ น่ารัก ชอบสนับสนุน ไว้วางใจ รับฟัง

จุดอ่อน ไม่กล้าปฏิเสธ ลังเล ตัดสินใจยาก เก็บกด ไม่กล้าแตกหัก ไม่บอกความต้องการ ผัดผ่อนงานตัวเอง จัดลําดับไม่ถูก มองข้ามตัวเอง กลัวเพื่อนไม่รัก “ไม่เป็นไร ยังไงก็ได้ แล้วแต่เธอ”

ทิศตะวันออก “อินทรี” (ฐานหัว สมองซีกขวา ธาตุลม)

จุดแข็ง ช่างจินตนาการ มีวิสัยทัศน์ คิดเชื่อมโยง ช่างวางแผน ชอบเรียนรู้ มี ประสบการณ์กับสิ่งแปลกใหม่ มองโลกแง่ดี สนุกสนานร่าเริง ทดลองสิ่งใหม่ๆ สร้างสรรค์

จุดอ่อน ขี้เบื่อ แรกๆ มีพลังช่วงหลังหมดไฟ เพื่อนตามความคิดไม่ทัน ชอบใช้เหตุผลเอาชนะ สมาธิสั้น ไม่จดจ่อต่อเนื่อง ไม่ชอบตาม กฎ กลัวถูกจํากัด “ทุกปัญหามีทางออก”

ทิศตะวันตก “หมี” (ฐานหัว สมองซีกซ้าย ธาตุดิน)

จุดแข็ง เจ้าหลักการ ยึดตรรกะ เหตุผล เก็บข้อมูล ลงรายละเอียด รอบคอบ มั่นคง รับผิดชอบ มุ่งเป้าหมาย คิดเป็นระบบและเป็นขั้นตอน รักษากฎ

จุดอ่อน ไม่ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนยาก เคร่งเครียด จู้จี้ ตัดสินวิพากษ์วิจารณ์ เก็บตัว เงียบๆ มีพื้นที่ส่วนตัว ไม่ริเริ่มปฏิสัมพันธ์ เย็นชา ตัดสินใจช้า กลัวผิดพลาด “ทุกทางออกมีปัญหา”

  1. ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมแต่ละคนได้ใคร่ครวญตนเองผ่านเส้นทางชีวิตว่าตนเองมีความคล้ายกับ บุคลิกภาพแบบใด ดูว่าทิศใดเป็นทิศหลักที่ตนแสดงออกมากที่สุด จากนั้นให้แบ่งกลุ่มย่อยตามบุคลิกภาพหลัก นั้นๆ
  2. ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้บอกเล่าประสบการณ์ตนเองในมุมมองของบุคลิกภาพนั้นๆ (กระทิง หนู หมี หรือเหยี่ยว) ให้เพื่อนร่วมกลุ่มรับฟัง แล้วให้เพื่อนๆในกลุ่มได้พูดจนครบทําเช่นนี้ในทุกกลุ่มบุคลิกภาพ โดย มีโจทย์คือ ประสบการณ์ด้านบวกที่เราภูมิใจหรือรู้สึกดีเกี่ยวกับทิศที่สะท้อนความเป็นตัวเรา สถานการณ์ ปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้อื่นจากคุณลักษณะของทิศที่เราเป็น สิ่งที่เราอยากจะพัฒนาในตนเองเพื่อการเติบโต
  3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนเข้าวงใหญ่ กระบวนกรทําการสัมภาษณ์กลุ่ม (Peer Interview) ของแต่ ละบุคลิกภาพ เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้บุคลิกภาพเชิงลึกของกันและกัน
สื่อการสอน :
  1. กระดาษฟลิปชาร์ท
  2. ปากกา หรือดินสอ
  3. สีไม้ หรือสีชอล์ค
  4. สไลด์หรือเอกสารประกอบการสอนรายละเอียดของบุคลิกภาพ 4 แบบ ได้แก่ กระทิง หนู อินทรียและหมี
 

กิจกรรม กงล้อ 4 ทิศ

จุดประสงค์ :

  1. เพื่อใฟ้ผู้เข้ารับการอบรมได้รู้จักตนเองและเข้าใจตัวเองมากยิ่งขึ้น
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้ที่จะเข้าใจคนรอบข้างและลดการตัดสินลง จนสามารถอยู่ร่วมและทำงานกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

ระยะเวลาการฝึกอบรม : 3 ชั่วโมง

รายละเอียดสําหรับกระบวนกร :

  1. กระบวนกรทําบทบาทสมมติให้เห็นบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน 4 แบบ ได้แก่ กระทิง หนู หมี และ เหยี่ยว จากนั้นบรรยายสั้นๆให้เห็นถึงคุณลักษณะของบุคลิกภาพแต่ละแบบเหล่านั้น โดยมีรายละเอียด คือ

ทิศเหนือ “กระทิง” (ฐานกาย ธาตุไฟ)

จุดแข็ง ตรงไปตรงมา กล้าหาญ ตัดสินใจเร็ว ลงมือกระทํา รักความ ยุติธรรม ลงมือกระทํา รักความยุติธรรม ปกป้องดูแล ควบคุมจัดการ เต็มที่สุดๆ เข้มแข็ง รักศักดิ์ศรี

จุดอ่อน ใจ ร้อน มุทะลุ เอาตัวเองเป็นใหญ่ ดูก้าวร้าว โกรธง่าย ซื่อๆ ขวานผ่าซาก แก้แค้น ทําก่อนคิด ไม่สนใจรายละเอียด “ฆ่าได้ หยามไม่ได้” “เป้าหมายมีไว้พุ่งชน

ทิศใต้ “หนู” (ฐานใจ ธาตุน้ำ)

จุดแข็ง เป็นห่วงใส่ใจผู้อื่น ชอบช่วยเหลือ รู้ใจเอาใจ ประนีประนอม ประสานไมตรี เกรงใจ น่ารัก ชอบสนับสนุน ไว้วางใจ รับฟัง

จุดอ่อน ไม่กล้าปฏิเสธ ลังเล ตัดสินใจยาก เก็บกด ไม่กล้าแตกหัก ไม่บอกความต้องการ ผัดผ่อนงานตัวเอง จัดลําดับไม่ถูก มองข้ามตัวเอง กลัวเพื่อนไม่รัก “ไม่เป็นไร ยังไงก็ได้ แล้วแต่เธอ”

ทิศตะวันออก “อินทรี” (ฐานหัว สมองซีกขวา ธาตุลม)

จุดแข็ง ช่างจินตนาการ มีวิสัยทัศน์ คิดเชื่อมโยง ช่างวางแผน ชอบเรียนรู้ มี ประสบการณ์กับสิ่งแปลกใหม่ มองโลกแง่ดี สนุกสนานร่าเริง ทดลองสิ่งใหม่ๆ สร้างสรรค์

จุดอ่อน ขี้เบื่อ แรกๆ มีพลังช่วงหลังหมดไฟ เพื่อนตามความคิดไม่ทัน ชอบใช้เหตุผลเอาชนะ สมาธิสั้น ไม่จดจ่อต่อเนื่อง ไม่ชอบตาม กฎ กลัวถูกจํากัด “ทุกปัญหามีทางออก”

ทิศตะวันตก “หมี” (ฐานหัว สมองซีกซ้าย ธาตุดิน)

จุดแข็ง เจ้าหลักการ ยึดตรรกะ เหตุผล เก็บข้อมูล ลงรายละเอียด รอบคอบ มั่นคง รับผิดชอบ มุ่งเป้าหมาย คิดเป็นระบบและเป็นขั้นตอน รักษากฎ

จุดอ่อน ไม่ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนยาก เคร่งเครียด จู้จี้ ตัดสินวิพากษ์วิจารณ์ เก็บตัว เงียบๆ มีพื้นที่ส่วนตัว ไม่ริเริ่มปฏิสัมพันธ์ เย็นชา ตัดสินใจช้า กลัวผิดพลาด “ทุกทางออกมีปัญหา”

  1. ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมแต่ละคนได้ใคร่ครวญตนเองผ่านเส้นทางชีวิตว่าตนเองมีความคล้ายกับ บุคลิกภาพแบบใด ดูว่าทิศใดเป็นทิศหลักที่ตนแสดงออกมากที่สุด จากนั้นให้แบ่งกลุ่มย่อยตามบุคลิกภาพหลัก นั้นๆ
  2. ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้บอกเล่าประสบการณ์ตนเองในมุมมองของบุคลิกภาพนั้นๆ (กระทิง หนู หมี หรือเหยี่ยว) ให้เพื่อนร่วมกลุ่มรับฟัง แล้วให้เพื่อนๆในกลุ่มได้พูดจนครบทําเช่นนี้ในทุกกลุ่มบุคลิกภาพ โดย มีโจทย์คือ ประสบการณ์ด้านบวกที่เราภูมิใจหรือรู้สึกดีเกี่ยวกับทิศที่สะท้อนความเป็นตัวเรา สถานการณ์ ปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้อื่นจากคุณลักษณะของทิศที่เราเป็น สิ่งที่เราอยากจะพัฒนาในตนเองเพื่อการเติบโต
  3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนเข้าวงใหญ่ กระบวนกรทําการสัมภาษณ์กลุ่ม (Peer Interview) ของแต่ ละบุคลิกภาพ เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้บุคลิกภาพเชิงลึกของกันและกัน

สื่อการสอน :

  1. กระดาษฟลิปชาร์ท
  2. ปากกา หรือดินสอ
  3. สีไม้ หรือสีชอล์ค
  4. สไลด์หรือเอกสารประกอบการสอนรายละเอียดของบุคลิกภาพ 4 แบบ ได้แก่ กระทิง หนู อินทรียและหมี


กิจกรรม จับคู่นวด

จุดประสงค์ :

เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมรู้สึกผ่อนคลายจากการนวด เกิดความเอื้ออาทรต่อกัน และสามารถดูแล ร่างกายตนเองและเพื่อนร่วมงานได้ในขณะที่อยู่ในสภาวะตึงเครียด

ระยะเวลาการฝึกอบรม : 1 ชั่วโมง
รายละเอียดสําหรับกระบวนกร :
  1. กระบวนกรให้ผู้เข้ารับการฝึกอบบรมหาพื้นที่ว่างสําหรับนั่งสมาธิ ไม่ควรอยู่ใกล้ชิดกับคนอื่นมาก เกินไป เมื่อทุกคนหาที่นั่งได้เรียบร้อยแล้ว กระบวนกรจึงเริ่มกล่าวถึงประโยชน์ของการนวดผ่อนคลาย เข้าสู่ การทําสมาธิ และกําหนดลมหายใจโดยการเคลื่อนความรู้สึกไปยังจุดต่างๆ ของร่างกาย
  2. ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมนั่งสมาธิประมาณ 10 นาที จากนั้นให้ลืมตาขึ้น
  3. เริ่มต้นกิจกรรมการนวดตนเอง โดยมีวิธีการคือ ใช้ 2 มือนวดบริเวณต่างๆ เช่น นวดหน้าผาก ขอบ คิ้ว ขอบเบ้าดวงตา ขมับ กลางศีรษะ ใบหู ร่องข้างจมูก ร่องระหว่างจมูกกับริมฝีปาก ร่องระหว่างริมฝีปากกับ คาง ท้ายทอย คอด้านหลัง บ่าไหล่ แขนซ้าย แขนขวา มือซ้าย มือขวา นิ้วทั้ง 10 นิ้ว ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดเป็น การนวดเพื่อกระตุ้นประสาททําให้เลือดไหลเวียน
  4. กระบวนกรให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจับคู่กัน เพื่อสลับกันนวดให้ผู้อื่น โดยการใช้ 2 มือนวดบริเวณ ต่างๆ เช่น นวดบ่า ไหล่ แขน หัว และหู เน้นที่การสร้างสัมผัสที่ดี อ่อนโยน อบอุ่น ถือเป็นการมอบความ ปรารถนาดีให้แก่เพื่อน
  5. หลังจากที่ทุกคนสลับกันนวดจนครบแล้ว ให้ทุกคนเข้านั่งล้อมวงเป็นวงใหญ่ แบ่งปันประสบการณ์ และความรู้สึกของตนเองที่เป็นผู้นวด และผู้ที่ถูกนวด สรุปกิจกรรม
สื่อการสอน :

เสื่อ หรือผ้าปูพื้นหรือเก้าอี้นั่ง

กิจกรรม ปิดตาพาเดิน

จุดประสงค์ :

เพื่อฝึกผู้เข้ารับการฝึกอบรมในเรื่องความไว้วางใจและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น

ระยะเวลาการฝึกอบรม : 1 ชั่วโมง
รายละเอียดสําหรับกระบวนกร :
  1. ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมออกไปนอกห้องฝึกอบรม แล้วให้จับคู่กัน โดยให้คนหนึ่งปิดตา ส่วนอีกคน หนึ่งลืมตา และให้มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายทั้งคู่ต้องติดกันตลอด
  2. กระบวนกรเอาป้ายชื่อของคนที่ถูกปิดตาออกก่อน และนําป้ายชื่อไปซ่อนในส่วนต่างๆ ของห้อง กระบวนกรจะจัดห้องให้เดินลําบาก มีอุปสรรคเป็นสิ่งของต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ แก้วน้ํา ขวดน้ํา ดินสอ ปากกาวางไว้ระเกะระกะ
  3. จากนั้นให้ผู้ที่ลืมตาพาคู่ของตนที่ปิดตา พาเดินเข้าห้องฝึกอบรม เพื่อตามหาป้ายชื่อให้เจอ โดยใน ระหว่างการตามหาป้ายชื่อนั้น ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายทั้งคู่ต้องติดกันตลอด แต่ถ้าในระหว่างการตามหา ป้ายชื่อ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายของทั้งคู่โดนสิ่งของที่วางไว้ ถือว่าต้องออกไปเริ่มต้นที่จุดเริ่มต้นใหม่ กระบวนกรจับเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งทุกคู่หาป้ายชื่อได้ครบ
  4. เมื่อทุกคู่เจอป้ายชื่อแล้ว ให้ออกจากห้องฝึกอบรม ให้ไปที่จุดเริ่มต้นใหม่ (นอกห้อง) และให้มีการ ประชุมเพื่อหาวิธีใหม่ในการทํางาน โดยมีการตั้งเป้าหมายเวลาให้น้อยลง
  5. ให้ผู้เล่นสลับบทบาทกันกับคู่ของตน โดยให้คนที่ลืมตาในรอบแรกปิดตา ส่วนคนที่ปิดตาในรอบแรก จะลืมตาในรอบนี้ เพื่อนําเพื่อนที่ปิดตาไปเดินหาป้ายชื่อ
  6. ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมานั่งล้อมวง เพื่อร่วมกันแบ่งปันความรู้สึกตอนถูกปิดตา ตอนเป็นผู้เปิดตา แบ่งปันประสบการณ์และข้อคิดที่ได้จากกิจกรรม และกระบวนกรสรุปข้อคิดที่ได้จากผู้เข้ารับการฝึกอบรม เช่น เรื่องความไว้วางใจ การเชื่อมโยงกับตนเองและคนรอบข้าง และการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น การทํางาน ร่วมกันเป็นทีม
สื่อการสอน :
  1. ผ้าปิดตา
  2. สิ่งของที่จะใช้เป็นอุปสรรค เช่น โต๊ะ เก้าอี้ แก้วน้ํา ขวดน้ํา ดินสอ ปากกา
  3. สิ่งของที่ใช้เป็นเป้าหมายในการหา เช่น ป้ายชื่อ

กิจกรรม ฉีกช้าง

จุดประสงค์ :

เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมฝึกการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น และการทํางานร่วมกันกับผู้อื่น

ระยะเวลาการฝึกอบรม : 30 นาที
รายละเอียดสําหรับกระบวนกร :
  1. แบ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็น 2 กลุ่ม โดยการนับเลข 1 และเลข 2 และให้เข้าแถวตอนตาม หมายเลขที่ตนเองได้นับ
  2. กระบวนกรแจกกระดาษฟลิปชาร์ทให้กลุ่มละ 1 แผ่น โดยให้แต่ละกลุ่มฉีกกระดาษเป็นรูปช้าง (ให้ เหมือนช้างจริงมากที่สุด) โดยเริ่มฉีกจากคนแรก (จากหัวแถวไปปลายแถว) ภายในเวลาประมาณ 2 นาที โดยให้แต่ละคนฉีกได้คนละ 1 ครั้งเท่านั้น และห้ามพูดกัน เมื่อเสร็จแล้ว ให้คนสุดท้ายนําภาพช้างมานําเสนอที่หน้า
  3. กระบวนกรแจกกระดาษฟลิปชาร์ทให้กลุ่มละ 1 แผ่น โดยให้แต่ละกลุ่มฉีกกระดาษเป็นรูปช้างแต่ อนุญาตให้สามารถพูดคุยปรึกษากันได้ภายในกลุ่ม ให้เวลากลุ่มละประมาณ 2 นาที จากนั้นให้เริ่มฉีกกระดาษ ภายในเวลาประมาณ 2 นาที เมื่อเสร็จแล้ว ให้คนสุดท้ายนําภาพช้างมานําเสนอที่หน้าห้อง
  4. ให้แต่ละกลุ่มประชุมระดมสมองสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมนี้
สื่อการสอน :

กระดาษฟลิปชาร์ท

กิจกรรม แก้เชือก

จุดประสงค์ :

เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมฝึกการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น และการทํางานร่วมกันกับผู้อื่น

ระยะเวลาการฝึกอบรม : 1 ชั่วโมง
รายละเอียดสําหรับกระบวนกร :
  1. ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจับคู่กับ แจกเชือกฟางยาว 3 ฟุต คนละเส้น ให้มัดปลายเชือกกับข้อมือ ทั้ง 2 ข้าง แต่ให้เชือกของทั้งคู่คล้องกันไว้
  2. กระบวนกรให้แต่ละคู่หาทางทําให้เชือกหลุดออกจากกัน แต่ยังมัดปลายข้อมือทั้ง 2 ข้างไว้ โดยห้ามตัด ห้ามคลายปมเชือก
  3. เมื่อมีคู่หนึ่งคู่ใดแก้เชือกได้แล้ว ให้คู่นั้นแบ่งปันวิธีให้คู่อื่นๆ จนทุกคนสามารถทําได้
  4. ให้แต่ละคู่ระดมสมองสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมนี้
สื่อการสอน :

เชือกฟาง

กิจกรรม ขอบคุณจากใจ

จุดประสงค์ :

เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมฝึกการสร้างความรู้สึกทางบวกในที่ทํางาน ด้วยการขอบคุณกันและกัน

ระยะเวลาการฝึกอบรม : 1 ชั่วโมง
รายละเอียดสําหรับกระบวนกร :
  1. กระบวนกรพูดถึงความสําคัญของการขอบคุณและการชื่นชมกันและกันในที่ทํางาน ว่าจะสามารถ สร้างความรู้สึกทางบวกให้กับคนทํางาน และสร้างสถานที่ทํางานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขได้
  2. ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมลุกขึ้น เดินไปจับคู่กับใครสักคนหนึ่ง ผลัดกันพูดขอบคุณหรือชื่นชมเรื่องอะไรก็ได้ในชีวิตของเรา
  3. ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเดินไปจับคู่ใหม่ ผลัดกันพูดขอบคุณหรือชื่นชมคนใกล้ตัวเรา
  4. เปลี่ยนคู่ใหม่อีกครั้ง ให้กล่าวชื่นชมตัวเองอย่างจริงใจ
  5. กลับมานั่งที่ของตัวเอง กระบวนกรถามคําถามเพื่อการไตร่ตรอง ว่ารู้สึกอย่างไรกับการพูดและได้ ยินคําขอบคุณและชื่นชมบ้าง และเราจะสร้างวัฒนธรรมการขอบคุณกันและกันในที่ทํางานได้อย่างไรบ้าง
  6. กระบวนกรแนะนําเครื่องมือ “ต้นไม้แห่งการขอบคุณ” ที่สามารถนําไปใช้ได้ในองค์การ โดยมีภาพ ต้นไม้ แล้วให้คนแต่ละคนสามารถเขียนคําขอบคุณหรือชื่นชมไปติดไว้บนต้นไม้ได้ อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้งหรือตามความสะดวก
 

กิจกรรม เฉลิมฉลองความสําเร็จ

จุดประสงค์ :

เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมฝึกการสร้างความรู้สึกทางบวกในที่ทํางาน เกิดแรงบันดาลใจในการทํางาน

ระยะเวลาการฝึกอบรม : 30 นาที
รายละเอียดสําหรับกระบวนกร :
  1. กระบวนกรพูดถึงความสําคัญของการเฉลิมฉลองความสําเร็จในการทํางาน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเล็กน้อย หรือสิ่งใหญ่ๆ ว่าจะสามารถสร้างความรู้สึกทางบวกให้กับคนทํางาน การเฉลิมฉลองความสําเร็จร่วมกันจะช่วย ให้คนทํางานรับรู้ว่าตนทําในสิ่งที่มีคุณค่าและมีความหมาย และมีคนรับรู้และชื่นชมความสําเร็จนี้ร่วมกัน เป็น การสร้างแรงบันดาลใจในการทํางานร่วมกับผู้อื่น
  2. หากผู้เข้ารับการฝึกอบรมมาจากองค์กรเดียวกัน ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมยืนเรียงกันตามลําดับตาม อายุงาน กระบวนกรจัดกลุ่มให้แต่ละช่วงอายุงาน โดยแบ่งเป็นหกกลุ่มอายุงาน (หากผู้เข้ารับการฝึกอบรมมา จากองค์กรที่ต่างกัน ให้ข้ามขั้นตอนนี้ไป)
  3. ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมคิดถึงความสําเร็จที่แต่ละคนได้ทําให้กับองค์กรในช่วงเวลาที่ตนเข้ามา ทํางาน เขียนแต่ละหนึ่งความสําเร็จลงในกระดาษ A4 หนึ่งใบ
  4. แบ่งปันความสําเร็จที่ตนได้ทําในกลุ่มย่อย กระบวนกรเสนอให้ตบมือชื่นชมกันและกันเมื่อแต่ละคน แบ่งปันเสร็จ
  5. ในกลุ่มใหญ่ ให้ทํา Timeline ขององค์กร แล้วแต่ละคนแปะกระดาษ A4 ความสําเร็จของตนเองลง ใน Timeline ขององค์กร ตามช่วงเวลาต่าง ๆ (หากผู้เข้ารับการฝึกอบรมมาจากหน่วยงานที่องค์กรต่างกัน ให้ ข้ามขั้นตอนนี้ไป)
  6. ให้แต่ละคนได้พูดสรุปความสําเร็จของตัวเองที่ได้ทําให้องค์กร เรียงไปตาม Timeline ขององค์กร (หากผู้เข้ารับการฝึกอบรมมาจากหน่วยงานที่องค์กรต่างกัน ให้ข้ามขั้นตอนนี้ไป)
  7. กระบวนกรถามกลุ่มใหญ่ว่า รู้สึกอย่างไรเมื่อได้คิดถึงความสําเร็จของตนเอง และได้ยินความสําเร็จ ของเพื่อนๆ ที่ทําให้ต่อองค์กร
  8. กระบวนกรนําเสนอวิธีการเฉลิมฉลองความสําเร็จในแต่ละวัน โดยในขณะทําการประชุมเมื่อ เริ่มต้นการทํางานในแต่ละวัน หรือก่อนเลิกงานในแต่ละวัน ให้แต่ละคนได้คิดถึงความสําเร็จอะไรก็ได้ในงานที่ ได้ทําในวันนี้ 3 อย่าง ไม่ว่าจะเล็กน้อยอย่างไรก็ตาม เช่น สามารถตอบอีเมล์ได้ทั้งหมด สามารถบริการลูกค้าได้ เป็นที่น่าพอใจ และแบ่งปันให้เพื่อนร่วมงานฟัง เพื่อเป็นการสร้างความรู้สึกทางบวก สร้างการเห็นคุณค่าของ กันและกัน และสร้างแรงบันดาลใจในการทํางานร่วมกัน

เรื่องเล่าเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสําคัญของเพื่อนร่วมงานที่มีปัญหา ตัวอย่างเรื่องเล่าเด็กคนที่ 20

อาจารย์ซูฟี่มีลูกศิษย์ 20 คน แต่มี 1 คนที่เป็นคนที่สร้างปัญหาให้กับคนอื่น เป็นตัวป่วน ทุกคนไม่ชอบ วันหนึ่งอาจารย์ไปต่างเมืองหนึ่งอาทิตย์ เด็กทั้ง 19 คน ก็ดีใจ พร้อมใจกันกําจัดเด็กคนที่ 20 ออกไป เมื่อ อาจารย์กลับมา ถามหาเด็กคนที่ 20 เด็กคนอื่นๆ ก็บอกว่า “อาจารย์ ต่อไปนี้เราสบายแล้ว เรากําจัดเด็กตัว ป่วนนั่นไปแล้ว” อาจารย์ไม่กล่าวอะไรสักคํา แต่ออกไปตามหาเด็กคนนั้นกลับมา แล้วบอกทุกคนว่า “ถ้าเราไม่ มีเขา ใครจะช่วยให้เราฝึกความอดทนและการฟื้นคืนกลับ (Resilient: RQ) เล่า ถ้าเราไม่มีเขา ใครจะช่วยให้ เราฝึกความเมตตา การให้อภัย และใครจะช่วยให้เราเติบโตเล่า”

ดังนั้นแล้ว ในที่ทํางานของเราหากมีคนที่เราไม่ชอบ ไม่พอใจ ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าหรือลูกน้องเรา คน เหล่านี้จะเป็นผู้ที่ช่วยให้เราได้ฝึกฝนตนเอง และได้พัฒนาตนเองในด้านต่างๆ