จิตตปัญญาศึกษากับการพัฒนาภายใน​

จิตตปัญญาศึกษากับการพัฒนาภายใน​

จิตตปัญญาศึกษา หมายถึง การรู้จิตของตัวเองแล้วเกิดปัญญา ปัญญา หมายถึงการเข้าถึงความจริงสูงสุด หรือบางทีก็พูดว่า การเข้าถึง ความจริง ความดี ความงาม

จิตตปัญญาศึกษากับการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญา*

เรื่องของจิตวิญญาณและสุขภาวะทางปัญญา (Spiritual Health)  มีความเป็น นามธรรมสูง ทําให้เรียนรู้ทําความเข้าใจได้ไม่ง่ายนัก แนวทางการบ่มเพาะพัฒนาเรื่องนี้โดยผู้รู้และนักวิชาการหลากหลายท่าน กระนั้น การทําสิ่งนี้ให้ปรากฏขึ้นในชีวิตจริงและในสังคมก็ยังเป็นเรื่องใหม่ และท้าทาย ใน 2 ทศวรรษหลัง สังคมไทยเริ่มมีการขับเคลื่อนเรื่องนี้ขึ้นมาอย่างจริงจัง โดยการทํางานร่วมกันของคนกลุ่มหนึ่งชื่อ กลุ่มจิตวิวัฒน์ เป็นการรวมตัวของกลุ่มคน เช่น นักคิด นักปฏิบัติ นักวิจัย อาจารย์ นักเขียน รวมถึงนักบวช ที่สนใจศึกษาเรื่องของจิตและกระบวนการเรียนรู้ในกระบวนทัศน์ใหม่ (New Consciousness) หรือการปฏิวัติทางจิตวิญญาณ ซึ่งจะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางความคิดของ ผู้คนในสังคม

ในที่สุด สังคมการศึกษาไทยก็ได้มารู้จักกับแนวทางการเรียนรู้แบบใหม่ที่ ผสานการพัฒนาด้านจิตวิญญาณเข้ากับการศึกษากระแสหลัก ภายใต้ชื่อ“จิตตปัญญาศึกษา”

จุดเริ่มต้น จิตตปัญญาศึกษา

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2549 สภามหาวิทยาลัยมหิดลได้มี มติให้ดําเนินการจัดตั้งศูนย์จิตตปัญญาศึกษาขึ้นในมหาวิทยาลัยมหิดล โดย มีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาให้เกิดขึ้นใน ระบบการศึกษาไทย ด้วยเล็งเห็นถึงความสําคัญของการศึกษาเพื่อพัฒนามิติด้านในของมนุษย์

จากรากศัพท์คําว่า Contemplation ซึ่งแปลตรง ได้ว่า การไตร่ตรอง หรือกระบวนการคิดพิจารณาอย่างเนิ่นนาน โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง กระบวนการคิดเกี่ยวกับพระเจ้า Contemplative Education หรือจิตตปัญญาศึกษาในประเทศไทยนั้น ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลทาง แนวคิดมาจากการศึกษาแบบ Contemplative Education ในตะวันตก หนึ่งก็มีต้นทุนทางสังคมและวัฒนธรรมการศึกษา รวมถึงการเรียนรู้ทางจิตวิญญาณและศาสนาของบ้านเราเองด้วย

 ดังนั้นการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาในประเทศไทยจึงเริ่มก่อตัวขึ้นอย่างเป็นระบบ ผ่านวิธีการทบทวนและสืบค้นองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางโดยกลุ่มนักวิชาการทางการศึกษา จนกลายมาเป็นแนวคิดตั้งต้นให้กับศาสตร์ทางด้านนี้:

 “จิตตปัญญาศึกษา เป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ซึ่งสัมพันธ์กับชีวิตจริง เป็นการเรียนรู้ที่เปิดกว้าง รับฟังอย่างลึกซึ้ง เคารพใน ศักยภาพของทุก ๆ คน เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้น้อมนํามาสู่ใจอย่าง ใคร่ครวญ เปิดพื้นที่การเรียนรู้ที่มองตามความเป็นจริง เน้นความสดใหม่ และอยู่กับปัจจุบันขณะ ให้ความสําคัญกับภูมิปัญญาอันหลากหลาย และ เน้นความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ … เป็นกระบวนการเรียนรู้และชุมชนที่ เกื้อกูลต่อกระแสแห่งการพัฒนาจากจิตเล็ก (จิตที่ติดกับอัตตาตัวตนที่ คับแคบ มองโลกเป็นส่วนเสี้ยว) ไปสู่จิตใหญ่ (จิตที่ตื่นรู้ หยั่งรู้ ความ เชื่อมโยงของสรรพสิ่งเป็นองค์รวม มีความรักความเมตตาอันกว้างใหญ่ ไพศาลไม่มีประมาณ) โดยหยั่งรากลงถึงฐานคิดเชิงศาสนา มนุษยนิยม และ องค์รวมบูรณาการ”

(ชลลดา ทองทวี และคณะ, 2551)

ต่อมา เมื่อจิตตปัญญาศึกษาได้ถูกนํามาขับเคลื่อนผ่านระบบการ เรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา กระบวนทัศน์และแนวคิดจึงถูกพัฒนาความลุ่มลึกและชัดเจนขึ้นเป็นลําดับ ดังผลการศึกษาในงานวิจัยเรื่อง ญาณวิทยาของจิตตปัญญาศึกษาในประเทศไทย (สมสิทธิ์ อัสดรพิธี, 2554) ได้บ่งชี้เกี่ยวกับประเด็นสําคัญ ๆ ไว้ดังนี้

  1. ที่มา จิตตปัญญาศึกษามีจุดกําเนิดมาจากความพยายามที่จะ แก้วิกฤติการณ์ต่าง ๆ อันเป็นผลของการศึกษาเรียนรู้ที่ยังยึดโยงอยู่กับกระบวนทัศน์เดิมแบบวิทยาศาสตร์กลไกและความเป็นวัตถุนิยม รวมถึง ต้องการก้าวข้ามข้อจํากัดทั้งหลายของกระบวนทัศน์นั้น
  2. ฐานปฏิบัติการ จิตตปัญญาศึกษาอาศัยจิตใจหรือโลกด้านใน ของตนเองเป็นฐานปฏิบัติการหลักสําหรับการเรียนรู้ อีกทั้งเชื่อว่าความรู้ สามารถเกิดขึ้นได้จากภายในตัวผู้เรียนเอง
  3. แนวทางการเรียนรู้ จิตตปัญญาศึกษามีรากของแนวคิดหลัก 3 ด้านที่ใช้เป็นแนวทางในการเรียนรู้ ได้แก่ แนวคิดเชิงศาสนา แนวคิดเชิงมนุษยนิยม และแนวคิดเชิงองค์รวมบูรณาการ
  4. การเตรียมความพร้อม จิตตปัญญาศึกษาต้องอาศัยความพร้อม ของจิตใจผู้เรียนเป็นคุณสมบัติเบื้องต้นสําหรับการเรียนรู้ ที่สําคัญได้แก่ พลังแห่งสติ รวมถึงท่าทีที่จําเป็นอื่น ๆ เช่น ความศรัทธาวางใจ ความคิด สร้างสรรค์ ความเบิกบานเสรี ความเปิดกว้างเป็นกลาง ความสดใหม่ ความ ประณีตอ่อนน้อม ความพากเพียรมุ่งมั่น ความสมดุลของปัญญาสามฐาน การรับฟังและใคร่ครวญอย่างแยบคายลึกซึ้ง เป็นต้น
  5. วิถี จิตตปัญญาศึกษาเป็นการเรียนรู้ของคนที่อยู่บนวิถีและ สิ่งแวดล้อมแห่งการปฏิบัติและการฝึกฝนตนเองทางจิตวิญญาณอย่างเป็น ประจําสม่ําเสมอ เช่น การภาวนา เจริญสติด้วยรูปแบบต่าง ๆ การทํางานสังคม จิตอาสา การติดตามรับใช้ครูบาอาจารย์ การปลีกวิเวก การอาศัยพิธีกรรม ความศักดิ์สิทธิ์ การมีสังฆะกัลยาณมิตร เป็นต้น
  6. ผล จิตตปัญญาศึกษาเป็นการเรียนรู้ที่นําไปสู่ผลสัมฤทธิ์เชิง จิตวิญญาณ 2 ประการสําคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงพื้นฐาน (Transformation) ทั้งระดับปัจเจก องค์กร และสังคม และการปลดปล่อยสู่การมีอิสรภาพ ที่แท้ (Emancipation)

 

จิตตปัญญาเพื่อการพัฒนาภายใน

จิตตปัญญาศึกษาอาศัยเครื่องมือที่เรียกว่า การภาวนา ด้วยจิตใจที่มีความผ่อนคลาย และดํารงอยู่ร่วมอย่างใกล้ชิด ร่วมกับสิ่งที่ถูกศึกษาอย่างเป็นของกันและกัน ฝึกฝนที่จะมีความรักที่แผ่ขยาย เปิดรับ และตระหนักรู้เท่าทันอคติต่าง ๆ อยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อจะนําไปสู่การมีปัญญาเห็นสภาวะเบื้องลึกของสรรพสิ่งได้โดยแท้จริงยิ่งขึ้น ด้วยปฏิบัติการทางจิตใจดังกล่าว จึงนํามาซึ่งดอกผลแห่งการเรียนรู้ที่น่าสนใจและแตกต่างจากความรู้ที่ได้จากการศึกษาตามกระแสหลักทั่วไป

การดำรงสติมั่นอยู่กับการเรียนรู้เช่นนี้ ย่อมนําไปสู่ การเห็นตรงตามสภาวะ การตระหนักรู้ (Awareness) ในรูปแบบทางอารมณ์และความคิดที่ตนเองยึดติด ความรอบรู้และการเติบโตขึ้นทางจิตวิญญาณ (Spiritual Literacy) รวมถึงสุขภาวะทางกาย จิตใจ และปัญญา สู่ผลสัมฤทธิ์ปลายทาง ได้แก่

  • การเปลี่ยนแปลงพื้นฐาน (Transformation) ทั้งระดับปัจเจก บุคคล องค์กร และสังคม อันหมายถึง การยกระดับขึ้นของ จิตสํานึก เกิดมุมมองและกระบวนทัศน์ใหม่ที่กว้างขวางขึ้น สามารถทําความเข้าใจโลกได้สุ่มลึกและตรงกับความเป็นจริงได้ยื่งขึ้น
  • การปลดปล่อยตนเองสู่การมีอิสรภาพที่แท้จากสิ่งที่ตนเองยึดติด (Emancipation) อันหมายถึง การบ่มเพาะคุณลักษณะ เชิงบวกด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความรักความเมตตา คุณธรรม ความดีงาม การตระหนักรู้เท่าทัน ความเปิดกว้าง เป็นกลางปล่อยวางจากการยึดติดของตัวตนลง รวมไปถึงการเห็น เชื่อมโยงกับตนเอง ผู้อื่น โลก และธรรมชาติ การมีสุขภาวะที่ดี ชีวิตที่สมดุลและความเป็นมนุษย์ที่เต็มเปี่ยมยิ่งขึ้น

และเมื่อแยกแยะรายละเอียดของผลการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาเป็นหมวดหมู่ ก็พบว่ามีความสอดคล้องกับนิยามความหมายของสุขภาวะทางจิตวิญญาณ อันเนื่องจากการปฏิบัติตนบนหนทางจิตตปัญญา ดังนี้ (สมสิทธิ์ อัสตรนิธิ, 2554)

  • การเปลี่ยนแปลง (Transformation) คือการยกระดับขึ้นของจิตสํานึก / กระบวนทัศน์ การเปลี่ยนแปลงพื้นฐานใน ตนเอง ในกลุ่ม และในสังคม
  • ความรู้ระดับปัญญา คือการมีวิจารณญาณ การตระหนักรู้ การละวางอัตตาตัวตน การตื่นรู้ เข้าถึงความเป็นจริง
  • การเห็นเชื่อมโยง คือการเข้าใจตนเอง / ผู้อื่น การเชื่อมโยง เป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง โลก และธรรมชาติ การมีจิตใหญ่ การมีชีวิตที่สมดุล กลมกลืนกันในหลากหลายมิติ
  • ศักยภาพความเป็นมนุษย์ คือการเข้าถึงศักดิ์ศรี คุณค่าความ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ การเชื่อมโยงสู่ งส วิตและการงาน
  • คุณภาพเชิงบวกอื่น ๆ คือการมีความรักความเมตตา คุณธรรม ความดีงาม ความเบิกบาน ความเปิดกว้าง อิสรภาพ สุขภาวะ ทางกาย / ใจ จิตสาธารณะ และชีวิตที่มั่นคง

แก่นจิตตปัญญาศึกษา

แก่นจิตตปัญญาหรือองค์ประกอบหลักในการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา ประกอบด้วย

  • Mindfulness การมีสติ เปิดรับประสบการณ์ตรงในปัจจุบันขณะ
  • Investigation กระบวนการสืบค้นเข้ามาภายในตนที่เหมาะสมกับจริต
  • Natural effort การน้อมมาปฏิบัติในชีวิตอย่างต่อเนื่องและมุ่งมั่น
  • Delightful relaxation ความผ่อนคลายเบิกบาน
  • Sustained equanimity การเห็นความเป็นจริงของธรรมชาติ ตามที่เป็นด้วยสมาธิ

หรือเรียกขานโดยย่อว่า MINDS “จากจิตเล็กสู่จิตใหญ่” นั่นคือ เป็นหนทางสู่การตื่นรู้และเกิดจิตสํานึกใหม่นั่นเอง (ชลลดา ทองทวี และคณะ, 2551)

กล่าวโดยสรุป จิตตปัญญาศึกษากับสุขภาวะทางจิตวิญญาณมี ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยตรง เครื่องมือ รูปแบบและวิถีของการฝึก ปฏิบัติต่าง ๆ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา อาจถูกนําไปใช้ประโยชน์ได้ทั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมของจิตใจ ของผู้เรียนให้เหมาะที่จะศึกษาใคร่ครวญ ในบริบทใด ๆ หรือเพื่อเป็นตัวสร้างการเรียนรู้โดยตรงให้แก่ผู้เรียนได้มี ประสบการณ์และเติบโตทางจิตวิญญาณในตนเอง

ทั้งนี้ทั้งนั้น ผลสัมฤทธิ์ที่มุ่งหวังก็คือ ปัญญาที่เห็นเท่าทันสภาวะเบื้องลึกในสรรพสิ่ง คุณลักษณะ อันดีงามของจิตใจที่เปี่ยมด้วยความรักความเมตตา อิสรภาพ และความสุข รวมถึงการยกระดับขึ้นทางจิตวิญญาณสู่การเชื่อมโยงสัมพันธ์กับสรรพชีวิตและธรรมชาติอันไพศาล ซึ่งก็คือการเข้าสู่คุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ที่เต็ม เปี่ยมในที่สุด หรืออีกนัยหนึ่ง ทั้งหมดนี้ก็คือการพัฒนาสู่การมีสุขภาวะทาง จิตวิญญาณหรือการเดินทาง “จากจิตเล็กสู่จิตใหญ่” อันเป็นเป้าหมายของ จิตตปัญญาศึกษานั่นเอง

7 หลักการพื้นฐานของกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา**

ธนา นิลชัยโกวิทย์ และคณะ ได้ทําการวิเคราะห์และสังเคราะห์รูปแบบ แนวทาง เนื้อหา แนวคิดและปรัชญาในการจัดการกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา เพื่อเป็นพื้นฐานการพัฒนาจิตตปัญญาในสังคมไทย และพัฒนาชุดการเรียนรู้การฝึกอบรมด้านจิตตปัญญาศึกษาควบคู่ไปกับการพัฒนากลุ่ม หลักการซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการอบรมหรือการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษา ได้ 7 ประการ เรียกว่า “หลักจิตตปัญญาศึกษา 7” หรือชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า TC’s คือ

1. การพิจารณาด้วยใจใคร่ครวญ (Contemplation)

หลักการพิจารณาด้วยใจอย่างใคร่ครวญ อาศัยคุณลักษณะสองประการ คือ สภาวะจิตกับการทํางานทางจิต โดยกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา อาศัยการปรับสภาวะจิตสู่สภาวะที่เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น สภาวะสมาธิ สภาวะรู้สึกตัว เป็นต้น เมื่อ ปรับสภาวะทางจิตแล้ว จึงอาศัยสภาวะทางจิตนั้นทํางานทางจิต ซึ่งการพิจารณาด้วยใจใคร่ครวญ จะเชื่อมโยง กับประสบการณ์ไปในด้านต่างๆ อย่างน้อย 3 ด้าน คือ

1) ด้านพุทธิปัญญา อาจเรียกได้ว่าเป็นการคิด กระบวนการระบบ (Systems Thinking)

2) ด้านภายในบุคคล อาจเรียกว่าเป็นการย้อนกลับมาดูตนเอง (Self- Reflection) การสืบค้นต้นเอง (Self-Inquiry) และ

3) ด้านระหว่างบุคคล อาจเรียกว่าเป็นการร่วมรู้สึก (Empathy) เป็นต้น

ซึ่งจะช่วยกระตุ้นศักยภาพการเรียนรู้และพัฒนาบุคคลอย่างสมบูรณ์ ซึ่งหลักการเหล่านี้ อาศัยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น กระบวนการสุนทรียสนทนา การรับฟังเรื่องราวของผู้อื่นอย่างใคร่ครวญ เป็นต้น

2.ความรักความเมตตา (Compassion)

กระบวนกรเป็นหัวใจสําคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการ เรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา หากกระบวนกรมีพลังแห่งความรักความเมตตาจะสามารถส่งต่อพลังของตนเอง ทั้งฐานกาย ฐานใจ และฐานหัวให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ซึ่งพลังทั้งหมดนี้จะช่วยสร้างพื้นที่ความปลอดภัย ให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ทําให้เกิดความมั่นใจในการเข้าสู่พื้นที่เสี่ยง เกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น บรรยากาศ ระหว่างการฝึกอบรม ก็จําเป็นต้องสร้างความรักความเมตตาและการยอมรับซึ่งกันและกันให้เกิดขึ้นในกลุ่ม

เพราะบรรยากาศในลักษณะดังกล่าวจะช่วยทําให้เกิดความพร้อมในการเปิดเผยตนเอง และทําให้บุคคลเกิด รักความเมตตากับตนเอง เพื่อให้เกิดการยอมรับและเข้าใจตนเอง สามารถชื่นชมในข้อดี ยอมรับข้อจํากัดและ จุดอ่อนของตนเอง นอกจากนี้หลักของการจัดกระบวนการ และสถานที่ในการจัดการฝึกอบรมยังเป็นปัจจัยที่ จะช่วยกระตุ้นให้เกิดศักยภาพในการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม คือ ต้องใส่ใจในกระบวนการและ บรรยากาศแวดล้อมที่เป็น “สัปปายะ” คือเป็นมิตรต่อผู้เข้ารับการอบรม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ความกล้าในการเข้าสู่พื้นที่เสี่ยงเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังหมายถึงการส่งเสริมให้เกิดความรอบข้าง

3.การเชื่อมโยงสัมพันธ์ (Connection)

การเชื่อมโยงสัมพันธ์เป็นองค์ประกอบที่สําคัญในการจัด กระบวนการเรียนรู้เชิงจิตตปัญญามีรากฐานมาจากกระบวนการทัศน์องค์รวม

ประเด็นแรก คือ กระบวนการที่มีพลังในการเปลี่ยนแปลงต้องสามารถช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเชื่อมโยงประสบการณ์ในกระบวนการเข้ากับชีวิตได้และสามารถนําไปสู่กระบวนการเข้ามาสู่ภายใน เกิดประสบการณ์ร่วมกัน ซึ่งกระบวนกรอาจจะชี้นํา หรือปล่อยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีอิสระในการเชื่อมโยงด้วยตนเอง สามารถทําได้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การ เจริญสติวิปัสสนาในชีวิตประจําวัน การสร้างชุมชนเรียนรู้ผ่านกระบวนการสุนทรียสนทนา การสร้างความ ไว้วางใจ เป็นต้น

ประเด็นที่สอง คือ กระบวนการต้องเอื้อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วยกัน เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเกิดจากการมีวิถีปฏิบัติร่วมกันที่เปลี่ยนแปลงไป มีการสนทนากันอย่างมีสติและได้ย้อนกลับมาดูตนเอง

ประเด็นที่สาม คือ การเชื่อมโยงกับธรรมชาติและจักรวาล เป็น “วิธีคิดกระบวนกรระบบ” ซึ่งเป็นวงจรแห่งการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง (Deep Learning Cycle) นําไปสู่การเชื่อมโยง กับระเบียบแห่งจักรวาล (Implicate Order) ซึ่งการเรียนรู้และการพัฒนาของบุคคลมีทิศทางที่สําคัญ คือ ความกลมกลืนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับจักรวาลที่มีวิวัฒนาการอยู่เสมอ ซึ่งองค์ประกอบต่างๆ ของกิจกรรม ทําให้เกิดการเรียนรู้แบบองค์รวม กระบวนกรควรมุ่งจัดกระบวนการให้เอื้อต่อการเชื่อมโยงระหว่างชีวิต ชุมชน และจักรวาลได้ด้วยตนเองให้เกิดขึ้นในผู้เข้ารับการฝึกอบรม เช่น การทบทวนประสบการณ์ร่วมกัน

4.การเข้าเผชิญ (Confrontation)

การจัดกระบวนการให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าเผชิญกับพื้นที่ เสี่ยง ต้องมีพลังของกระบวนกรคอยดูแลโอบอุ้มผู้เข้ารับการฝึกอบรมไว้ ดําเนินควบคู่ไปกับหลักความรักความ เมตตา ซึ่งการเข้าเผชิญกับพื้นที่เสี่ยงอาจจําแนกได้เป็น 2 พื้นที่หลัก คือ พื้นที่ภายในร่างกายและจิตใจ กับ พื้นที่ภายนอกของสิ่งแวดล้อมและชุมชน การเข้าเผชิญกับพื้นที่เสี่ยงภายในร่างกายสามารถพบได้ในกิจกรรมที่ ต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกายในการฝึกอบรม ส่วนพื้นที่เสี่ยงภายในจิตใจ จะเห็นได้จากกิจกรรมการเจริญสติ การทบทวนเรื่องราวความทุกข์ของตนเอง เป็นต้น ซึ่งการเข้าเผชิญกับความจริงในใจเป็นองค์ประกอบสําคัญ ในการนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตนเอง นอกจากนี้ประเด็นพื้นที่ภายนอกของสิ่งแวดล้อมและชุมชน จะเป็นการพาผู้เข้ารับการฝึกอบรมเดินทางไปพื้นที่ที่ไม่คุ้นชินภายนอก หรือพาไปอยู่ในกลุ่มคนที่ไม่รู้จัก ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการดึงศักยภาพภายในออกมาได้ใช้ และทําให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.ความต่อเนื่อง (Continuity)

การวางความต่อเนื่องจากกิจกรรมหนึ่งสู่อีกกิจกรรมหนึ่งอย่างเป็น ระบบ จะเป็นแนวทางทําให้เกิดการเรียนรู้ให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ กระบวนการส่วนใหญ่อาจพอแบ่ง ขั้นตอนได้เป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ คือ

1) ขั้นการเตรียมความพร้อม

2) ขั้นดําเนินการ และ

3) ขั้นสรุปบทเรียน

นอกจากความต่อเนื่องของกิจกรรมและกระบวนการในแต่ละชุดการอบรมแล้ว ความต่อเนื่องระหว่างการอบรมแต่ละครั้งก็มีความสําคัญเช่นกัน เพราะการเปลี่ยนแปลงภายในเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา ไม่ สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการอบรมเพียงครั้งเดียว ดังนั้น การมีกระบวนการที่ต่อเนื่องเป็นสิ่งสําคัญช่วยให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งและมั่นคง ความต่อเนื่องนี้ยังเกี่ยวข้องกับการมีกลุ่มกัลยาณมิตรที่จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงตนเองของกันและกันอย่างต่อเนื่อง

6.ความมุ่งมั่นผูกพัน (Commitment)

หลักในเรื่องความมุ่งมั่นนี้เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ แต่ละคนจะต้องทําด้วยตนเอง ด้วยแรงสนับสนุนจากกลุ่มหรือชุมชนที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ซึ่งการ เปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพียงแค่เข้ารับการฝึกอบรมเพียงครั้งเดียว แต่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องนําความรู้ไปฝึกฝนปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเกิดเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนได้นั้นต้องมาจากการ ใส่ใจกับการสร้างความมุ่งมั่นของผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยกระบวนการและกระบวนกรนับว่ามีบทบาทสําคัญ ในการจุดประกายความมุ่งมั่นให้เกิดขึ้นในตัวผู้เข้ารับการฝึกอบรม แต่การรักษาความมุ่งมั่นให้ดํารงอยู่อย่าง ต่อเนื่องนั้นต้องอาศัยเหตุปัจจัยต่างๆ ทั้งเงื่อนไขภายนอกและเงื่อนไขภายใน

7.ชุมชนแนวปฏิบัติและชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community of Practice & Learning Community)

หลักการนี้มีผลต่อกระบวนการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวบุคคล ซึ่งในการทํา กิจกรรมจะส่งผลทําให้เกิดความใกล้ชิดสนิทสนม เกิดบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทําให้ชุมชนเกิด ความเข้มแข็ง ซึ่งชุมชนแนวปฏิบัตินี้สามารถรองรับการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งได้ สามารถเปิดเผยตนเอง เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นพื้นที่แห่งความรักความเมตตาและมิตรภาพ ซึ่งการที่บุคคลได้อยู่ในกลุ่มชุมชนที่มีความ สนใจและมีจุดมุ่งหมายในการทําสิ่งที่ดีมีคุณค่า จะทําให้บุคคลนั้นได้รับแบบอย่าง ได้รับแง่คิด แรงบันดาลใจ จากผู้อื่น ซึ่งในเรื่องอิทธิพลของชุมชนต่อการเรียนรู้ร่วมกัน เครือข่ายความสัมพันธ์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่เกิดขึ้นเป็นการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและเชื่อมโยงกับชีวิต

องค์ประกอบทั้ง 7 ประการมีลักษณะเป็นองค์รวม มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน จะแยกออกจากกันไม่ได้ แบ่งเป็น 7 องค์ประกอบเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายและชัดเจนขึ้นเท่านั้น แต่ในการจัดกระบวนการ เรียนรู้ทั้ง 7 องค์ประกอบต้องดําเนินไปพร้อมกัน และเป็นหลักการที่อยู่บนพื้นฐานของปรัชญาหรือแนวคิด 2 ประการ คือ ความเชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์ และกระบวนการทัศน์แบบองค์รวม และสามารถใช้หลักจิตตปัญญาศึกษา 7C’s นี้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ได้

ขอขอบคุณที่มา

*หนังสือ สู่ศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ คู่มือการจัดกระบวนการพัฒนาจิตวิญญาณ
รศ.ดร.รัตติกรณ์ จงวิศาล ผศ.ดร.สมสิทธิ์ อัสดรนิธี ดร.ไพรินทร์ โชติสกุลรัตน์ บาทหลวงวิชัย โภคทวี

**หลักสูตรและคู่มือการฝึกอบรม การพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในที่ทำงาน