กระบวนกร หรือ วิทยากรกระบวนการ ถอดค่ามาจากภาษาอังกฤษที่ว่า Facilitator โดยมีรากจากคําว่า Foxcite แปลว่า ง่าย หรือ สะดวก คําว่า Facilitator จึงหมายความว่า ผู้ทําให้ง่าย หรือ ผู้อํานวย ความสะดวก ดังนั้น กระบวนกร ที่เราใช้เรียกกันตามนัยนี้ จึงหมายถึงผู้ที่ ใช้กระบวนการเพื่อเอื้ออํานวยให้กลุ่มสามารถเกิดการเรียนรู้หรือทํางานกับเนื้อหาที่จําเป็น จนนําไปสู่การบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กลุ่มได้ตั้งไว้ โดยกระบวนกรไม่มีหน้าที่ในการป้อนข้อมูลความรู้ใด ๆ ให้ในสถานการณ์นั้น
กระบวนการคือคนที่สมาชิกทุกคนของกลุ่มให้การยอมรับ มีความเป็นกลางโดยแท้และไม่มีอํานาจในการตัดสินใจ กระบวนกรจะอาศัยการทํากระบวนการเพื่อช่วยให้กลุ่มสามารถกําหนดปัญหา แก้ปัญหาและหาฉันทามติ ส่งผลให้กลุ่มเรียนรู้หรือทํางานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
จากความหมายข้างต้น กระบวนกรจึงมีภาระหน้าที่ได้หลากหลายประการ เช่น ออกแบบกิจกรรมรวมถึงกระบวนการฝึกอบรมให้สอดคล้อง กับเป้าหมายที่กลุ่มต้องการ นําพากลุ่มให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมเชิง ประสบการณ์ เอื้ออํานวยกระบวนการเรียนรู้ให้ไปสู่เป้าหมาย สร้างพื้นที่ ปลอดภัย ความไว้วางใจ และสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดให้เกิดขึ้นในกลุ่ม อ่าน พลังกลุ่ม เปิดพื้นที่การสื่อสารและการตัดสินใจร่วมกัน ถอดบทเรียนของ กลุ่ม รวมไปถึงทบทวนและประเมินผลการเรียนรู้ของกลุ่ม
กระบวนกรต่างจากวิทยากร กล่าวคือ วิทยากรจะเน้นที่การให้ ความรู้และการป้อนสอนทักษะเป็นหลัก ความรู้หลักจะมาจากวิทยากรโดยมีผู้เข้าร่วมกระบวนการหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นผู้ที่มารับความรู้ และทักษะเหล่านั้น แต่กรณีของกระบวนกร หน้าที่หลักก็คือการจัด กระบวนการที่ทําให้ผู้เข้าร่วมเกิดการเรียนรู้หรือทํางานจนบรรลุผลสัมฤทธิ์ ได้ กระบวนกรมิได้มีหน้าที่ให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วม แต่จะเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ไตร่ตรองประสบการณ์ และแบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนเอง กับผู้เข้าร่วมคนอื่น ๆ
ดังนั้นแล้วทุกคนในกลุ่มจะกลายเป็นแหล่งความรู้ ที่มีการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ผลที่ได้รับคือบทเรียนบนมุมมองอันหลากหลาย สามารถเชื่อมโยงกับบริบทชีวิตจริงของทุกคน มากกว่าจะเป็นบทเรียนที่เกิดจากการสอนของคนเพียงคนเดียว
จะเห็นได้ว่ากระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมอันเกิดจากการเอื้ออํานวยของกระบวนกรในแบบที่กล่าวมานี้ มุ่งทํางานกับมิติด้านใน ให้คุณค่ากับศักยภาพการเรียนรู้และ การเติบโตจากภายในของคนทุกคนที่เกี่ยวข้องเป็นสําคัญ (ดังจะกล่าวใน รายละเอียดต่อไปในหัวข้อ ลงลึกสู่ภายใน: ความเชื่อพื้นฐาน) ดังนั้น กระบวนการเรียนรู้แบบนี้จึงมีความเหมาะสมต่อการนําไปใช้เพื่อบ่มเพาะสุขภาวะทางปัญญา รวมถึงการพัฒนาด้านจิตวิญญาณของผู้คนได้เป็นอย่างดี
ชุดคําถามด้านล่างนี้เป็นตัวช่วยเพื่อการไตร่ตรอง สําหรับผู้ที่สนใจ เป็นกระบวนกรด้านสุขภาวะทางปัญญา ที่สําคัญ จะช่วยให้เกิดความ ชัดเจนในเป้าหมายของการทํางานกระบวนกร ท่านสามารถไตร่ตรอง คําถามเหล่านี้ได้ตั้งแต่ก่อนจะทําหน้าที่ เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าท่านจะ เป็นกระบวนกรด้านนี้ดีหรือไม่ อีกทั้งยังเป็นชุดคําถามที่สามารถนํากลับมา ไตร่ตรองใหม่ได้เสมอ ๆ หลังจากได้เริ่มทํากระบวนการฝึกอบรมไปแล้ว การไตร่ตรองแต่ละครั้ง อาจจะช่วยให้ตัวท่านเห็นแง่มุมใหม่ในตัวเองที่ แตกต่างออกไปจากเดิมได้
หลักการสําคัญประการหนึ่งของการเข้ามาทํางานกระบวนกรก็คือ กระบวนกรที่มีคุณภาพจะทํากระบวนการเฉพาะในสิ่งที่ตนเองเคยมีประสบการณ์ตรงมาก่อน
กล่าวคือ ถ้าจะสร้างกระบวนการอบรมเรื่องสุขภาวะทางปัญญา กระบวนกรย่อมต้องเคยผ่านการฝึกปฏิบัติ เรียนรู้ และ เติบโตทางด้านนี้มาด้วยตัวเองไม่มากก็น้อย เช่น การภาวนา การเจริญสติ การตระหนักรู้ในตนเอง กระบวนกรจะไม่สามารถนําพาผู้เข้าร่วมให้ไปเรียนรู้ในสิ่งที่ตัวเองก็ยังไม่เคยสัมผัส รู้สึก เข้าใจ หรือเป็นเนื้อเป็นตัวมา ก่อนได้ และเพื่อให้มีความเป็นเนื้อเป็นตัวดังกล่าว กระบวนกรจึงจําเป็น ต้องหมั่นฝึกปฏิบัติด้านในกับตัวเองอยู่เสมอ
อีกนัยหนึ่ง คือการสั่งสมการมีประสบการณ์ตรงเชิงจิตวิญญาณในตนเอง การฝึกปฏิบัติด้านใน นอกจากการภาวนา เจริญสติ และการตระหนักรู้ในตนเองแล้ว ยังรวมถึง การฟังอย่างลึกซึ้ง การสื่อสารด้วยหัวใจ การดํารงอยู่ร่วมกับกลุ่ม การ บ่มเพาะความมีใจกรุณา การจัดการอารมณ์ความรู้สึก และการเผชิญหน้า กับข้อจํากัดภายในเพื่อก้าวข้ามและเปลี่ยนแปลงตนเอง เป็นต้น
กระบวนกรที่เริ่มเป็นตัวจริงในสิ่งที่ตนเองคิด พูด ทํา ย่อมมีความพร้อมที่จะออกมานําพาผู้อื่นให้เกิดการเรียนรู้ ในการนี้ การฝึกทักษะ กระบวนกรจะเข้ามาเติมเต็มให้ผู้นั้นได้กลายเป็นกระบวนการเต็มตัว ทักษะ สําคัญของการนํากระบวนการอาจเริ่มต้นจากการจับประเด็น การพูด การ ตั้งคําถาม การอ่านกลุ่ม การสร้างความไว้วางใจ การรับมือกับความขัดแย้ง ความสัมพันธ์และพลังกลุ่ม การออกแบบและทดลองนํากิจกรรม
ตั้งต้นจากเจตจํานงที่อยากสร้างสิ่งที่ดีงามให้เกิดแก่ตนเอง ผู้อื่น สังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยใจที่เคารพ กระบวนการที่พึงปรารถนาย่อมหมั่น แสวงหาองค์ความรู้ แนวคิด หลักการ ตลอดจนเรื่องเล่าและสื่อที่ว่าด้วย การสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญา หมั่นฝึกปฏิบัติด้านในอยู่เป็นเนืองนิจ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ทางจิตวิญญาณจนเกิดเป็นนิสัยของการน้อมนํา สุขภาวะทางปัญญาในตนเอง และขวนขวาย ฝึกฝนทักษะกระบวนกร เพิ่มเติม เพื่อเอาไปใช้ทํากิจกรรมและนําพากระบวนการที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เข้าร่วมการอบรมได้รับผลสัมฤทธิ์แห่งการมีสุขภาวะทางปัญญาตามที่มุ่งหมายได้ในที่สุด
การเริ่มต้นที่ถูกตรงและสอดคล้องกับคุณค่าและความเชื่อพื้นฐานที่อยู่ภายใน ย่อมนํามาซึ่งการลงมือกระทําและคําพูดที่ถูกต้อง กระทั่ง บรรลุผลประโยชน์สูงสุดของการทํางานนั้นได้โดยแท้ การจะเป็นกระบวน กรที่เข้าถึงประโยชน์สูงสุดได้ก็เช่นเดียวกัน ก่อนจะอ่านต่อไป ขอให้ท่าน ลองไตร่ตรองเนื้อหาและคําถามต่อไปนี้
การเรียนรู้แบบที่ 1
ศูนย์กลางอยู่ที่ตัวครูตำรา เน้นการสั่งสอน ป้อนเข้า แนะนําคําตอบตรง ๆ เป็นต้นแบบ การท่องจํา เลียนแบบมาสเตอร์พีช และการปฏิบัติตามขนบ กฎกติกา หลักการสูงสุด
การเรียนรู้แบบที่ 2
ศูนย์กลางอยู่ที่ผลสัมฤทธิ์ มาตรฐาน หลักสูตร ความรู้ ข้อมูล เนินการทําคะแนนสอบ ทําถกเถียงอภิปราย การใช้เหตุผล คิด วิเคราะห์ การรวบยอด ทางความคิด และการ ประเมินผลลัพธ์ เชิงปริมาณ
การเรียนรู้แบบที่ 3
ศูนย์กลางอยู่ที่ตัวผู้เรียน เจตนา และจุดกำเนิดของการเรียนรู้ร่วมกัน เน้นการประกาศและทําตามเจตจํานงคุณค่า ความหมาย การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงการสะท้อนไคร่ครวญ ตระหนักรู้ในตนเอง และการร่วมสร้างสรรค์บนภูมิปัญญาอันหลากลาย
จากเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งสามแบบข้างต้น ตัวท่านคุ้นเคย หรือเชื่อมโยงกับการเรียนรู้แบบใดมากที่สุด ที่ผ่านมาท่านเห็นว่าตัวเองได้รับการสอนมาอย่างไร เห็นว่าตัวเองถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ให้แก่ผู้อื่นอย่างไร และท่านเห็นผลกระทบจากการทําสิ่งเหล่านั้นอย่างไรบ้าง
การเรียนรู้ทั้งสามแบบข้างต้น สะท้อนกระบวนทัศน์ทางการเรียนรู้ ที่แตกต่างกันสามกระบวนทัศน์ กระบวนทัศน์หมายถึงกรอบคิดพื้นฐานที่ กํากับการมองโลก การเข้าใจโลก การให้ความหมาย รวมถึงความรู้สึก นึกคิดและการกระทําที่ตามมา การทํากระบวนการเพื่อพัฒนามิติด้านในและส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้สู่ความเป็นมนุษย์ที่แท้นั้น จําเป็นต้องหยั่ง ไปให้ถึงกระบวนทัศน์แบบการร่วมมือ / การมีส่วนร่วม (สอดคล้องกับการ เรียนรู้แบบที่ 3 ข้างต้น) นั่นคือการมองว่า มนุษย์ทุกคนมีคุณค่าเสมอ เหมือนกัน ทุกคนมีศักยภาพที่จะเรียนรู้ มีความกรุณาในใจ และสามารถ เปลี่ยนแปลงได้ การแสวงหาความร่วมมือจากทุกฝ่ายและฉันทามติ ใน
ชีวิตจริงและการทํางานจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ (โดยไม่ได้ต้องอาศัยเสียง ของผู้นําเดี่ยวหรือแม้แต่มติเสียงส่วนใหญ่)
ดังนั้นกระบวนกรจะต้องเท่าทันต่อความเชื่อพื้นฐานที่มีในตนเองเป็นเบื้องต้น แล้วเลือกวิถีปฏิบัติที่สอดคล้องกับความเชื่อพื้นฐานนั้น หากเราเห็นได้ว่าทุกคนมีคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ที่เท่ากันแล้ว เราย่อม เชื่อมั่นในเส้นทางการเรียนรู้ของแต่ละคนและไว้วางใจว่าเขาจะเติบโตไปสู่ความงดงามในแบบของเขาได้เอง โดยที่เรามีต้องแทรกแซง แนะนํา ปรับแก้ หรือป้อนสอน สิ่งที่ดีที่สุดที่เราอาจทําได้ในฐานะกระบวนกรคือ การอยู่ร่วมและเอื้ออํานวยให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยให้เขาได้กลายเป็นคนที่มีคุณภาพในแบบที่เขาจะสามารถเป็นได้ อาจกล่าวได้ว่า กระบวนกร ที่มีความเชื่อพื้นฐานแบบการร่วมมือ / การมีส่วนร่วม ย่อมไม่เห็นความ จําเป็นของการใช้อํานาจเหนือเพื่อประเมินตัดสินผู้อื่นหรือต้องประกาศตัวเป็นผู้รู้ ผู้ให้คําตอบสุดท้าย เพราะเบื้องลึกนั้นเชื่อมั่นและให้การเคารพในศักยภาพและเมล็ดพันธุ์ทางปัญญาที่แตกต่างหลากหลายของผู้คนแต่ละคนอยู่แล้ว
เมื่อคุณค่าในความเป็นมนุษย์ของทุกคนได้รับการให้เกียรติเสมอ การมีส่วนร่วมที่จะกําหนดและตัดสินใจเกี่ยวกับความ เป็นไปต่าง ๆ ของชีวิต เป้าหมายการทํางาน การเรียนรู้ และการมีความสุข ทั้งของตนเอง ของกลุ่ม และของสังคม จึงเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่มีมาแต่ ดั้งเดิมของคนทุกคน กระบวนกรที่เล็งเห็นความหมายสําคัญนี้ย่อมจะสร้าง สิ่งแวดล้อม เอื้ออํานวยกระบวนการ และสนับสนุนทุกคนที่เกี่ยวข้องให้ สามารถเข้าถึงการกระทําที่ว่าเหล่านี้ได้ ด้วยการสร้างความไว้วางใจในกันและกัน นําเสนอทักษะและวิธีการในการสื่อสารอย่างเปิดใจต่อกัน การ เข้าอกเข้าใจ รวมถึงการดูแลความขัดแย้งและแสวงหาการได้มาซึ่งข้อตกลง ร่วมกันโดยสันติ ในการนี้ กระบวนกรจะไม่ทําตัวเป็นผู้นําที่มีอิทธิพลชักนํา การตัดสินใจของกลุ่ม แต่จะเป็นผู้ที่ช่วยสกัดเอาภาวะการนําร่วมบนฐานของการมีเจตจํานงที่แท้ของแต่ละคนออกมานั่นเอง
นำพาผู้เรียนมีสู่การเห็นและเข้าถึง…
แม้การมองว่ามนุษย์และศักยภาพของมนุษย์เป็นตัวตั้งของกระบวนการเรียนรู้จะเป็นหัวใจของความเชื่อพื้นฐานนี้ กระนั้น มนุษย์ก็มิใช่ศูนย์กลางของทุกสิ่ง หากแต่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับทั้งตัวเอง สรรพชีวิต และสรรพสิ่งรอบตัว อย่างเป็นองค์รวมอยู่บนข่ายใยของโลกและธรรมชาติ กระบวนกรที่มุ่งพัฒนามิติด้านในของมนุษย์ผู้เห็นความจริงพื้นฐานข้อนี้ ย่อมเอื้ออํานวยกระบวนการที่นอกจากจะส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ที่แตกต่างหลากหลายแล้ว ยังต้องนําพาให้ผู้เรียนรู้ได้มาเห็นและเข้าถึง…
ความหมายในการมีชีวิตที่เชื่อมโยงกับตนเอง
เห็นความสําคัญผ่านวิถีชีวิตของตนเอง รู้จักตัวเอง ยอมรับและโอบอุ้มดูแลทุก ๆ ความรู้สึกและสภาวะ ภายในใจของตนเอง
ความหมายในการมีชีวิตเชื่อมโยงกับผู้อื่น
เกิดความไว้วางใจ เปิดใจ และ เข้าอกเข้าใจในวิถีชีวิต ความรู้สึก และสภาวะภายในใจของผู้อื่น)
ความหมายในการมีชีวิตเชื่อมโยงกับชุมชน สังคม โลกและธรรมชาติได้โดยไม่แบ่งแยกหรือตัดขาด เห็นว่าทุกอย่างในสังคม โลก และธรรมชาติล้วนสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น และส่งผลถึงกันเสมอ ไม่มีอะไรแยกอยู่ได้อย่างโดด ๆ อีกนัยหนึ่ง กระบวนการเรียนรู้ที่ดินความเป็นดั่งกันและกัน ความสอดคล้องของชีวิตและความรัก ความสัมพันธ์ที่จะไม่มองทุกสิ่งอย่างตัดขาด คือแนวทางสําคัญที่หยั่งอยู่บนความเชื่อพื้นฐานข้อนี้
กล่าวโดยรวม ความเชื่อพื้นฐานของกระบวนกรที่มุ่งทํางานด้านการพัฒนามิติด้านในเพื่อบ่มเพาะสุขภาวะทางปัญญานั้น ประกอบด้วย การเคารพในคุณค่าและศักยภาพการเรียนรู้ของมนุษย์ (Humanistic view) และการเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของทุก ๆ ชีวิตและสรรพสิ่งอย่าง เป็นองค์รวมไม่แบ่งแยก (Holistic view) ความเชื่อพื้นฐานดังกล่าว คือเลนส์ที่กระบวนกรใช้มองโลกเพื่อทําความเข้าใจ รับรู้ และตัดสินใจเพื่อ ทํากระบวนการต่าง ๆ ออกมา ส่งผลเกิดเป็นคุณลักษณะสําคัญของความ เป็นกระบวนกร ทั้งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติและที่ต้องฝึกฝนให้เกิดขึ้น
กว่าจะเห็นและเข้าถึงความหมาย
อนึ่ง ความเชื่อพื้นฐานใด ๆ ในบุคคลเกิดขึ้นจากการที่คนคนนั้น สั่งสมประสบการณ์ของการใช้ชีวิต จนสุกงอมกลายเป็นกรอบความเข้าใจที่มีต่อโลก เราไม่สามารถติดตั้งสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นได้อย่างทันทีทันใด หนทาง เดียวก็คือ การมีปฏิสัมพันธ์หรือเอาตัวเองออกไปมีประสบการณ์ตรงกับสถานการณ์ต่าง ๆ ให้มาก แล้วนํามา ใคร่ครวญอย่างลึกซึ้งด้วยการมีสติรู้เนื้อรู้ตัว รวมถึงนํามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนที่มีประสบการณ์ทํานอง เดียวกันเพื่อพิจารณาใคร่ครวญ เกิดเป็นการตระหนักรู้เชิงลึกในตนเองต่อ สมมุติฐานใหญ่ในใจ หรือเกิดการตั้งคําถามกับความเชื่อพื้นฐานเดิมที่เคยมี มาก่อน การหมั่นใคร่ครวญถึงผลกระทบของพฤติกรรมอันเกิดจากกรอบ ความเชื่อเดิม รวมถึงการได้สัมผัสกับบุคคลต้นแบบ (โดยเฉพาะครูบา อาจารย์ทางจิตวิญญาณ) ที่มีกรอบความเชื่อแบบใหม่ สิ่งเหล่านี้สามารถ กระตุ้นให้เจ้าตัวเกิดการเรียนรู้ที่จะทํางานและก้ และก้าวข้ามความเชื่อพื้นฐานเดิมทีมีในใจได้
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกระบวนกรเป็นสิ่งที่ดํารงอยู่ภายในอย่างเป็นธรรมชาติ หรืออาจเป็นสิ่งที่เรียนรู้และฝึกฝนให้เกิดขึ้นได้จนเป็นนิสัย ซึ่งสอดคล้องกับกรอบความเชื่อพื้นฐานของเจ้าตัว คุณลักษณะของ กระบวนกรไม่ใช่การสวมบทบาทหรือการแสดงออกไปตามวาระใดวาระหนึ่ง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ติดตัวแต่คุณลักษณะเหล่านี้ก็อาจแปรเปลี่ยน หรือมีไม่เท่ากันในแต่ละข้อได้ กระบวนกรบางคนอาจมี คุณลักษณะข้อหนึ่งโดดเด่นมาก แต่มีคุณลักษณะอีกข้อหนึ่งน้อยกว่า ที่สําคัญกระบวนกรคนหนึ่งไม่จําเป็นต้องมีคุณลักษณะที่ดีพร้อมและสมบูรณ์ในทุก ๆ ข้อ ในความเป็นจริง เราทุกคนรวมถึงกระบวนกรต่างอยู่ ในกระบวนการที่จะพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา
ด้วยเหตุนี้ การที่กระบวนกรทํางานร่วมกันเป็นทีม จึงเป็นเรื่องที่ดีที่จะคอยเสริมจุดเด่นและดูแลจุดด้อย ซึ่งกันและกัน ส่งผลให้กระบวนการที่ทํามีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการให้เสียงสะท้อนต่อกันอย่างจริงแท้ด้วยใจที่กรุณา จะเป็นโอกาสให้แต่ละคนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองยิ่ง ๆ ขึ้นไป
คุณลักษณะสำคัญของกระบวนกร
คุณลักษณะสําคัญของกระบวนกรที่มุ่งพัฒนามิติด้านในและบ่มเพาะสุขภาวะทางปัญญา มีดังนี้
1) การเป็น “ตัวจริง” มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับสภาวะของ เนื้อหาการเรียนรู้
แม้จะกล่าวว่า กระบวนกรไม่ได้มีหน้าที่โดยตรงในการบอกหรือสอนความรู้ใด ๆ แต่ที่สําคัญกว่านั้นคือ กระบวนกรจําเป็นต้องมีประสบการณ์ตรงต่อการเรียนรู้เรื่องดังกล่าว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าตัวองค์ความรู้เองเสียอีก คุณสมบัติข้อนี้เป็นสิ่งสําคัญสิ่งแรกซึ่งกระบวนกรทุกคนจําเป็นต้องมี
เนื่องจากการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตนเอง (รวมถึงประสบการณ์ด้านในและประสบการณ์เชิงจิตวิญญาณ) กระบวนกรที่ไม่เคยรู้จักสภาวะดังกล่าวมาด้วยตัวเอง ย่อมไม่สามารถมีความเข้าใจ ออกแบบ หรือนําพาผู้เรียนไปสู่การมีประสบการณ์เหล่านั้นได้อย่างได้อย่างถูกตรง อย่างดีที่สุดก็แค่การทํากระบวนการเรียนรู้ผ่านทางเนื้อหาหรือความคิดซึ่งไม่เพียงพอเลย เพราะขาดการเข้าถึงแก่นแท้ของการเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ไป
ขณะที่ถ้ากระบวนกรมีประสบการณ์ตรงกับเรื่องดังกล่าว กระบวนกรคนนั้นจะมีความแจ่มชัดภายในต่อเรื่องนั้น ๆ สามารถออกแบบ ร้อยเรียง และสร้างชุดประสบการณ์ให้แก่ตัว ผู้เรียนเพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้นั้นได้ แม้เจอปัญหาเฉพาะหน้า ก็จะสามารถพลิกแพลงและหาทางออกที่เหมาะสมได้โดยทันที เพราะเข้าใจใน แก่นสาร ไม่ติดอยู่แค่เครื่องมือหรือวิธีการ
อนึ่ง การเป็น “ตัวจริง” มิได้มี นัยในเชิงเปรียบเทียบว่าตนเองดีกว่าคนอื่น คนอื่นไม่ใช่ตัวจริงเท่าตนเองแต่อย่างใด หากแต่เป็นการสะท้อนสภาวะของการซื่อตรงต่อคุณสมบัติที่ตนเองมีอยู่อย่างตรงไปตรงมา
2) ความเป็นปัจจุบัน ดํารงอยู่ร่วมกับกลุ่มได้อย่างเชื่อมโยง “การอยู่”
ถือเป็นคุณสมบัติสําคัญที่กระบวนกรจําเป็นต้องมีอยู่ตลอดเวลา ทีปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าร่วม เพราะสิ่งนี้นําไปสู่การเปิดรับต่อกันและกันอย่าง ลึกซึ้ง การใส่ใจกันและกัน ความเข้าอกเข้าใจกัน รวมไปถึงความสามารถ ในการอ่านกลุ่ม กระบวนกรที่ “ไม่อยู่” จะเชื่อมโยงกับผู้เข้าร่วมได้เพียง ผิวเผิน เห็นเพียงแค่ข้อเท็จจริงบางประการ หรือเข้าถึงกันเพียงแค่ระดับ ความคิด ซึ่งไม่สามารถจะทํางานลึกลงไปภายในใจของกันและกันได้ อาจ กล่าวได้ว่า การดํารงอยู่ร่วมในปัจจุบัน จะเปิดพื้นที่แห่งความไว้วางใจรองรับการสื่อสารในระดับลึก และช่วยให้กระบวนกรเข้าใจพลังงานของ กลุ่มในขณะนั้น จึงสามารถยกระดับพลังงานของกลุ่มไปสู่ระดับที่เหมาะสม ต่อการเรียนรู้ที่มากขึ้นได้
3) การมีสติ ตระหนักรู้ และเท่าทันสภาวะต่าง ๆ ภายในตนเอง
ข้อนี้นับเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของผู้ที่จะเริ่มทํางานมิติด้านใน สติคือ อุปกรณ์จําเป็นที่ใช้สํารวจและรับรู้สภาวะในจิตใจ การรับรู้นี้จะมีคุณภาพหรือไม่อย่างไรก็ขึ้นกับพลังของสติที่เจ้าตัวมี จึงเป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝนและ พัฒนาให้เกิดขึ้นเป็นเบื้องต้น เพื่อนําไปสู่การเห็นสภาวะต่าง ๆ บนเส้นทาง การเดินทางทางจิตวิญญาณได้อย่างถูกตรงต่อไป
กระบวนกรที่มิได้ฝึกการเจริญสติหรือภาวนา ย่อมขาดซึ่งความคมชัดในการสังเกตเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะในปรากฏการณ์ที่ละเอียดอ่อน รวมถึงปราศจากความมั่นคงภายใน จนถูกกิเลสหรือรูปแบบทางความคิดและอารมณ์ ที่ตนเองยึดติดชักนําไปตามความคุ้นชินเดิม ๆ เวลาที่อยู่ในสถานการณ์ที่ ต้องตัดสินใจ ส่งผลให้การทํากระบวนการขาดความลุ่มลึกรอบด้าน หรือดําเนินไปผิดทิศผิดทางได้ ดังนั้นการฝึกความรู้เนื้อรู้ตัวหรือภาวนาอยู่เป็นประจํา จึงเป็นความจําเป็นอย่างยิ่งของผู้ที่จะทํางานกระบวนการโดยเฉพาะผู้ที่ประสงค์จะเรียนรู้และเติบโตทางจิตวิญญาณ
4) ความเคารพ ให้เกียรติต่อทุก ๆ สภาวะที่เผชิญ เปิดกว้างต่อความหลากหลาย
นับเป็นคุณสมบัติสําคัญที่เอื้อให้กระบวนกรสามารถ ละวางการประเมินตัดสิน การใช้อํานาจเหนือ หรือการสกัดปัดทิ้งคนหรือ สิ่งที่ตนคิดว่าไม่ใช่ออกไป ทําให้พร้อมที่จะต้อนรับทุกสิ่งทุกอย่างอย่าง เสมอหน้า ทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบ ทั้งสิ่งที่เป็นความสุข ทุกข์ และความเจ็บปวด มองเห็นความดีงามและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เปิดโอกาสสู่ความสนใจใคร่รู้ให้ทุกคนได้แสดงศักยภาพของตนเองมาอย่างเต็มที่
นอกจากนี้ ความเคารพและเปิดกว้างยังนํามาซึ่งความอ่อนน้อมถ่อมตน ความเรียบง่าย ส่งผลให้กระบวนกรคนนั้นสามารถเข้าถึงได้ง่าย ขณะที่ผู้ที่ผู้ที่ขาดคุณสมบัติ ด้านความเคารพ ย่อมนํามาซึ่งความไม่รู้ การปิดกั้น และความคับแคบ รวมถึงไม่อาจสร้างการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงได้ เพราะมีการตัดสินไปล่วงหน้า แล้วว่าคําตอบสุดท้ายสําหรับเรื่องนั้นคืออะไร อีกทั้งไม่อาจยอมรับหรือ โอบอุ้มความเป็นทั้งหมดของเรื่องนั้น ๆ เพื่อมาใคร่ครวญได้
5) การมีใจกรุณา โอบอุ้มดูแล เกื้อหนุนเพื่อยังประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
ภายในใจของกระบวนกรย่อมเปี่ยมพร้อมด้วยความรู้สึกที่จะให้ การเกื้อหนุนแก่ผู้เข้าร่วมอยู่เสมอ ทั้งด้วยการสนับสนุนการเรียนรู้ การพัฒนาศักยภาพ การเชื่อมประสานทุกฝ่ายเข้าหากัน สานคุณค่าและความ ต้องการต่าง ๆ สู่ประโยชน์สุขร่วมกัน รวมถึงการให้กําลังใจในการฝ่าฟันอุปสรรคและความยากลําบากบนเส้นทางการเรียนรู้ คุณสมบัติข้อนี้ยัง นับเป็นแรงใจสําคัญที่จะช่วยให้ตัวกระบวนกรสามารถขับเคลื่อนงานของ ตนเองต่อไปได้อย่างมีพลัง มีความกล้าหาญ ไม่ย่อท้อ ไม่หวาดกลัวต่อปัญหา หรือล้มเลิกการทํางานไปเสียก่อน
6) การมีคุณลักษณะอื่น ๆ ที่จําเป็นต่อการทําบทบาทหน้าที่ของกระบวนกร
ได้แก่ ความชัดเจนในเนื้อหาความรู้ ความชัดเจนในการสื่อสาร ความละเอียดอ่อนในการรับรู้ ความยืดหยุ่นปรับตัวได้ตามสถานการณ์ การเปิดเผยจริงใจ เอาชีวิตตัวเองเข้าร่วมเรียนรู้ไปด้วย รวมไปถึงความมุมานะที่จะพัฒนาตนเองให้เติบโตอยู่เสมอ
หากพิจารณาจากคุณลักษณะสําคัญทั้ง 6 ข้อข้างต้น ท่านเห็นว่าการใช้ชีวิตประจําวันของตัวท่านเองเข้าข่ายสักกี่ข้อ ท่านแสดงออก คุณลักษณะเหล่านั้นอย่างไร รู้สึกอย่างไร และมีคุณลักษณะใดบ้างที่ท่านอยากจะพัฒนาเพิ่มเติม ลองเขียนบันทึกประจําวันเกี่ยวกับประสบการณ์เหล่านี้
โดยสรุป ตัวตนของกระบวนกร เริ่มจากกรอบความเชื่อพื้นฐานในตนเองที่มีต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ การตระหนักรู้เท่าทันในตนเองที่ว่า การเรียนรู้ของคนเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง และตัวเราจะมีส่วนในการนําพาการ เรียนรู้นั้นได้อย่างไร คือสิ่งสําคัญแรกสุดสําหรับการเรียนรู้เรื่องมิติด้านใน กรอบความเชื่อพื้นฐานที่อยู่บนกระบวนทัศน์แบบการร่วมมือ / การมีส่วนร่วมนับว่ามีความเหมาะสมที่สุด เพราะให้พื้นที่กับการทํางานกับโลก ภายในของผู้เรียนมากที่สุด กล่าวคือ เป็นการเรียนรู้ที่อาศัยเจตจํานงของ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เคารพคุณค่าและศักยภาพการเรียนรู้ของมนุษย์ที่ทุก คนมีอยู่แล้วอย่างเสมอเหมือนกัน อีกทั้งยอมรับการมีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงของทุกสรรพสิ่งอย่างเป็นองค์รวม
ขอบคุณที่มา
หนังสือ สู่ศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ คู่มือการจัดกระบวนการพัฒนาจิตวิญญาณ
รศ.ดร.รัตติกรณ์ จงวิศาล ผศ.ดร.สมสิทธิ์ อัสดรนิธี ดร.ไพรินทร์ โชติสกุลรัตน์ บาทหลวงวิชัย โภคทวี