การฝึกปฏิบัติเพื่อเจริญสติ ตระหนักรู้ และเท่าทันสภาวะภายใน

การฝึกปฏิบัติเพื่อเจริญสติ ตระหนักรู้ และเท่าทันสภาวะภายใน

การนั่งสมาธิ

ท่านั่ง เป็นอิริยาบถหลักของการฝึกสติ ด้วยเป็นท่าที่ให้ความ มั่นคงและผ่อนคลายได้อย่างพอดีๆ ในเวลาเดียวกัน การนั่งที่เกื้อกูลการทําสมาธิประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 อย่าง ได้แก่

  • การหยั่งลงดิน (Grounding) หมายถึงการทิ้งน้ําหนักทั้งหมด ลงผ่านจุดสัมผัสต่างๆ ที่ร่างกายสัมผัสกับพื้นอย่างเต็มที่ ประหนึ่งต้นไม้ที่หยั่งรากแก้วลงสู่ผืนดิน นํามาซึ่งการปักหลักและมั่นคงทางกาย
  • ความสมดุล (Balance) หมายถึงการปรับร่างกายให้ตั้งตรงไม่ เอนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง ไม่ว่าทางซ้ายขวาหรือหน้าหลังทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายอยู่ในตําแหน่งที่พอดีๆ ไม่มีจุดใดที่ต้องตึง เกร็งหรือรับนํ้าหนักมากเกินไป
  • ความผ่อนคลาย (Relaxation) หมายถึงการปลดคลายความตึงเครียดในกล้ามเนื้อต่าง ๆ ออกไป เหลือไว้แต่ความผ่อนคลายในทุกส่วนของร่างกายอย่างสมบูรณ์
  • การปรับแนว (Alignment) หมายถึงการตั้งแกนของร่างกาย ตั้งแต่ก้นกบถึงคอให้อยู่ในแนวเส้นตรง และเชื่อมต่อเป็นแนวเดียว จากจุดศูนย์กลางของโลกเบื้องล่างสู่กลางท้องฟ้าเหนือ ศีรษะด้านบน ทั้งนี้เพื่อช่วยให้พลังในร่างกายไหลเวียนขึ้นลง ได้คล่องไม่ติดขัด

    การนั่งสมาธิเป็นไปเพื่อฝึกนําการตระหนักรู้ทั้งหมดกลับมาอยู่ที่ตัวเรา (ทั้งกายและจิตใจ) ในปัจจุบัน

การตระหนักรู้ในร่างกาย

  • เลือกสถานที่ที่เงียบสงบ อากาศสบาย มีความเป็นส่วนตัว และไม่ถูกรบกวนตลอดการปฏิบัติ ส่วนเวลาที่เหมาะสมอาจ เป็นเช้าตรู่เมื่อตื่นนอนใหม่ๆ หรือจะเป็นช่วงก่อนนอนใน ตอนกลางคืน อย่างไรก็ตาม ขอให้เป็นช่วงเวลาที่ท่านรู้สึกสบายและปลอดโปร่งโล่งใจ ปราศจากสิ่งรบกวนจิตใจทั้งหลาย เช่น เสียงดังหรือภารกิจประจําวัน
  • เริ่มต้นด้วยการปรับท่านั่งของเราให้ครบองค์ประกอบทั้งสี่ ข้างต้น ด้วยการนั่งบนพื้นในท่าขัดสมาธิ อาจให้มีเบาะรองที่ส่วนก้นให้สูงกว่าส่วนหัวเข่าเล็กน้อยเพื่อช่วยให้หลังตรงขึ้น (ลองค้นหาจุดเหมาะสมของตัวเอง) วางมือทั้ง 2 ข้างพักไว้บน หน้าตัก และหลับตาลงหรือทอดสายตาลงต่ำ อนึ่ง สําหรับ ท่านที่ไม่สามารถนั่งขัดสมาธิบนพื้นได้ก็สามารถนั่งบนเก้าอี้ โดยปรับร่างกายให้ครบองค์ประกอบทั้งสี่ข้างต้นได้เช่นกัน หลังตรง วางฝ่าเท้าทั้ง 2 ข้างราบกับพื้น วางมือบนหน้าตัก และหลับตาหรือทอดสายตาลงต่ำ
  • นําความใส่ใจทั้งหมดกลับมาอยู่ที่ร่างกาย ลองใช้ความรู้สึก สํารวจร่างกายไปทีละส่วน จากศีรษะถึงปลายเท้า รับรู้อย่างชัดเจนทั้งความผ่อนคลายและความมั่นคงที่พอดีๆ ในขณะที่เคลื่อนความใส่ใจไปอย่างช้าๆ
  • รักษาความใส่ใจให้อยู่กับร่างกายอย่างต่อเนื่อง รับรู้ทุกสิ่งทุกอย่างบนร่างกายในปัจจุบันขณะตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ทั้งที่เราชอบ ไม่ชอบ หรือเฉยๆ รวมถึงความรู้สึกตื่นตัวแห่งการมีชีวิตอยู่ของทุกๆ เซลล์ รับรู้อย่างอ่อนโยนเบาสบาย ไม่ต้องเพ่งจ้องหรือเคร่งเครียด
  • หากระหว่างนี้ มีความคิดหรือความรู้สึกอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับร่างกายในปัจจุบันของเราเข้ามาแทรก ก็ขอให้เพียงรับรู้ว่ามี ความคิดนั้นๆ เกิดขึ้นแล้วปล่อยมันทิ้งไป อย่าไปติดตามหรือ คิดหรือรู้สึกกับสิ่งนั้นต่อ เพียงนําความใส่ใจกลับมาอยู่กับร่างกายในปัจจุบันของเราต่อไป ดํารงอยู่กับการรับรู้ร่างกาย ของเราอย่างต่อเนื่องและผ่อนคลาย

การตระหนักรู้ในลมหายใจ

  • ต่อจากขั้นตอนที่ 1 รักษาท่านั่งที่มั่นคงและผ่อนคลาย โดยเป็นท่าที่สามารถหายใจได้คล่องและลึกลงไปถึงช่วงท้องได้อย่างเป็นธรรมชาติ หายใจเข้าและออกอย่างเป็นปกติโดยไม่ต้องพยายามควบคุมหรือบังคับในแบบใดๆ
  • นําความใส่ใจมาอยู่ที่การหายใจเข้าและออก รับรู้กระแสของลมที่กําลังเคลื่อนผ่านเข้าออกที่จมูกของเรา รับรู้ความรู้สึกที่ผิว รับรู้ความเย็น ความอุ่นของลม โดยสังเกตอยู่กับมันอย่างต่อเนื่องบนความแผ่วเบา ผ่อนคลาย สงบและสันติ
  • การฝึกฝนเช่นนี้สามารถทําได้บ่อยเท่าที่ต้องการ สามารถทําเป็นประจําทุกวันจนเกิดเป็นความคุ้นเคย และเมื่อฝึกจนรู้สึกสบายและตั้งมั่นได้ในขั้นตอนทั้งสองนี้แล้ว ก็ขอให้ฝึกต่อไป

การตระหนักรู้ในความคิด

  • เริ่มต้นจากการนั่งในท่าที่มั่นคงและผ่อนคลาย รับรู้ความรู้สึกทั้งหมดบนร่างกายและลมหายใจของเรา
  • บนความมั่นคงและผ่อนคลายนั้น นําความใส่ใจมาอยู่ที่การสังเกตความคิดที่กําลังเกิดขึ้นในใจ รับรู้การเกิดขึ้น การดํารงอยู่ และการแปรเปลี่ยนและหายไปของความคิดในแต่ละขณะ ด้วยการเปิดรับ การสังเกต และอยู่กับปัจจุบันขณะอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ ไม่ต้องผลักไส ไม่ตัดสิน ไม่ติดตาม หรือหยุดยั้ง การคิด ขอแค่รับรู้มันเพียงเท่านั้น จะพบว่า ความคิดใดๆ เมื่อผ่านเข้ามาในใจเรา ไม่ช้าก็เร็วก็จะผ่านออกไป เสมือนดั่งก้อนเมฆที่เคลื่อนผ่านท้องฟ้าซึ่งมีความใสและว่างอยู่แต่เดิมตามธรรมชาติ ฉะนั้น หน้าที่ของเราจึงมิได้ต้องทําอะไรกับก้อนเมฆความคิดเหล่านั้น การแค่ตระหนักรู้ จะทําให้เราสามารถกลับมาเห็นและอยู่กับฟ้าใสอันเป็นสภาวะดั้งเดิมในใจของเราได้
  • ก่อนจบการทําสมาธิทุกครั้ง ให้นําความใส่ใจทั้งหมดมาอยู่ที่ความว่างและความรู้สึกโปร่งโล่งในใจ ปลดปล่อยเรื่องราว ทั้งหลายออกไป แล้วกลับมาอยู่กับความสงบของที่นี่และเดี๋ยวนี้ จากนั้นให้ระลึกถึงคุณความดีที่เกิดจากการฝึกปฏิบัติครั้งนี้ แล้วน้อมอุทิศความดีงามนั้นให้แก่สรรพชีวิตทั้งหลาย ให้ได้รับความสุขสวัสดี หรืออาจน้อมอุทิศให้กับบุคคลหนึ่ง บุคคลใดเป็นการเฉพาะก็ได้
  • กล่าวโดยรวม การฝึกสติคือการกลับมาดํารงอยู่กับสิ่งตรงหน้า (รวมถึงการกระทําตรงหน้า) อย่างมีการตระหนักรู้ โดยไม่เอาอะไร ไม่ต้องได้อะไร แค่ดํารงอยู่อย่างเบาสบาย เบิกบาน สงบเย็น ตื่นตัว และตั้งมั่น

การฝึกสติในอิริยาบถอื่น ๆ

  • เลือกสถานที่ที่มีความเงียบสงบและมีพื้นที่ราบเรียบที่เรา สามารถเดินกลับไปกลับมาได้ในระยะประมาณ 20-30 ก้าว
  •  อยู่ในท่ายืนตรง ด้วยอาการมั่นคง ฝ่าเท้าทั้ง 2 ข้างสัมผัสพื้นดิน เต็มที่ ร่างกายมีความสมดุลและผ่อนคลาย รับรู้ความรู้สึก ทั้งหมดของร่างกายและลมหายใจในปัจจุบัน และวางความคิด ความรู้สึกทั้งปวงในใจลง
  • นําความใส่ใจมาอยู่ที่เท้าทั้ง 2 ข้าง ก่อนที่จะเริ่มออกเดิน อย่างช้าๆ รับรู้ทุกๆ ขณะของการเดินผ่านการเคลื่อนของเท้า และการสัมผัสของเท้ากับพื้นดิน ตั้งแต่การยกเท้าขึ้น การย่างเท้าไปข้างหน้า และการวางเท้าลง รับรู้แบบนี้ไปทีละข้าง ตามจังหวะของการก้าวเดิน ขอให้เดินช้าๆ ด้วยจังหวะการ ก้าวเดินตามปกติ การเดินช้าพอจะทําให้การตระหนักรู้ ข้างต้นเกิดขึ้นได้ดีและต่อเนื่อง และลดการถูกรบกวนโดย ความคิดต่างๆ ในใจ อนึ่ง การตระหนักรู้ที่ดีเป็นการรู้เลย เห็นเลยในปัจจุบันขณะอย่างเป็นธรรมชาติ มีความอ่อนโยน นุ่มนวล โดยไม่เพ่ง ไม่ต้อง ไม่รอคอย ไม่ตั้งท่าหรือคอยมองหา
  • เมื่อสุดทางเดิน ให้หยุดยืนสักครู่ ค่อยๆ หันหลังกลับ และ ออกเดินอีกครั้งไปในทิศตรงข้าม ทั้งหมดนี้กระทําอย่างช้าๆ และรู้เนื้อรู้ตัว
  • เราสามารถประยุกต์การฝึกเป็นสมาธินี้เข้ากับการเดินตาม ปกติในชีวิตประจําวันได้ ด้วยการกลับมารู้ตัว และอยู่กับการ เคลื่อนของกายทุกครั้งที่เดิน เราเดินเพื่อเดินโดยไม่คิดหรือทําสิ่งอื่นๆ ไปด้วย มีความรู้สึกตัวในทุกๆ ก้าว มีความเบิกบาน ผ่อนคลาย สงบ สันติ และเปิดรับต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวในขณะนั้น ขณะเดียวกันก็ประทับความรู้สึกปรารถนาดีและความขอบคุณคืนให้แก่ผืนโลกในทุกย่างก้าวด้วย
  • เมื่อเราตักอาหารหรือเมื่ออาหารถูกนํามาวางบนโต๊ะ ให้เริ่มต้นทําความรู้สึกตัวและกลับมาอยู่กับสิ่งตรงหน้า ตระหนักว่ามีองค์ประกอบมากมายทั้งผู้คนและธรรมชาติ ต่างร่วมหล่อเลี้ยงและหล่อหลอมให้เกิดเป็นอาหารมื้อนี้แก่เราและช่วยให้เรายังดํารงชีวิตอยู่ได้
  • เริ่มต้นรับประทานด้วยความรู้สึกตัวอย่างเต็มที่ ตั้งแต่การเอื้อมมือตักอาหารด้วยซ้อน การนําอาหารเข้าปาก การเคี้ยว การรับรู้รสชาติและผิวสัมผัสของอาหาร การกลืน ทั้งหมด กระทําอย่างช้าๆ ในความเงียบสงบ อนึ่ง การเคี้ยวอาหารแต่ละคําขอให้เรากระทำอย่างน้อยประมาณ 30 ครั้งจนอาหารละเอียดก่อนที่จะกลืน ขอให้เป็นการรับประทานหีตั้งมั่น เบิกบาน และผ่อนคลายไปกับอาหารทุกๆ คํา รวมถึงผู้คนและบรรยากาศรอบตัว
  • ใช้เวลารับประทานอาหารในความเงียบเช่นนี้ประมาณ 20 นาที หลังจากนั้น จึงค่อยพิจารณาที่จะทํากิจกรรมอย่างอื่น เช่น สนทนาอย่างมีสติกับเพื่อนร่วมโต๊ะอาหาร หรือจะเสร็จสิ้นการรับประทานอาหารมื้อนี้
  • ก่อนลุกขึ้นจากโต๊ะ ขอให้ใช้เวลาสักครู่เพื่อน้อมใจกลับมา พิจารณาที่ขาม ชามอาหารตรงหน้า (ที่ว่างเปล่าแล้ว) ความรู้สึกใน ร่างกาย (ที่อิ่มและปราศจากความหิว) และรับรู้ว่าการ รับประทานอาหารมื้อนี้ได้เสร็จสิ้นแล้ว จากนั้นส่งความรู้สึก ขอบคุณไปยังผู้คนและสรรพสิ่งที่มีส่วนเกื้อหนุนให้เกิดอาหารมื้อนี้แก่เรา
  • เริ่มจากทําความตั้งใจว่า การนอนครั้งนี้จะเป็นไปเพื่อการดูแลกายและใจของเราอย่างแท้จริง ด้วยการอนุญาตให้ร่างกาย ของเราได้พักและผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์ เป็นการฝึกที่จะปล่อยวางทุกอย่าง กลับมามีสติรู้ตัวอยู่กับร่างกายและลมหายใจ ขอให้เป็นการนอนด้วยความรู้สึกตัวและความผ่อนคลาย ไม่ใช่นอนเพราะความเหนื่อยหรือง่วง ระหว่างการฝึก หากรู้สึกง่วงหรืองีบหลับไป ก็ขอให้รู้สึกสบายๆ ที่จะปล่อย ให้ร่างกายได้เป็นไปเช่นนั้นอย่างเป็นธรรมชาติ
  • เตรียมสถานที่และอุปกรณ์สําหรับการนอนที่มีความเหมาะสม เช่น เป็นห้องที่เงียบสงบ เป็นส่วนตัว (หากฝึกร่วมกันหลายคน ขอให้นอนโดยเว้นระยะห่างระหว่างกัน โดยที่ร่างกายของ เราจะไม่สัมผัสโดนเพื่อนคนข้างๆ เวลาที่เราขยับตัว) อากาศเย็นสบาย ห่างจากสิ่งรบกวนต่างๆ และมีเตียง เสื้อ หรือฟูกรองนอน และหมอน
  • ยุติกิจกรรมอื่นๆ รวมถึงการสื่อสารต่างๆ ลง ค่อยๆ ทอดตัว ลงนอนท่านอนหงาย วางแขนไว้ที่ข้างลําตัวหรือบนลําตัวตามถนัด ปรับร่างกายให้สมดุลและสบาย แล้วหลับตาลง 
  • นําความใส่ใจทั้งหมดมาอยู่ที่ร่างกาย รับรู้ถึงอิริยาบถในปัจจุบันที่กําลังนอนราบอยู่ ทิ้งน้ําหนักทั้งหมดของร่างกายลงยังพื้น โดยไม่ต้องขืนหรือเกร็งส่วนหนึ่งส่วนใดไว้เลย ปล่อยวางเรื่องราวทั้งหมดในใจลง ไม่ว่าจะเป็นความคิด ความรู้สึก หรือการงานที่คั่งค้าง เพื่อให้เวลากับการกลับมาอยู่และดูแลร่างกายอย่างเต็มที่ก่อนในตอนนี้
  • หายใจเข้าและออก ลึกๆ ยาวๆ อย่างเป็นธรรมชาติ รับรู้ถึงความสงบเงียบและความผ่อนคลายในจิตใจ จากนั้นนําความใส่ใจมาอยู่ที่ร่างกายโดยเริ่มจากส่วนบนสุดของศีรษะ รับรู้ความรู้สึก พร้อมกับผ่อนคลาย ได้ความรู้สึกต่อลงมายังบริเวณหน้าผาก คิ้ว ดวงตา ข้างแก้ม จมูก ปาก ฟัน ลิ้น และทุกส่วนของใบหน้า ผ่อนคลายผิวหนัง อวัยวะ และ กล้ามเนื้อทั้งหมดตรงนั้นไปตามลําดับ ผ่อนคลายอย่างเต็มที่ รับรู้ถึงความโปร่ง เบา และสบาย ดํารงอยู่กับการรับรู้นี้สักครู่ เคลื่อนความใส่ใจไปสู่บริเวณถัดไปของก่อนที่จะค่อย ร่างกาย
  • ค่อยๆ นําความใส่ใจไปสู่บริเวณถัดไป สู่ลําคอ บ่า ไหล่ ต้น แขน แขน มือ และนิ้วทั้งสิบ ทําความผ่อนคลายและปลดปล่อย ความตึงเกร็งต่างๆ ออกไปแบบเดียวกันกับข้างต้น ทําเช่นนี้ ต่อไปเรื่อยๆ สู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ได้แก่ หน้าอก ลําตัว ท้อง อวัยวะภายในช่องท้อง แผ่นหลัง แนวกระดูกสันหลัง เอว ก้นกบ สะโพก แล้วต่อลงไปสู่ต้นขา หัวเข่า น่อง หน้าแข้ง ข้อเท้า เท้า และนิ้วเท้าทั้งสิบนิ้ว ในการไล่ความรู้สึกและผ่อน คลายร่างกายแต่ละส่วนนั้น ให้ทําอย่างช้าๆ แผ่วเบา อ่อนโยน โดยไม่ต้องเพ่งจ้องหรือเคร่งเครียด
  • นําความใส่ใจมารับรู้ความผ่อนคลายของมวลรวมทั้งหมดของร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ปล่อยร่างกายให้ดิ่งลงสู่ความสงบเบื้องลึกและดํารงอยู่ในความผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์ของทั่วทั้งร่างกายโดยรวม ดํารงอยู่ในสภาวะแห่งความผ่อนคลาย แบบนี้อย่างต่อเนื่องประมาณ 20-40 นาที พร้อมๆ ไปกับรับรู้ถึงลมหายใจที่เข้าและออกอย่างแผ่วเบาและสบายอย่างเป็นธรรมชาติ
  • ช่วงท้ายก่อนที่จะเสร็จสิ้นการนอน ให้นําความใส่ใจกลับมาอยู่ที่ร่างกาย ค่อยๆ ขยับปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ขยับแขนขา และลําตัวบางส่วนที่เริ่มมีความเมื่อย ขอให้ทําอย่างช้า ๆ และ มีสติรู้ตัว จากนั้นเมื่อพร้อมก็ค่อยๆ ลุกขึ้นมาสู่ท่านั่งที่ ผ่อนคลายสักครู่ ประคองรักษาความรู้สึกผ่อนคลายและ ความรู้เนื้อรู้ตัวเช่นนี้ไว้อย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะไปทํากิจกรรมอย่างอื่นต่อไป

    การฝึกสติ ยังสามารถทําได้ในอิริยาบถอื่นๆ อีกในชีวิตประจําวัน ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย และการทํากิจกรรมต่างๆ เช่น การอาบน้ํา การแปรงฟัน การแต่งตัว การปรุงอาหาร การทําความสะอาดบ้าน การซักเสื้อผ้า การล้างถ้วยชาม ฯลฯ โดยมีหลักอยู่ที่ความรู้สึกตัวอยู่กับปัจจุบันใน อาการหรือสิ่งที่กําลังทําตรงหน้า การรับรู้ถึงความรู้สึกนึกคิดที่กําลังในใจ รวมถึงรับรู้ความรู้สึกผ่อนคลายและจังหวะลมหายใจของตัวเราเองอย่างเป็นธรรมชาติ

การเขียนบันทึก เป็นกระบวนการสําหรับการใคร่ครวญประสบการณ์ และสภาวะภายในของบุคคลผ่านการเขียน เป็นการเขียนที่ผ่อนคลาย วางใจที่จะเป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระ ไร้รูปแบบ ปราศจากความผิดถูกทางภาษา เนื้อหา หรือหลักไวยากรณ์ และปราศจากการคิดเตรียมไว้ล่วงหน้า ดังนั้นสิ่งที่สําคัญในการฝึกปฏิบัติการเขียนบันทึกก็คือ การลงมือเขียนทันทีโดยไม่ต้องคิดไว้ก่อน แล้วคอยดูว่าอะไรจะผุดปรากฏขึ้นมาจาก การเขียนนั้น

  • เริ่มจากเตรียมความพร้อมของสถานที่ ขอให้เป็นที่ที่มีความ สงบเงียบ ปราศจากสิ่งรบกวนต่างๆ จากนั้น นําพาตนเองมาอยู่ในสถานที่นั้น รับรู้ความสงบและความผ่อนคลายทั้งใน ร่างกายและจิตใจ ด้วยการทําสมาธิสักครู่ ปล่อยวางความคิด ความกังวลต่างๆ ระหว่างนี้ หากเป็นการเขียนบันทึกแบบเปิดกว้างไม่มีประเด็น ก็ขอให้ปล่อยใจให้ว่างเป็นอิสระ และ พร้อมที่จะให้ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ในปัจจุบันขณะได้ผุดขึ้น เพื่อเป็นตัวนําทางในการเขียนต่อไป แต่หากเป็นการเขียนบันทึกแบบมีประเด็น (เช่น สืบค้นเป้าหมายชีวิต แรงบันดาลใจ เจตจํานง ทบทวนประสบการณ์ หาทางออกของปัญหา ฯลฯ) ก็ขอให้ตั้งเจตนาเกี่ยวกับประเด็นนั้นไว้ในใจอย่างเบาๆ พอ ให้รู้ตัว ไม่ต้องเคร่งเครียดหรือเฝ้าขบคิดกับมันแต่อย่างใด
  • เมื่อพร้อม ขอให้เริ่มลงมือเขียน โดยจรดปากกาลงบน หน้ากระดาษแล้วเริ่มต้นเขียน ไม่ต้องคิดหรือเรียบเรียงให้เป็นประโยคที่สละสลวย ไม่ตัดสินถูกผิด เขียนจากสิ่งที่ผุดขึ้นมา ในใจในปัจจุบันขณะนั้นของตนเอง เขียนทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ ในใจออกมาอย่างเต็มที่ ที่สําคัญขอให้เป็นถ่ายทอดเรื่องราวอย่างต่อเนื่องลื่นไหลโดยไม่ต้องหยุดเขียนหรือยกปากกาขึ้นจากหน้ากระดาษ จนกว่าจะครบเวลาตามที่ตั้งใจไว้ (เช่น 5 หรือ 10 นาที) หรือจนกว่าจะรู้สึกเพียงพอ
  • สามารถฝึกการเขียนบันทึกเช่นนี้บ่อยๆ เท่าที่ต้องการ หรือทํา เป็นประจําเช่น 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสําคัญ ในการใคร่ครวญและสร้างการตระหนักรู้ภายในตนเอง
  • เมื่อเขียนบันทึกเสร็จในครั้งนั้น หรือหลังจากที่เขียนไปได้หลายครั้งแล้ว ลองหาโอกาสกลับมาอ่านทบทวนสิ่งที่ตนเองได้เขียนไป โดยตั้งใจอ่านบันทึกนั้นสัก 2-3 รอบ ด้วยใจที่เปิดกว้าง เป็นกลาง อ่านเสมือนว่าเป็นคนอื่นที่ได้มาอ่านสิ่งนี้ ลองสัมผัสรับรู้ความหมายและความรู้สึกภายในข้อความเหล่านั้น สังเกตรูปแบบหรือลักษณะอาการของความรู้สึกนึกคิดที่มักพบได้บ่อยๆ จากข้อความ อาจเลือกพิจารณาคําหรือส่วนของ ข้อความที่โดนใจ สะดุดใจ หรือให้ความหมายที่พิเศษบางอย่าง ทั้งนี้เพื่อนําไปสู่การเห็นเท่าทันและตระหนักรู้บางสิ่งบางอย่างในตนเอง หรือในสถานการณ์ที่ตนเองกําลังเผชิญอยู่