สุขภาวะทางปัญญา หมายถึง การหยั่งรู้ความเป็นจริง (Insight) เป็นการเห็นและเข้าใจความเป็นจริงภายในตนเองของผู้นําทั้งในระดับทั่วไป และในระดับสัจธรรม และเป็นความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกับผู้อื่นและธรรมชาติ ตามแนวคิดของรัตติกรณ์ จงวิศาล และคณะ (2564) แบ่งออกเป็น 3 มิติ 16 องค์ประกอบ ดังนี้
มิติที่ 1 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาวะทางจิตวิญญาณ (Cognitive knowing in Spiritual Health)
หมายถึง การที่ผู้นํารับรู้และเข้าใจ (Insight) ความเป็นจริงทางจิตวิญญาณเป็นการรับรู้และเข้าใจความจริงภายในตนเองทั้งในระดับทั่วไป เช่น การเห็นคุณค่าในตนเอง เห็นคุณค่าของงาน และในระดับสัจธรรม เช่น เข้าใจคุณค่าที่แท้จริงของชีวิต เห็นความสําคัญของศีลธรรม และรวมถึงการที่ผู้นํามีความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่ดี (Connectedness) กับตนเอง ผู้อื่น และธรรมชาติ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ (องค์ประกอบ 1-5) ได้แก่
องค์ประกอบที่ 1 การรับรู้และเข้าใจความจริงระดับทั่วไป (Secular truth) หมายถึง การที่ผู้นํามีการเห็นคุณค่าในตนเอง เห็นว่าตนเองมีอะไรหลายอย่างที่น่าภาคภูมิใจ มีการดําเนินชีวิตที่สมดุล เห็นคุณค่าความหมายของชีวิต คิดว่าชีวิตของตนเองมีคุณค่า เห็นคุณค่าของงาน เห็นข้อดีที่ได้ทํางานที่ท่านทําอยู่ในปัจจุบัน และมีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน
องค์ประกอบที่ 2 การรับรู้และเข้าใจความจริงระดับสัจธรรม (Noble truth) หมายถึง การที่ผู้นํามีการหยั่งรู้ความจริงสูงสุด รู้ว่าอะไรคือคุณค่าที่แท้จริงของชีวิต เข้าใจว่าอะไรคือแก่นธรรมทางศาสนา เห็นความดีงามทางศีลธรรม
องค์ประกอบที่ 3 ความสัมพันธ์เชิงเอื้ออาทร (Empathic Relationship) หมายถึง การที่ผู้นํามีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น การมีมิตรภาพที่ดี มีความเป็นมิตรกับผู้อื่น มีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น ให้ความสําคัญต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น มีความเคารพและเห็นคุณค่าในผู้อื่น
องค์ประกอบที่ 4 ความกรุณา (Compassion) หมายถึง การที่ผู้นําเห็นความจําเป็นในการ พึ่งพาอาศัยกัน มีความกรุณา ปรารถนาอยากจะช่วยผู้อื่นพ้นความทุกข์ มีการช่วยเหลือกัน เห็น ความสําคัญกับการได้ช่วยเหลือผู้อื่น มีการอุทิศตนเพื่อผู้อื่น
องค์ประกอบที่ 5 ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับธรรมชาติ (Connectedness with nature) หมายถึง การที่ผู้นําตระหนักว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับ ธรรมชาติ เห็นความเป็นองค์รวมระหว่างตนเองและสิ่งแวดล้อม มีความรักในธรรมชาติและสรรพสิ่ง
มิติที่ 2 สภาวะบ่งชี้การมีสุขภาวะทางจิตวิญญาณ (States indicating Spiritual Health)
หมายถึง การที่ผู้นํามีพฤติกรรมและจิตใจที่แสดงให้เห็นถึงการมีชีวิตที่สมดุล มีสัมพันธภาพ ที่ดีงามกับคนรอบข้าง การมีสติ การยอมรับตนเอง ความสงบใจ มีเป้าหมายที่มีคุณค่า ความมีใจแผ่ กว้าง ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ (องค์ประกอบที่ 6-12) ได้แก่
องค์ประกอบที่ 6 การมีชีวิตที่สมบูรณ์ (Perfect Livelihood) หมายถึง การที่ผู้นํามีการดําเนินชีวิตที่สมดุล การพบศักยภาพสูงสุดของตนเอง ได้ใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ ในการทํางานและ ดําเนินชีวิตอยู่ ได้ทําสิ่งที่ท้าทายความสามารถ ได้ทําสิ่งที่ตนเองสนใจหรือให้คุณค่าแม้ว่าเป็นเรื่องยาก
องค์ประกอบที่ 7 สัมพันธภาพที่ดีงาม (Right relationship) หมายถึง การที่ผู้นํามี สัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้าง มีเพื่อนหรือคนที่ตนเองไว้ใจที่สามารถบอกกล่าวความรู้สึกลึกๆ ในใจแก่กันได้ มีการรับฟังผู้อื่นให้การช่วยเหลือผู้อื่น และอุทิศตนเพื่อทําประโยชน์ให้ผู้อื่น
องค์ประกอบที่ 8 การมีสติ (Mindfulness) หมายถึง การที่ผู้นําสามารถรับรู้และตามทันอารมณ์ในใจของตนเอง ก่อนที่จะแสดงมันออกมา มีสติรู้สึกตัว มีช่วงเวลาที่จะยั้งคิด และไตร่ตรอง ก่อนที่จะตัดสินใจหรือลงมือทําสิ่งใดๆ มีจิตใจเป็นปกติและมั่นคง เมื่อมีอารมณ์ไม่ปกติก็สามารถจัดการอารมณ์ของตนเองให้กลับมาเป็นปกติได้ ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ และมีความสงบเย็น
องค์ประกอบที่ 9 การยอมรับตนเอง (Self-acceptance) หมายถึง การที่ผู้นํามีความเข้าใจ สามารถยอมรับข้อดีข้อด้อยในตนเอง มีความอ่อนน้อมถ่อมตน สามารถน้อมรับฟังความคิดเห็น หรือคําวิจารณ์จากผู้อื่นได้ มีความรักความเมตตาและสามารถให้อภัยตนเองได้ และมีการเคารพและเห็นคุณค่าในตนเอง
องค์ประกอบที่ 10 ความสงบใจ (Equanimity) หมายถึง การที่ผู้นําสามารถปล่อยวาง ความเครียดหรือความไม่สบายกายไม่สบายใจได้ มีความรู้สึกเป็นอิสระ ปล่อยวางตนเองจากเงื่อนไขต่างๆ ในชีวิตได้ ดําเนินชีวิตแบบเรียบง่าย รู้สึกแจ่มใสเบิกบานในชีวิต รู้สึกว่าชีวิตของตนเองเป็นชีวิตที่ดี มีสมาธิ มีจิตใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน มีความรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ
องค์ประกอบที่ 11 เป้าหมายที่มีคุณค่า (Strong Sense of Purpose) หมายถึง การที่ผู้นําเห็นความหมายและคุณค่าของชีวิต และดําเนินชีวิตเพื่อสิ่งนั้น เห็นเป้าหมายในชีวิตของตนเอง ชัดเจน เห็นคุณค่าในงานที่ทํา ทํางานโดยเอาคุณค่าของงานเป็นตัวจูงใจ ไม่ใช่เงินทองหรือสิ่งที่จะได้รับเป็นการตอบแทน รู้เท่าทันอัตตาหรือการเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง และพยายามละวางมัน ไม่เห็นแก่ตัว ทําเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นก่อนตนเอง
องค์ประกอบที่ 12 ความมีใจแผ่กว้าง (Expansive Consciousness) หมายถึง การที่ผู้นําสามารถอยู่ร่วมและให้ความเป็นมิตรกับคนรอบข้างได้ มีความรัก มีความเมตตาต่อผู้อื่น รับรู้และ ยอมรับในข้อดีและข้อด้อยของผู้อื่นได้ด้วยความเข้าใจ มีความเข้าอกเข้าใจ สามารถรับรู้ความรู้สึก และความต้องการในใจของผู้อื่นได้ ให้อภัยผู้อื่นได้ มีความกตัญญูรู้คุณ รู้สึกชื่นชมและขอบคุณใน ความดีของผู้อื่นและสรรพสิ่งรอบตัว เคารพในความแตกต่าง ยึดมั่นในคุณธรรม ความดี เป็นหลักในการดําเนินชีวิต รู้สึกเชื่อมโยงกับธรรมชาติ พระเจ้า สรรพสิ่งรอบตัว
มิติที่ 3 ปัจจัยเกื้อหนุนสู่การมีสุขภาวะทางจิตวิญญาณ (Supporting Factors for Spiritual Health)
หมายถึง การฝึกปฏิบัติทางจิตวิญญาณ (Spiritual Exercises) เป็นการกระทําที่ส่งเสริมให้มีการพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณในผู้นํา ทั้งการกระทําที่เป็นการฝึกปฏิบัติภายนอก และการฝึกปฏิบัติทางจิตใจ เช่น การสะท้อนใคร่ครวญ การไตร่ตรอง ความเอื้ออาทร เสียสละ มีความรักความเมตตาต่อผู้อื่น มีกัลยาณมิตร และมีกิจกรรมทางจิตวิญญาณ เช่น การทําสมาธิ ภาวนา ทํางานจิตอาสา มีเวลาอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ฝึกการรบรู้และยอมรับความทุกข์ในชีวิต ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ (องค์ประกอบที่ 13-16)
องค์ประกอบที่ 13 การสะท้อนใคร่ครวญ (Contemplation) หมายถึง การที่ผู้นํามีการ ฝึกปฏิบัติในด้านต่างๆ ได้แก่ การเชื่อมโยงกับผู้อื่น ความเข้าอกเข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่นได้ การ สะท้อนใคร่ครวญภายใน ฝึกสติและทบทวนชีวิตอยู่เสมอ สามารถอยู่กับคนที่คิดแตกต่างจากตนเองได้ โดยไม่ถูกแรงต้านภายในใจรบกวน เห็นคุณค่าในตนเองอย่างที่ตนเองเป็น ไม่คิดตัดสินผู้อื่น สามารถให้อภัยความผิดพลาดของตนเองได้ และให้อภัยความผิดพลาดของผู้อื่นได้
องค์ประกอบที่ 14 ความเอื้ออาทร (Altruism) หมายถึง การที่ผู้นํามีการฝึกปฏิบัติในด้านต่างๆ ได้แก่ การเสียสละส่วนตนเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม การมีศรัทธาในคุณงามความดี และนํามา ปฏิบัติในชีวิตประจําวัน หมั่นพัฒนาความรักความเมตตาต่อผู้อื่นให้เพิ่มมากขึ้น ปรารถนาที่จะตอบ แทนบุญคุณของผู้อื่นและสรรพสิ่งรอบตัว ละเว้นการทําผิดตามหลักศีลธรรมหรือหลักมนุษยธรรมที่ตนเองยึดถือ หาโอกาสทําความดีอยู่เสมอ
องค์ประกอบที่ 15 กัลยาณมิตร (Authentic friends) หมายถึง การที่ผู้นํามีเพื่อนหรือมีกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีเพื่อนหรือผู้ที่มีความเข้าอกเข้าใจในตนเองอย่างแท้จริง การมี กัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ชุมชนที่คอยเกื้อกูลช่วยเหลือ รับฟังและให้คําแนะนํา
องค์ประกอบที่ 16 กิจกรรมทางจิตวิญญาณ (Spiritual Activities) หมายถึง การที่ผู้นําได้ทํากิจกรรมต่างๆ ได้แก่ ฝึกฝนจิตใจอยู่กับความเงียบ แบ่งเวลาเพื่อพักจิตใจให้เกิดความสงบได้ ภาวนา ทําสมาธิ หรือฝึกที่จะอยู่กับความเงียบในใจได้ ฝึกความพากเพียรไม่ย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรค ในชีวิต ได้อ่านหนังสือหรือรับฟังคําสอนที่เกี่ยวข้องกับหลักคุณงามความดีหรือหลักศาสนา มีโอกาส ทําสิ่งต่างๆ ที่เอื้ออํานวยให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น ได้ทํางานจิตอาสาเมื่อมีโอกาส หาเวลาที่จะอยู่ ใกล้ชิดกับธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ใบหญ้า ท้องฟ้า สรรพสัตว์ต่างๆ ได้ฝึกการรับรู้และยอมรับความทุกข์ในชีวิต และทําความเข้าใจกับความทุกข์นั้นๆ ได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมที่เป็นธรรม หรือสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย มีช่องทางหรือมีผู้นําที่จะช่วยให้ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่ถูกต้อง มีความสามารถที่จะพิจารณาหรือไตร่ตรองความถูกต้องของข้อมูลความรู้ต่างๆ ที่ตนเองได้รับ
ที่มา
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ภาวะผู้นำเชิงจิตวิญญาณ สำหรับผู้นำในองค์การโดย รศ.ดร. รัตติกรณ์ จงวิศาล