เมื่อใดที่จิตพ้นจากความไม่รู้ การยึดถือในตัวตนจะถูกปล่อยวางลง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ การเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง จิตข้ามพ้นจากการแบ่งแยก
หัวใจใหม่ของเราจะเกิดการ Unity กับ Universe คือ เราและสรรพสิ่งล้วนเป็นหนึ่งเดียวกัน คือ ไม่มีทั้งผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้ มีแต่อาการรู้ ไม่มีผู้รู้ หลอมรวม สืบต่อกัน เหลือเพียงความว่างเปล่า
…จะเห็นทุกสิ่งว่า “ล้วนเป็นเช่นนั้นเอง” หรือ “ตถตา”
ความทุกข์ร้อนและความดิ้นรนจะเบาบางจางคลาย เป้าหมายของชีวิตที่แท้จริงจะเกิดขึ้น เกิด
อิสรภาพ สันติภาพ ภราดรภาพขึ้นในใจ เกิดความดี ความงาม ความจริง อันเป็นคุณค่าสูงสุดของชีวิตขึ้นในจิตของเราเท่านั้น
ตถตา...ตถาคต... [1]
“ดูกร อนุรุทธ สภาวธรรมทั้งปวงไม่มีใครบังคับได้ ซึ่งอาจเรียกว่า ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’ คือ ธรรมชาติอันมหัศจรรย์ของสภาพธรรมทั้งปวง ดอกบัวเกิดจาก ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’ ท่านอนุรุทธเองก็มาจาก ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’ พระสมณโคดมก็มาจาก ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’
“เราสามารถเรียกใครบางคนผู้มาจาก ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’ ว่า ‘ตถาตา’ หรือ ‘บุคคลผู้มาเช่นนั้นเอง’ เมื่อเกิดมาจาก ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’ แล้วสภาวธรรมทั้งปวงจะกลับไปสู่ที่ใดเล่า สภาพทั้งปวงกลับคืนสู่ ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’
“การกลับคืนสู่ความเป็นเช่นนั้นเองยังสามารถแสดงออกในชื่อของ ‘ตถาตา’ หรือ ‘บุคคลผู้ไปเช่นนั้นเอง’ ในความเป็นจริงแล้วสภาพธรรมมิได้เกิดจากที่แห่งใดหรือไปสู่แห่งใดเลย ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของสภาพธรรมทั้งปวงล้วน ‘เป็นเช่นนั้นเอง’
“ดูกร อนุรุทธ ความหมายที่แท้จริงอีกขั้นของ ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’ คือ ‘บุคคลผู้มิได้มาจากที่ใด’ และ ‘บุคคลผู้มิได้ไปสู่แห่งใด’ นี่แน่ะ อนุรุทธ นับจากนี้ไป เราจะเรียกตัวเองว่า ‘ตถาคต’ เราชอบชื่อนี้ เพราะเป็นชื่อที่หลีกเลี่ยงการแบ่งแยกแตกต่างซึ่งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลใช้คำว่า ‘ฉัน’ และ ‘ของฉัน’ ”
พระอนุรุทธยิ้ม กล่าวว่า “พวกเรารู้ดีว่า พวกเราทุกคนมาจาก ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’ แต่พวกเราจะอนุรักษ์พระนาม ‘ตถาคต’ ไว้เฉพาะสำหรับพระพุทธองค์เท่านั้น
“ทุกคราที่พระพุทธองค์ทรงเรียกพระองค์เองว่า ‘ตถาคต’ ก็จะเป็นอนุสติแก่พวกเราว่า พวกเราทั้งปวงล้วนมีธรรมชาติของ ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’ ซึ่งไม่มีจุดเริ่มต้นและที่สิ้นสุด”พระพุทธองค์ทรงแย้มพระสรวล ตรัสว่า “ตถาคตยินดีรับข้อเสนอแนะของท่านอนุรทธ”
ตถตา...ตถาคต... [1]
“ดูกร อนุรุทธ สภาวธรรมทั้งปวงไม่มีใครบังคับได้ ซึ่งอาจเรียกว่า ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’ คือ ธรรมชาติอันมหัศจรรย์ของสภาพธรรมทั้งปวง ดอกบัวเกิดจาก ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’ ท่านอนุรุทธเองก็มาจาก ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’ พระสมณโคดมก็มาจาก ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’
“เราสามารถเรียกใครบางคนผู้มาจาก ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’ ว่า ‘ตถาตา’ หรือ ‘บุคคลผู้มาเช่นนั้นเอง’ เมื่อเกิดมาจาก ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’ แล้วสภาวธรรมทั้งปวงจะกลับไปสู่ที่ใดเล่า สภาพทั้งปวงกลับคืนสู่ ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’
“การกลับคืนสู่ความเป็นเช่นนั้นเองยังสามารถแสดงออกในชื่อของ ‘ตถาตา’ หรือ ‘บุคคลผู้ไปเช่นนั้นเอง’ ในความเป็นจริงแล้วสภาพธรรมมิได้เกิดจากที่แห่งใดหรือไปสู่แห่งใดเลย ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของสภาพธรรมทั้งปวงล้วน ‘เป็นเช่นนั้นเอง’
“ดูกร อนุรุทธ ความหมายที่แท้จริงอีกขั้นของ ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’ คือ ‘บุคคลผู้มิได้มาจากที่ใด’ และ ‘บุคคลผู้มิได้ไปสู่แห่งใด’ นี่แน่ะ อนุรุทธ นับจากนี้ไป เราจะเรียกตัวเองว่า ‘ตถาคต’ เราชอบชื่อนี้ เพราะเป็นชื่อที่หลีกเลี่ยงการแบ่งแยกแตกต่างซึ่งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลใช้คำว่า ‘ฉัน’ และ ‘ของฉัน’ ”
พระอนุรุทธยิ้ม กล่าวว่า “พวกเรารู้ดีว่า พวกเราทุกคนมาจาก ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’ แต่พวกเราจะอนุรักษ์พระนาม ‘ตถาคต’ ไว้เฉพาะสำหรับพระพุทธองค์เท่านั้น
“ทุกคราที่พระพุทธองค์ทรงเรียกพระองค์เองว่า ‘ตถาคต’ ก็จะเป็นอนุสติแก่พวกเราว่า พวกเราทั้งปวงล้วนมีธรรมชาติของ ‘ความเป็นเช่นนั้นเอง’ ซึ่งไม่มีจุดเริ่มต้นและที่สิ้นสุด”
พระพุทธองค์ทรงแย้มพระสรวล ตรัสว่า “ตถาคตยินดีรับข้อเสนอแนะของท่านอนุรทธ”
[1]
นัท ฮันห์, ติช. (2551). คือเมฆสีขาว ทางก้าวเก่าแก่ เล่ม 3. แปลโดย สันติสุข โสภณสิริ และรสนา โตสิตระกูล. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
Photo by Laura Rivera on Unsplash