สุขภาวะมี 2 ประเภทใหญ่ คือ
มนุษย์ต้องการวัตถุปัจจัยสําหรับชีวิต เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ปัจจัย 4 เป็นพื้นฐานในเบื้องต้น
เบื้องถัดมา ก็เพิ่มปัจจัย 5 ปัจจัย 6 7 8 9 10… มากขึ้นไปเรื่อยๆ
แต่ชีวิตไม่ได้ประกอบด้วยวัตถุซึ่งเป็นรูปธรรมเท่านั้นยังประกอบด้วยนามธรรม เช่น ความรู้สึกนึกคิดเกิดเป็นความพอใจ ไม่พอใจ หรือความรู้สึกเป็นสุขหรือทุกข์
มนุษย์เป็นสัตว์ก็จริง แต่ต่างจากสัตว์อื่นที่สมองพัฒนาจนสามารถรับรู้ในสิ่งนอกเหนือจากวัตถุ คือ คุณค่า
สัตว์เป็นไปตามสัญชาตญาณอย่างสัตว์ ที่เรียกว่า กิน ขี้ ปี้ นอนหรือเรื่องทางวัตถุเท่านั้น ไม่มีบุญ ไม่มีบาป
แต่มนุษย์มีสํานึกทางคุณค่า จึงมีบุญ มีบาปเพิ่มขึ้นเป็นอีกมิติหนึ่งของชีวิต ฉะนั้น เรื่องสุขทุกข์ของมนุษย์จึงมีมิติที่เพิ่มขึ้น มากกว่าของสัตว์ จนมีคําจํากัดความว่า
สุขภาวะที่สมบูรณ์ (Complete well-being)ประกอบด้วย
จิตวิญญาณ หรือ Spiritual หมายถึง คุณค่าเหนือวัตถุ ซึ่งแปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า สุขภาวะทางปัญญา เพราะเกิดจากการเข้าถึงความจริงเหนือตัวตน
ลักษณะและความเป็นไป ของสุขภาวะทางวัตถุ มี 10 ประการ ดังต่อไปนี้
อารยธรรมวัตถุนิยมดําเนินมาได้ประมาณ 500 ปี
มาถึงจุดวิกฤตอย่างยิ่งจนไม่มีทางไปแบบเดิม จึงต้องมีวิถีใหม่ จึงต้องมีวิถีใหม่โดยสิ้นเชิง
สุขภาวะทางปัญญา มีลักษณะตรงข้ามโดยสิ้นเชิงกับลักษณะ 10 ประการของสุขภาวะทางวัตถุ
จิตวิญญาณ หรือ Spiritual หมายถึง คุณค่าเหนือวัตถุ ซึ่งแปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า สุขภาวะทางปัญญา เพราะเกิดจากการเข้าถึงความจริงเหนือตัวตน
จากหนังสือ สุขภาวะทางปัญญา 15 เส้นทาง
สู่สุขภาวะที่สมบูรณ์ของมนุษยชาติ โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี