การฝึกปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในตนเอง

การฝึกปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในตนเอง

การรับมือกับอารมณ์เชิงลบ

เราสามารถอาศัยทักษะความฉลาดทางอารมณ์เพื่อรับมือเบื้องต้นกับอารมณ์เชิงลบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อารมณ์โกรธ หรืออารมณ์อิจฉาได้ เพื่อทําให้มันสงบตัวลงจนไม่รบกวนเราจนเกินไป

  • เมื่อรู้ตัวว่าเกิดอารมณ์เชิงลบขึ้น ให้ถ่วงเวลาหรือหันเหความ สนใจออกไปชั่วคราว เช่น นับหนึ่งถึงสิบ นําความใส่ใจมาอยู่ กับลมหายใจ หรือหันไประลึกถึงสิ่งที่ทําให้เราสบายใจและ มั่นคง เช่น ธรรมชาติ หรือสิ่งดีงามที่เคารพ

  • ลองพิจารณาสถานการณ์ของอารมณ์นั้นด้วยมุมมองอื่น ๆ เช่น พิจารณาตามข้อเท็จจริง มองดูด้วยสายตาของคนอื่น ถอยห่าง ออกมาเพื่อให้เห็นภาพรวม หรือมองหาสารประโยชน์จาก เหตุการณ์นั้น
  • ลดโอกาสของการปะทะกับอารมณ์นั้นให้เหลือน้อยที่สุด เช่น จํากัดเวลาที่ต้องพบกับบุคคลที่เป็นต้นเหตุ เลือกเวลาและ สถานที่ที่เหมาะสมหากต้องพบ ตั้งประเด็นการสนทนาและ จังหวะเวลาที่เราสามารถควบคุมได้
  • ฝึกการอ่านภาษากาย เช่น การเท้าสะเอว กอดอก พูดตั้งและ เร็ว กําหมัด จ้องตา เวลาโกรธ หรือการยิ้ม ปล่อยแขนขาตาม สบาย สายตาผ่อนคลาย สบตานาน เวลามีความสุข หรือการ อยู่ไม่นิ่ง หายใจเร็ว เวลาว้าวุ่นใจ หรือการห่อตัว ตามองต่ํา มุมปากตก เวลาเศร้า หรือการยิ้มเสแสร้ง หันหน้าหนี ไม่ สบตา หน้าแดง เวลาอาย เป็นต้น
  • ฝึกกลับมาสร้างความชัดเจนในตนเอง พิจารณาว่าความรู้สึก และความต้องการที่แท้จริงของเราในตอนนั้นคืออะไร

การจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกภายในตนเอง

ในการเรียนรู้ทักษะทางอารมณ์และสังคม (Social and emotional teaming) เราสามารถกลับมาดูแลและจัดการอารมณ์ความรู้สึกที่รุนแรงและรับมือได้ยาก เพื่อนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงและเติบโตทางจิตวิญญาณ ได้ โดยปฏิบัติตามขั้นตอนทั้ง 5 ขั้น ดังต่อไปนี้

  1. ช้าลงและหยุด: เมื่อรู้ตัวว่าอารมณ์ที่รุนแรงเริ่มก่อตัวขึ้น อย่าปล่อยให้ตัวเองถูกดึงดูดและตอบสนองออกไปตามกลไกอัตโนมัติ สิ่งแรกที่ ต้องทําคือการช้าลงและหยุด หยุดการตอบโต้ใด ๆ กลับมาอยู่กับลมหายใจ เข้าออกลึก ๆ ยาว ๆ สักสามรอบ หรืออาจใช้วิธีนั่งนิ่ง ๆ กับตัวเอง หรือ ออกไปเดินชมธรรมชาติสักพัก การช้าลงเป็นการตั้งสติและสร้างพื้นที่ว่าง ในใจให้เกิดขึ้น เพื่อให้เราสามารถค่อย ๆ ใคร่ครวญและพิจารณาเลือก หนทางที่เหมาะสมกว่าต่อไปได้
  1. มองกลับเข้ามาในใจตัวเองให้ลึก ๆ: พอเราหยุด เราจะมีเวลา พอที่จะมองกลับเข้ามายังตัวเอง มองให้เห็นธรรมชาติของตัวอารมณ์ ความรู้สึกที่กําลังก่อตัว พร้อม ๆ กับความรู้สึกส่วนกาย (เช่น ความตึงเกร็ง ของร่างกายบางส่วน ลมหายใจ การเต้นของหัวใจ ฯลฯ) ขอให้มองสภาวะ อารมณ์ของเราให้ถ้วนถี่ ไม่ด่วนสรุป ดํารงอยู่กับการสังเกตกายและใจของ เราในขณะนั้น
  1. ทําความเข้าใจ: หลังจากที่เห็นธรรมชาติของอารมณ์ของเราว่า คืออะไรและเป็นอย่างไรแล้ว ให้ลองพิจารณาดูว่า ต้นตอหรือที่มาที่ทําให้ อารมณ์นี้ก่อตัวขึ้นในใจเรา อันเป็นบางสิ่งบางอย่างที่มาจากตัวเราเองนั้น คืออะไร (โดยไม่รีบโยนใส่ว่ามันเป็นเพราะคนอื่นหรือสิ่งอื่นนอกตัว) มัน อาจจะเป็นรูปแบบความคิดยึดติดในใจเรา ที่มาในวัยเด็ก ภูมิหลังทางครอบครัว ประวัติชีวิตของตัวเรา ฯลฯ ขอให้ค่อยทําความเข้าใจถึงกระบวนการภายในอันเป็นที่มาของการเกิดขึ้นของอารมณ์นี้ ก็จะทําให้เราเริ่มเห็นวิธีที่ เรามักใช้ตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้น
  1. โอบกอดไว้: เมื่อเราเริ่มเห็นที่มาที่ไปของอารมณ์นี้ภายในตัวเรา เองได้แล้ว ก็ขอให้เราเผชิญหน้ากับสิ่งนี้และโอบกอดมันไว้ในใจเรา ไม่ผลักไส ปฏิเสธ หรือเก็บกดมัน ขอให้เราต้อนรับอารมณ์นี้ของเราแม้มันจะเจ็บปวด ปฏิบัติต่อมันเหมือนกับมารดาที่ปฏิบัติต่อลูกน้อยที่กําลังร้องไห้และทุกข์ ทรมานอยู่ ด้วยการโอบอุ้มลูกน้อยนั้นไว้ในอ้อมแขน เมื่อเราสามารถ โอบกอดและอยู่กับอารมณ์ที่ยากลําบากของเราได้ ใจเราจะเริ่มอ่อนโยน และเปิดรับ และนั่นคือโอกาสที่เราจะรับรู้และเชื่อมโยงกับมุมมองใหม่ ๆ ในสถานการณ์นั้นได้
  1. ทําการเปลี่ยนแปลง: การโอบกอดอารมณ์ที่ยากลําาบากของ เราได้คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง เพราะใจเราจะเริ่มคลายตัวออก จากความเชื่อ การยึดติด และเงื่อนไขแบบเดิม ที่สําคัญคือเป็นโอกาสที่ทํา ให้เรามองเห็นความหมายและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของสถานการณ์นั้น นํามาซึ่งทางเลือกและวิธีการกระทําแบบใหม่ที่เหมาะสมมากกว่า และนี่คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คือแปรเปลี่ยนอารมณ์เดิมที่เคยเป็นความทุกข์ ความยากลําบาก ให้กลายเป็นความกรุณาและความปกติในใจได้นั่นเอง อีกแง่หนึ่ง ในโอกาสต่อไป เมื่อเราเข้าใจแล้วว่า อะไรที่มีผลกระตุ้นต้นเหตุ อันเป็นที่มาของอารมณ์ลบนั้นในใจเรา เราจะสามารถเลือกการจัดการตัวเองที่ดีกว่าเดิม โดยไม่เปิดโอกาสให้ต้นเหตุนั้นถูกกระตุ้นอยู่เรื่อย ๆ จน เป็นผลให้อารมณ์ลบนั้นงอกงามเติบใหญ่จนกลายเป็นนิสัยที่ติดแน่นในใจ

การฝึกปฏิบัติในเรื่องนี้ เป็นการเรียนรู้ระยะยาว เพราะชีวิตของเรา ล้วนมีประเด็นที่เป็นความทุกข์ให้ต้องทํางานภายในและก้าวข้ามอยู่เสมอซึ่งนี่ก็คือวิถีการเดินทางทางจิตวิญญาณที่สืบเนื่องยาวนานตลอดชีวิตนั่นเอง

ขอบคุณที่มา

หนังสือ สู่ศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ คู่มือการจัดกระบวนการพัฒนาจิตวิญญาณ
รศ.ดร.รัตติกรณ์ จงวิศาล ผศ.ดร.สมสิทธิ์ อัสดรนิธี ดร.ไพรินทร์ โชติสกุลรัตน์ บาทหลวงวิชัย โภคทวี