การฝึกปฏิบัติเพื่อดํารงอยู่ร่วม
อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยง

การฝึกปฏิบัติเพื่อดํารงอยู่ร่วมอย่างสัมพันธ์เชื่อมโยง

การตระหนักรู้ทางอายตนะทั้งหก

อายตนะทั้งหก คือประตูของเราที่ใช้รับรู้และเชื่อมต่อกับโลกภายนอก ประกอบด้วย ตา หู จมูก ช่องปาก ผิวกาย และจิตใจ การฝึกการตระหนักรู้ทางอายตนะทั้งหกเป็นการฝึกให้ตนเองอยู่กับปัจจุบัน อยู่กับสิ่งรอบตัว และรับรู้สิ่งที่อยู่ตรงหน้า นํามาสู่ศักยภาพในการเชื่อมโยงกับตัวเองได้มากขึ้น

  • นําตัวเองออกไปอยู่ในสถานที่ที่รู้สึกชอบหรือสบายใจ โดยไปแต่ตัวพร้อมปากกากับสมุดจด ไม่ต้องนําสัมภาระอื่น ๆ ติดตัวไปด้วย เมื่อพบแล้วขอให้นั่งลงอยู่ตรงนั้นโดยไม่เปลี่ยนที่อีก ตลอดการฝึกปฏิบัติ (ประมาณ 30 นาที) เริ่มต้นจากการผ่อน คลายและปล่อยวางเรื่องราวต่าง ๆ ในใจลง กลับมาใส่ใจรับรู้สิ่ง ต่างๆ ที่อยู่รอบตัว โดยจะทําผ่านทางอายตนะที่ละอายตนะ (อายตนะละประมาณ 5 นาที)
  • เริ่มจากอายตนะ “ตา” เปิดการรับรู้ทางการมองเห็น ลองดูว่า เราเห็นอะไรบ้างในขณะนั้น เปิดรับทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาทางช่องทางตาของเรา ทั้งแสง สี รูปร่าง หรือการเคลื่อนไหวไปมาของสิ่งต่าง ๆ เปิดการรับรู้ให้ได้มากที่สุด ตั้งแต่สิ่งที่เล็กที่สุด ไปถึงสิ่งที่ใหญ่ที่สุด สิ่งที่ใกล้ที่สุดไปถึงสิ่งที่ไกลที่สุด กระทําอย่างผ่อนคลาย ไม่จดจ้องหรือเคร่งเครียด โดยใช้เวลาอยู่กับการรับรู้ทางช่องทางนี้ประมาณ 5 นาที จากนั้นลองจดบันทึกเกี่ยวกับประสบการณ์การเห็นของเรา
  • ถัดมาให้เคลื่อนการรับรู้มาที่อายตนะ “หู” เปิดการรับรู้ ทางการได้ยินอย่างเต็มที่ ฟังเสียงทุกเสียงให้ได้มากที่สุด ตั้งแต่ เสียงที่ดังที่สุดไปถึงเสียงที่เบาที่สุด เสียงที่อยู่ใกล้ที่สุดไปถึง เสียงที่อยู่ไกลที่สุด กระทําอย่างผ่อนคลายและเพื่อช่วยให้เกิด ความจดจ่อ อาจหลับตาลงขณะทํา ใช้เวลาอยู่กับการรับรู้ทางช่องทางนี้ประมาณ 5 นาที แล้วจดบันทึกประสบการณ์ ก่อนที่จะเปลี่ยนไปยังอายตนะอื่นต่อไป
  • เคลื่อนการรับรู้ไปที่อายตนะอื่นๆ ไปตามลําดับ ได้แก่ “จมูก” (รับรู้กลิ่นต่าง ๆ) “ช่องปาก” (รับรู้รสชาติ ผิวสัมผัส และ ความรู้สึกต่างๆ ในช่องปาก อนึ่ง อาจใช้ลูกอมหรือผลไม้เป็นตัวช่วยสําหรับอายตนะนี้) “ผิวกาย” รับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ บน ผิวหนังและในร่างกาย) และ “จิตใจ” (รับรู้ความรู้สึกนึกคิดที่ เกิดขึ้นอยู่ในใจ) ทั้งนี้ ให้ใช้เวลาประมาณ 5 นาทีสําหรับแต่ละ อายตนะ (รวมการจดบันทึกด้วย) สิ่งที่สําคัญในการฝึกนี้คือ การดํารงอยู่กับการรับรู้ในปัจจุบันขณะของแต่ละช่องทาง ที่มี ความปลอดโปร่ง ชัดใส และผ่อนคลาย ไม่ใช่การเก็บข้อมูลหรือ ต้องจดจําสิ่งต่าง ๆ เพื่อมาเขียนบันทึก และขณะที่ฝึกปฏิบัติ ขอให้ไม่ทําอะไรอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น การสนทนาพูดคุย การรับโทรศัพท์ ฯลฯ

การฟังอย่างลึกซึ้ง

คุณภาพการฟังของคนคนหนึ่ง บ่งบอกถึงระดับของจิตสํานึกของคนคนนั้น เพราะการฟังมีผลต่อการตระหนักรู้ว่าจะลงลึกไปได้แค่ไหน อีกนัยหนึ่ง ระดับของการตระหนักรู้นั้นเป็นผลมาจากท่าทีของการให้ความใส่ใจ การสนทนากับผู้อื่น และการจัดการจัดระบบระเบียบในวงกว้างของเรา อาจกล่าวได้ว่า ที่เราเห็นและเข้าใจโลกรอบตัวเราอย่างไร ก็ขึ้นกับระดับของการใส่ใจหรือคุณภาพการฟังของตัวเรานั่นเอง

ตามแนวคิดของสุนทรียสนทนา (Dialogue) ของเดวิด โบห์ม และ ทฤษฎีตัวยู (Theory U) ของออตโต ชาร์เมอร์ การฟังของคนเราเป็นไปได้ 4 ระดับ ซึ่งก็คือความลึกซึ้งของการตระหนักรู้ของคนคนนั้น 4 ระดับการ ฟังนั้น ได้แก่

(1) การฟังแบบดาวน์โหลด เน้นรับรู้ตามประสบการณ์และความคุ้นเคยเพิ่ม

(2) การฟังแบบข้อเท็จจริง เน้นรับรู้ตามข้อมูลข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์

(3) การฟังแบบเข้าอกเข้าใจ เน้นรับรู้ตามมุมมองความรู้สึกของกันและกัน และ

(4) การฟังแบบสรรค์สร้าง เน้นรับรู้แบบดํารงอยู่ร่วมกันในปัจจุบันขณะ

จะเห็นได้ว่า ระดับการตระหนักรู้หรือวิธีการให้ความใส่ใจของตัวเราจะเป็นตัวบอกว่า ความเป็นจริงของโลกรอบตัวที่เราเห็นเป็นอย่างไร หากระดับการตระหนักรู้ของเรามีจํากัด การเข้าถึงความเป็นจริงของโลกของเราก็จะคับแคบ แต่หากระดับการตระหนักรู้ของเราแผ่กว้างและลึกซึ้งขึ้น การเข้าถึงความเป็นจริงของเราก็จะกว้างขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ ศักยภาพดังกล่าวสามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ผ่านการเปิดความคิด เปิดใจ และเปิดตัวตน/ เจตจํานงของเราเอง

  • ตั้งเจตนาว่า ในวันนี้ทั้งวัน (ทั้งตอนที่อยู่ที่บ้านกับครอบครัว ตอนที่อยู่ที่ทํางานกับเพื่อนร่วมงาน และตอนที่ทํากิจกรรมต่างๆ กับเพื่อนหรือผู้คน ณ สถานที่ใดๆ) เราจะพยายามรับฟังสิ่งที่ผู้คนเหล่านั้นพูดกับเราอย่างเต็มที่และจริงแท้ที่สุด โดยให้เป็นการฟังแบบเข้าอกเข้าใจและแบบสรรค์สร้างเป็นหลัก เราจะเปิดใจต้อนรับคนคนนั้นให้เข้ามาอยู่ในใจเรา ให้ความสนใจ ให้ความรักความปรารถนาดีแก่เขา เคารพในความคิด ความรู้สึก และสิ่งที่เขาตั้งใจจะบอกเรา และให้เวลาอย่างเพียงพอที่จะอยู่ร่วมกับเขาอย่างจริงใจ โดยอนุญาตให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะปรากฏขึ้นในการสนทนานั้นได้เกิดขึ้นโดยไม่สกัดกั้น
  • เมื่ออยู่ต่อหน้ากับคนที่เรากําลังสนทนาด้วย ขอให้ตั้งใจรับฟัง แต่ละถ้อยคําหรือประโยคที่เขากําลังบอกเราจนจบโดยที่เราไม่แทรก ไม่ถาม ไม่พูดขัด ไม่ทํากิจกรรมอย่างอื่น และถ้าเป็นไป ได้เราจะไม่แนะนําหรือให้การชี้แนะใดๆ แก่เขาหากเขามิได้ ขอให้เปิดพื้นที่ว่างที่พร้อมจะรับฟังทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาอยากจะบอกเรา อยากจะสื่อสารให้เรารู้ ด้วยความผ่อนคลาย สบายๆ มุ่งความใส่ใจของเราไปที่ความรู้สึก ความหมาย ระหว่างบรรทัด ภาษากาย อารมณ์ รวมถึงอวัจนะภาษาต่าง ๆ ของเขา นอกเหนือจากเนื้อหา พร้อมทั้งดํารงอยู่อย่างเป็น ปัจจุบันขณะกับเขา ต้อนรับทุกคําพูดและเหตุการณ์ที่กําลัง เกิดขึ้นตรงหน้า และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของบทสนทนานั้นโดยให้สิ่งที่กําลังเกิดอยู่ตรงหน้าเป็นตัวนําพา ขณะเดียวกัน ก็ปล่อยวางหรือห้อยแขวนความคิดความเชื่อเดิมของเราปล่อยวางหลักการและเหตุผล รวมถึงข้อมูลที่เรามีอยู่ และก้าวข้ามเสียงตัดสิน เสียงแห่งความชอบไม่ชอบ หรือเสียงแห่งความกลัวในใจของเราเอง ให้เวลาของการสนทนานั้นอย่าง เต็มที่ตราบเท่าที่ทั้งคู่รู้สึกเพียงพอกับมัน
  • เมื่อมีเวลาว่างระหว่างวันหรือเมื่อสิ้นสุดภารกิจของวันนั้นในตอนเย็น ขอให้แบ่งเวลาสัก 5-10 นาที เพื่อทบทวนประสบการณ์การฟังที่เราได้รับในวันนั้น จดบันทึกเกี่ยวกับประสบการณ์นั้น ทดลองฝึกปฏิบัติเช่นนี้ให้เป็นประจําทุกวัน หรือบ่อยเท่าที่จะเป็นไปได้ในระยะแรก การฝึกฟังในลักษณะนี้อาจจะดูขัดเขินและเป็นอุปสรรคต่อการสนทนาตามปกติอยู่บ้าง แต่เมื่อฝึกต่อไปสักระยะหนึ่ง จะพบว่าการฟังและการสนทนาของเราจะ เริ่มเป็นธรรมชาติมากขึ้น พร้อมกับเห็นว่าความเข้าใจต่อโลกรอบตัวของเราจะเริ่มเปลี่ยนไป

การปลีกวิเวก อยู่กับธรรมชาติ

การปลีกวิเวก เป็นธรรมเนียมปฏิบัติอันเก่าแก่แบบหนึ่งที่อยู่คู่กับหลายวัฒนธรรมของมนุษย์มาช้านาน ด้วยเป็นการช่วยให้มนุษย์ได้เรียนรู้ว่าตัวเราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ พร้อมทั้งช่วยให้เกิดการออกเดินทางทางจิตวิญญาณ หัวใจสําคัญอยู่ที่การถอยออกจากความคุ้น ชินในวิถีชีวิตแบบที่เคยเป็นมา เปิดโอกาสให้ได้มีเวลาแห่งความเงียบสงบ ให้เกิดการใคร่ครวญ การสัมผัสกับความไพศาลแห่งโลกธรรมชาติ การ ปล่อยวางอัตตาตัวตนแบบเดิม สู่การเปิดรับความเป็นไปได้ใหม่ที่จะก้าว เข้ามาสู่ชีวิตของเรา

  • เลือกสถานที่ที่มีความวิเวก สบาย สงบ และแวดล้อมด้วย ธรรมชาติ อาจเป็นสวนสาธารณะ ริมน้ํา ใต้ร่มไม้ใหญ่ หรือในป่าธรรมชาติ ที่เราสามารถไปใช้เวลาอยู่เงียบๆ ตามลําพัง และห่างไกลผู้คนได้สักช่วงระยะเวลาหนึ่ง (ประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง) จากนั้นพาตัวเองออกไปอยู่ในสถานที่แห่งนั้น โดยไปตัวเปล่า ไม่ทําอะไรติดตัวไปทั้งสิ้น โดยเฉพาะอุปกรณ์ สื่อสารต่าง ๆ (อาจนําสมุดบันทึก ปากกาไปด้วยก็ได้) และเลือกไว้หนึ่งตําแหน่งที่สามารถจะใช้เวลานั่งอยู่ตรงนั้นได้ตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติ
  • ตั้งโจทย์หรือคําถามสําคัญของชีวิตที่เราอยากได้รับคําตอบ แล้วระลึกถึงคําถามนี้เอาไว้ในใจอย่างผ่อนคลาย สบายๆ ไม่ ต้องเคร่งเครียดหรือขบคิดเพื่อให้ได้คําตอบนั้น
  • ค่อยๆ นั่งลงอย่างผ่อนคลาย ให้เวลาที่จะอยู่เฉยๆ กับตัวเอง และธรรมชาติรอบตัว ไม่ต้องคิดนึกหรือวางแผนว่าจะต้องทําอะไรทั้งสิ้น ปล่อยวางภาระทั้งทางกายและใจ รวมถึงความคาดหวังต่างๆ เพียงแค่ไว้วางใจและเปิดรับต่อทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เข้ามากระทบทางอายตนะต่างๆ ของเราอย่างสบายๆ รับรู้ทุกๆ อย่างทั้งที่เด่นชัดและที่ละเอียดอ่อนแผ่วเบา อยู่ และสื่อสารกับปัจจุบันขณะของธรรมชาติตรงหน้า อาจทิ้งตัวลงนอนกับพื้น มองท้องฟ้า ก้อนเมฆ สัมผัสผืนดิน สายน้ํา โขดหิน ใบไม้ ใบหญ้า กอดต้นไม้ ชิมรสชาติ ดมกลิ่นของสิ่ง รอบตัว เงี่ยหูฟังเสียงนก เสียงแมลง รวมถึงสังเกตความรู้สึก นึกคิดที่เกิดขึ้นในใจในขณะนั้นด้วย อนึ่ง อาจสังเกตสิ่งเล็ก รอบตัวหรือสิ่งที่เราไม่เคยได้ใส่ใจมาก่อน ให้เวลาสักระยะที่จะพินิจพิเคราะห์กับบางสิ่งบางอย่างที่รู้สึกสะดุดตา ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
  • ท่ามกลางความผ่อนคลาย ในบางขณะอาจมีความรู้สึกหรือ ความคิดที่แวบเข้ามาในหัว ซึ่งอาจเป็นความรู้ความเข้าใจใหม่ ที่ตัวเราไม่เคยมีมาก่อน ก็สามารถจดบันทึก เขียนบทกวี หรือ วาดภาพเกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้นในสมุดบันทึกที่เตรียมมาด้วย (กรณีมิได้เตรียมมา อาจกลับไปบันทึกภายหลังจากที่เสร็จ การฝึกปฏิบัติแล้วก็ได้) อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้เวลากับการจดบันทึกมากนักในระหว่างที่ทําการฝึกปฏิบัติ เพราะจะทําให้เราไปอยู่กับความคิดแทนที่จะอยู่กับการเชื่อมโยงกับประสบการณ์จริงตรงหน้า
  • ก่อนจบการปฏิบัติ ขอให้ส่งใจอุทิศความดีงามให้แก่สรรพสิ่งทั้งปวง และน้อมรับการรู้เห็นอย่างใหม่ที่ผ่านเข้ามาในตัวเรา เพื่อนํากลับมาใช้เป็นเครื่องนําทางการดําเนินชีวิตของเราต่อไปด้วยความเบิกบานและยินดี
  • ในการฝึกปฏิบัติครั้งหนึ่งๆ สามารถปรับให้มีระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นกว่านี้ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความพร้อมของผู้ฝึก เช่น ยาวนานเป็นหลายๆ ชั่วโมง เป็นวัน หรือหลาย วัน อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้เวลาสั้นเกินไป (เช่น น้อยกว่าครึ่ง ชั่วโมง)

การชื่นชมขอบคุณ

การชื่นชมขอบคุณ หรือการรู้สํานึกในคุณงามความดีของสิ่งใด คือคุณภาพใจที่สําคัญประการแรกที่จะนําทางไปสู่การเรียนรู้และเติบโตบนเส้นทางแห่งจิตวิญญาณ อีกนัยหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงทางจิตวิญญาณจะเกิดขึ้นไม่ได้หากคนคนนั้นปราศจากซึ่งความรู้สึกชื่นชมขอบคุณ นอกจากนี้ เมื่อเราสามารถขอบคุณใครหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ เราจะเห็นความสัมพันธ์ เชื่อมโยงระหว่างตัวเรากับคนคนนั้น หรือสิ่งนั้นๆ อย่างเป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน

  • กลับมาอยู่กับการทําสมาธิสั้นๆ เพื่อสร้างความรู้สึกตัวและผ่อนคลาย
  • ทบทวนเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตท่านเข้ามาในชีวิตในวันนี้หรือในระยะนี้แล้วดูว่ามีใครหรือสิ่งใดที่เราอยากขอบคุณบ้าง คัดเลือก ขึ้นมาประมาณ 10-20 รายการ แล้วเขียนลงในสมุด ขณะเขียน ขอให้สังเกตความรู้สึกนึกคิดในใจตัวเองด้วย
  • จากทั้ง 10-20 รายการนั้น เลือกขึ้นมา 1-2 รายการที่เรารู้สึก อยากขอบคุณมากที่สุด จากนั้นค่อยๆ ใคร่ครวญถึงรายละเอียด ของเหตุการณ์และประสบการณ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง แล้วถ่ายทอด ออกมาเป็นตัวหนังสือด้วยการจดบันทึก
  • หากเป็นไปได้ ขอให้ส่งมอบคําขอบคุณเหล่านี้ให้แก่บุคคลคนนั้นหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นโดยตรง เป็นการบอกว่าสิ่งนี้มี คุณค่ากับตัวเราเพียงใด

ขอบคุณที่มา
หนังสือ สู่ศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ คู่มือการจัดกระบวนการพัฒนาจิตวิญญาณ
รศ.ดร.รัตติกรณ์ จงวิศาล ผศ.ดร.สมสิทธิ์ อัสดรนิธี ดร.ไพรินทร์ โชติสกุลรัตน์ บาทหลวงวิชัย โภคทวี