การฝึกปฏิบัติเพื่อบ่มเพาะความมีใจกรุณา

การฝึกปฏิบัติเพื่อบ่มเพาะความมีใจกรุณา

เมตตาภาวนา

เมตตา หมายถึงความรักความปรารถนาดีที่อยากให้ผู้อื่นมีความสุข

กรุณา หมายถึงความเห็นอกเห็นใจที่อยากช่วยทําให้ผู้อื่นพ้นจาก ความทุกข์

มุทิตา หมายถึงความเบิกบานยินดีต่อผู้อื่นที่ได้เห็นว่าเขาได้ดีมีสุข

อุเบกขา หมายถึงการวางใจเป็นกลาง ไม่ผลักไส ไม่ดึงดูด ยอมรับ ต่อผลตามเหตุตามปัจจัย

คุณธรรมทั้งสี่ คือ คุณธรรมในพรหมวิหารที่ช่วยยกระดับจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้น เป็นแนวทางที่ช่วยให้เราอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขอีกทั้งช่วยปลดปล่อยจากความยึดติดในอัตตาตัวตนของเราเอง การฝึกปฏิบัติเมตตาภาวนา อาจเริ่มต้นจากการฝึกเจริญสติกับร่างกายและลมหายใจ จนคุ้นเคยมาระดับหนึ่งก่อน และเมื่อเราเริ่มสงบและตั้งมั่นได้แล้ว จึงเข้าสู่การฝึกในขั้นตอนต่อไป ดังนี้

  • อยู่ในอิริยาบถของสมาธิ นําความใสใจกลับมาอยู่ที่ร่างกายและลมหายใจจนรู้สึกสงบและเป็นสุข จากนั้นระลึกถึงความรักความเมตตาที่ตนเองเคยทําให้แก่ผู้อื่นหรือคนแปลกหน้าโดยที่ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ สัมผัสถึงความสุขความเบิกบานที่ได้ ท่าเช่นนั้นในตอนนั้น และดํารงอยู่ในความรู้สึกนั้นสักครู่หนึ่ง
  • จินตนาการถึงคนคนหนึ่งที่เรารัก เช่น พ่อแม่ ลูกหลาน ญาติ พี่น้อง เพื่อน หรือครูบาอาจารย์ นําความใส่ใจมาอยู่กับคนคนนี้ จินตนาการว่าคนคนนี้กําลังนั่งอยู่ต่อหน้าเรา มองให้เห็น ใบหน้า นัยน์ตา และท่าทางของเขาอย่างแจ่มชัด จากนั้นเปิดหัวใจของเราให้กว้างเพื่อส่งมอบความรัก ความเมตตากรุณา และความปรารถนาดีทั้งหมดเท่าที่เรามีให้แก่เขาคนนี้ เปล่ง เสียงในใจว่า “ขอให้ท่านได้รับความสงบสุขทั้งกายและใจอยู่เสมอ ขอให้ท่านปลอดภัยและปราศจากความทุกข์ และขอให้ ท่านได้เข้าถึงการตื่นรู้โดยสมบูรณ์”
  • ต่อมา จินตนาการถึงคนอีกคนหนึ่ง ที่เรารู้สึกเป็นกลางๆ เช่น บุคคลที่เรารู้จัก เพื่อนที่ทํางาน เพื่อนบ้าน หรือคนที่เราพบ เจอนานๆ ครั้ง นําความใส่ใจมาอยู่กับคนคนนี้ จินตนาการ ว่าคนคนนี้กําลังนั่งอยู่ต่อหน้าเรา มองให้เห็นใบหน้า นัยน์ตา และท่าทางของเขาอย่างแจ่มชัด จากนั้นเปิดหัวใจของเราให้กว้างเพื่อส่งมอบความรัก ความเมตตากรุณา และความปรารถนาทั้งหมดเท่าที่เรามีให้แก่เขาคนนี้ เปล่งเสียงในใจว่า “ขอให้ท่านได้รับความสงบสุขทั้งกายและใจอยู่เสมอ ขอให้ท่านปลอดภัยและปราศจากความทุกข์ และขอให้ท่านได้เข้าถึงการตี่นรู้โดยสมบูรณ์”
  • ต่อมา จินตนาการถึงคนอีกคนหนึ่ง ที่เรารู้สึกไม่ชอบหรือมี ปัญหาด้วย หรืออาจเป็นคนที่เคยทําให้ตัวเราหรือคนที่เรารัก เป็นทุกข์ นําความใส่ใจมาอยู่กับคนคนนี้ จินตนาการว่าคนคน นี้กําลังนั่งอยู่ต่อหน้าเรา มองให้เห็นใบหน้า นัยน์ตา และท่าทางของเขาอย่างแจ่มชัด จากนั้นลองละวางความเกลียดชัง ของเราลง แล้วเปิดหัวใจของเราให้กว้างเพื่อส่งมอบความรัก ความเมตตากรุณา และความปรารถนาดีทั้งหมดเท่าที่เรามี ให้แก่เขาคนนี้ เปล่งเสียงในใจว่า “ขอให้ท่านได้รับความสงบ สุขทั้งกายและใจอยู่เสมอ ขอให้ท่านปลอดภัยและปราศจาก ความทุกข์ และขอให้ท่านได้เข้าถึงการตื่นรู้โดยสมบูรณ์”
  • สุดท้าย ดํารงอยู่กับความรู้สึกในใจของเราเองในตอนนี้ ใจที่เปิดออกและแผ่ขยาย จากนั้นทําสมาธิอยู่กับความว่างในใจสักครู่หนึ่ง ปลดปล่อยความคิด ความรู้สึก จินตภาพ หรือเป้าหมายต่างๆ ออกไป (ประมาณ 5 นาที) ก่อนจบ ขอให้อุทิศคุณงาม ความดีต่างๆ ที่เกิดจากการได้ขัดเกลาอัตตาตัวตนของตัวเองๆ ในครั้งนี้ ให้แก่สรรพชีวิตทั้งปวงในโลก ให้สรรพชีวิตทั้งหลายได้รับความสุขสงบ ความปลอดภัย ปราศจากทุกข์ และเข้าถึงการตื่นรู้โดยสมบูรณ์

เราสามารถปรับประยุกต์การภาวนานี้ให้เข้ากับคุณธรรมข้ออื่น ๆ ได้ตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น พรหมวิหารข้ออื่นๆ หรือความกตัญญูกตเวที ฯลฯ ในที่นี้จะขอนําเสนอบทภาวนาที่เป็นการฝึกฝนคุณธรรมข้ออุเบกขาเป็นตัวอย่าง

  • อยู่ในอิริยาบถนั่งสมาธิ นําความใส่ใจกลับมาอยู่ที่ร่างกายและ ลมหายใจจนรู้สึกสงบและเป็นสุข จากนั้นระลึกถึงความรู้สึกที่ ตัวเราได้เคยวางใจเป็นกลางต่อผู้คน ต่อเหตุการณ์ใดๆ เหตุการณ์หนึ่ง อาจเป็นความรู้สึกที่เรากล้ายอมรับผล อดทน รอคอย ไม่ตัดสิน ไม่ปฏิเสธ ละวางการปรุงแต่ง หรือดํารงอยู่ ร่วมได้อย่างเท่าเทียม อย่างมีความรักความเมตตาโดยที่ไม่ได้ ต้องลงมือกระทําสิ่งใดต่อเหตุการณ์นั้น สัมผัสและดํารงอยู่ในความรู้สึกแบบนี้สักครู่หนึ่ง
  • จินตนาการถึงเหตุการณ์หนึ่งหรือสิ่งหนึ่งที่ได้เคยทําให้เรามีความสุขใจ ชอบใจ พึงพอใจ สัมผัสถึงอารมณ์ความรู้สึกนั้น จากนั้นให้เชื่อมโยงกับความรู้สึกที่เราได้เคยวางใจเป็นกลาง แล้วย้อนมองเหตุการณ์นี้อีกครั้งด้วยคุณภาพใจที่เป็นอุเบกขานี้ พิจารณาใคร่ครวญ
  • ต่อมา จินตนาการถึงเหตุการณ์อีกเหตุการณ์หนึ่งหรืออีกสิ่งหนึ่งที่ได้เคยทำให้เรามีความทุกข์ใจ ลําบากใจ ไม่ชอบใจ โศกเศร้า โมโห หรือกลัว สัมผัสถึงอารมณ์ความรู้สึกนั้น จากนั้นให้เชื่อมโยงกับความรู้สึกที่เราได้เคยวางใจเป็นกลาง แล้วย้อนกลับมามองเหตุการณ์นี้อีกครั้งด้วยคุณภาพใจที่เป็นอุเบกขานี้ พิจารณาใคร่ครวญ
  • สุดท้าย ดํารงอยู่กับความรู้สึกของใจในขณะนี้ จากนั้นทําสมาธิอยู่กับความว่างสักครู่หนึ่ง (ประมาณ 5 นาที) แล้วจึงอุทิศคุณงามความดีทั้งหมดให้แก่สรรพชีวิต ก่อนจะจบการฝึกปฏิบัติ

การภาวนากับการให้อภัย

การให้อภัย เป็นคุณธรรมสําคัญที่ทําให้ใจเราเป็นอิสระจากการผูกใจไว้กับความเจ็บปวดหรือความโกรธแค้น เป็นการช่วยขัดเกลาและปลด คลายจากการยืดติดในอัตตาตัวตน การให้อภัยยังมีผลในการช่วยเยียวยาปม ความทุกข์หรือความติดข้องในอดีตของตนเอง ทําให้ตนเองกลับมาเต็มเปี่ยม และกล้าหาญที่จะออกเดินไปสู่อนาคตได้อย่างมั่นคงมากขึ้น

  • อยู่ในอิริยาบถนั่งสมาธิ ทําความสงบอยู่กับร่างกายและสม หายใจสักครู่หนึ่ง จากนั้นระลึกถึงความรักความเมตตาที่มีอยู่ในจิตใจของตนเอง สัมผัสรับรู้ถึงใจที่เปิดออก อ่อนโยน และผ่อนคลาย
  • เมื่อพร้อม ขอให้จินตนาการถึงคนคนหนึ่งที่เคยทําให้เราไม่ พอใจ เสียใจ ผิดหวัง หรือโกรธ (อาจด้วยคําพูดหรือการกระทํา) ยังเป็นสิ่งที่เรารับไม่ได้ ลองนึกถึงรายละเอียดขอเหตุการณ์นั้น(ในจินตนาการ)ในขณะที่เขาคนนั้นกําลังนั่งอยู่ต่อหน้าของเรา
  • ตอนนี้ ขอให้พิจารณาว่า ความคับข้องใจเจ็บแค้นใจ กับความเป็นเพื่อนเป็นมิตรต่อกัน อย่างไหนสําคัญ ต่อเหตุการณ์นั้นๆ อะไรกันแน่คือสิ่งที่สําคัญสําหรับเรา ขอให้พิจารณาด้วยใจที่ ผ่อนคลาย อ่อนโยน และมั่นคง
  • หากใจของเราเลือกความเป็นเพื่อน และเห็นว่ามิตรภาพและความรักคือสิ่งที่สําคัญกว่าสําหรับตัวเรา ขอให้เอ่ยคําว่า “ฉันให้อภัยคุณ” ออกมาในใจให้แก่คนคนนั้น พร้อมๆ กับมองไปที่ใบหน้าและนัยน์ตาของเขา เอ่ยคําให้อภัยนี้ซ้ำ ๆ ประมาณ 4-5 ครั้ง
  • จากนั้นพูดต่อไปในใจว่า “หากฉันเคยทําอะไรที่ทําให้คุณไม่สบายใจหรือขุ่นข้องหมองใจ ฉันขออภัยด้วย” เอ่ยประโยคนี้ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยความรู้สึกแห่งมิตรภาพที่เปี่ยมด้วยเมตตาต่อกัน และมอบความรู้สึกนี้ให้แก่เขา ดํารงอยู่ในความรู้สึกนี้ สักครู่หนึ่ง
  • เมื่อรู้สึกเพียงพอ ให้กล่าวคําอําลาแก่เขา และอนุญาตให้เขา กลับออกไปจากจินตนาการของเรา ส่วนตัวเราเองให้กลับมา ภาวนาอยู่กับลมหายใจสักครู่หนึ่ง (ประมาณ 5 นาที)
  • ในความสงบ ตั้งมั่น และผ่อนคลายของจิตใจ ตอนนี้ ขอให้จินตนาการถึงตัวเราเอง ให้มองเห็นท่าทางและใบหน้าของตัวเองที่กําลังมานั่งอยู่ต่อหน้าเราอย่างแจ่มชัด จากนั้นระลึกถึงเหตุการณ์หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ตัวเราเองเคยทําผิดพลาด ไม่น่ารัก เสียใจ ล้มเหลว เสียหน้า ไม่เก่ง ไม่ฉลาด ไม่เข้มแข็ง หรือไม่ดี ฯลฯ อันเป็นสิ่งที่เรารับตัวเองไม่ได้ ลองนึกถึงรายละเอียดของเหตุการณ์นั้น ในขณะที่เขาคนนั้น (ตัวเราเอง) กําลังนั่งอยู่ต่อหน้าของเรา (ในจินตนาการ)
  • หากเขาคนนั้นมีอะไรที่อยากจะพูดกับเราในตอนนี้ ขอให้เราเปิดใจทั้งหมดของเร ซึ่งเราเพื่อรับฟังทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาอยากจะบอก ไม่ว่าจะเป็นคําพูด คําบ่น คําคร่ำครวญ คําฟูมฟาย ขอให้รับฟังอย่างแท้จริงโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ รับฟังโดยไม่ ต้องมีคําพูดใดๆ ให้เขา ไม่ว่าจะเป็นคําแนะนํา ปลอบโยน หรือให้กําลังใจ ขอแค่อยู่เป็นเพื่อนเขา รับฟังเขาจนพูดจบ โดยไม่ตัดบท ในขณะที่มองที่ใบหน้าและดวงตาของเขาตรงๆ
  • ในตอนท้าย ขอให้เราเอ่ยคําพูดออกมาว่า “ฉันให้อภัยคุณ พร้อมกับมอบความรัก ความอ่อนโยน และจริงใจให้แก่คน ตรงหน้า สัมผัสถึงความรักอันไม่มีเงื่อนไขที่เชื่อมโยงกันและกัน เอ่ยคําให้อภัยนี้ซ้ำ ๆ ประมาณ 4-5 ครั้ง ดํารงอยู่ในความรู้สึกนี้สักครู่หนึ่ง
  • เมื่อรู้สึกเพียงพอ ให้กล่าวคําอําลาแก่เขาและอนุญาตให้เขา กลับออกไปจากจินตนาการของเรา ส่วนตัวเราเองให้กลับมาภาวนาอยู่กับลมหายใจสักครู่หนึ่ง (ประมาณ 5 นาที) และเมื่อลืมตาขึ้น ขอให้มองไปรอบๆ ดูโลกรอบตัวด้วยดวงตาคู่ใหม่ ด้วยความสดใสและเบิกบาน

บทฝึกปฏิบัติเรื่องการให้อภัย สามารถฝึกทั้งการให้อภัยผู้อื่นและการให้อภัยตัวเองไปด้วยกันหรือจะฝึกแยกกันก็ได้

ขอบคุณที่มา

หนังสือ สู่ศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ คู่มือการจัดกระบวนการพัฒนาจิตวิญญาณ
รศ.ดร.รัตติกรณ์ จงวิศาล ผศ.ดร.สมสิทธิ์ อัสดรนิธี ดร.ไพรินทร์ โชติสกุลรัตน์ บาทหลวงวิชัย โภคทวี